การพัฒนาตำรับยาสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อการรักษาโรคในชุมชน (A Development of Traditional Herbal Medicine Recipes for Treatment in Communities)

Main Article Content

ภัทรธิรา ผลงาม Patthira Phon-ngam

Abstract

       การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตำรับยาสมุนไพรพื้นบ้านในรักษาสุขภาพของชุมชนในรูปแบบต่างๆ ให้สามารถนำไปสู่การใช้ประโยชน์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ใช้กระบวนการเรียนรู้โดยการปฏิบัติร่วมกัน (Action Learning) รวมทั้งใช้การสัมภาษณ์เจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสนทนากลุ่ม กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยหมอพื้นบ้านที่ได้ขึ้นทะเบียนหมอพื้นบ้านไว้แล้วจำนวน 14 อำเภอในจังหวัดและผู้ใช้บริการเป็นคนที่อยู่ในชุมชนและเคยมารับบริการจากหมอพื้นบ้าน จำนวน 11 คนและกลุ่มผู้นำชุมช และกลุ่มผู้อาวุโสในพื้นที่ จำนวน 15 คน กลุ่มนักวิชาการด้านแพทย์แผนไทยจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย จำนวน 2 คน ผลการวิจัย พบว่า มีสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคจำนวน 566 ชนิด โดยจำแนกการรักษาโรคตามระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้แก่ 1) สมุนไพรที่รักษาโรคระบบทางเดินหายใจ 2) ระบบไหลเวียนเลือด 3) ระบบประสาท 4) ระบบทางเดินอาหาร 5) ระบบสืบพันธุ์ 6) ระบบปัสสาวะ กล้ามเนื้อกระดูก โรคไข้ทุกชนิด โรคสัตว์มีพิษกัดต่อยและโรคผิวหนัง ผลการพัฒนาตำรับยาสมุนไพรพื้นบ้านในรักษาสุขภาพของชุมชม ได้ตำรับยาที่พัฒนานั้นมีทั้งสิ้นจำนวน 344 ตำรับดังนี้ 1) โรคระบบทางเดินอาหาร มีจำนวน 51 ตำรับ 2) โรคระบบทางเดินหายใจ มีจำนวน 55 ตำรับ 3) โรคระบบกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นมีจำนวน 56 ตำรับ 4) โรคระบบการเวียนโลหิตมีจำนวน 17 ตำรับ 5) โรคระบบประสาทมีจำนวน 14 ตำรับ 6) โรคระบบผิวหนังมีจำนวน 35 ตำรับ 7) พิษเข้าสู่ร่างกายมีจำนวน 14 ตำรับ 8) ระบบธาตุ บำรุงกำลัง ยาอายุวัฒนะ ยาปรับธาตุ มีจำนวน 12 ตำรับ 9) ระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ มีจำนวน 26 ตำรับ 10) ระบบโรคต่อมไร้ท่อ (เบาหวาน) มีจำนวน 11 ต????ำรับและ 11) ระบบอื่น ๆ เช่น ป่วยเป็นไข้ มะเร็งรวมหรือมะเร็งทุกชนิดมีจำนวน 53 ตำรับ

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ

References

Suwimonsatain, C. (2537). Kaosa: The Traditional Treatment of Chinese Immigrants, Viang Mok Village, Huysor sub-District, Changkhong Distric, Changrai Provience (กว๋าซา : การรักษาด้วยวิธีพื้นบ้านของชาวจีนอพยพ หมู่บ้านเวียงหมอก ต.ห้วยซ้อ อ.เชียงของ จ.เชียงราย) Bangkok: Secretariat of the House of Representatives.

Loei Provencial Helth Office. (2011). List of Folk Healers in Loei Province (ทำเนียบหมอพื้นบ้านจังหวัดเลย). Loei: Loei Provencial Helth Office.

Chamarat, O. (2002). Local Wisdom of Using Herbal Treatment of Illnesses: A Case Study of Mr. Wal Wong Khlusom, Ban Khon Phong, Santom Subdistrict, Phu Rua District, Loei Provence (ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านกับการใช้สมุนไพรบำบัดรักษาความเจ็บป่ วย : กรณีศึกษานายแวว วงศ์คำโสม บ้านโคนผง ตำบลสานตม อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย). Loei: Loei Provencial Helth Office

Luangnatee, R. (1997). Plants, Herbs and Spices (พืชเครื่องเทศและสมุนไพร). Bangkok: Odeon Store.

Prapawicha, S. et al. (1999). Traditional Pharmacopoeia Thailand (ตำรับยาแผนไทย). [Online]. Retrieved June 1, 2012 fromhttp://ittm.dtam.moph.go.th/data_all/articles/article05.htm

Martkhum, S. (2009). The Process of Transferring Wisdom, Traditional Local Wisdom (กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน). Loei: loei Rajabhat University.