แนวคิดมหาปุริสลักษณะพุทธปฏิมาศิลปะไทลื้อ เพื่อการสร้างสรรค์ศิลปะไทยร่วมสมัย (The Concept of Marks of the Great Man Buddha Image in Tai Lue ArtFor Contemporary Thai Arts Creation)

Main Article Content

ฉลองเดช คูภานุมาต Chalongdej Kuphanumat

Abstract

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงประวัติความเป็นมา คติความเชื่อ เกี่ยวกับแนวคิดมหาปุริสลักษณะ และคติการสร้างพระพุทธปฏิมาในพุทธศาสนา ศึกษาแนวคิด สัญลักษณ์ รูปแบบทางศิลปกรรม ของพระพุทธปฏิมาศิลปะไทลื้อในล้านนา ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสร้างสรรค์ศิลปะ ตลอดจนนองค์ความรู้ที่ได้รับมาเป็นแรงบันดาลใจ และแนวทางในการสร้างสรรค์ศิลปะ ไทยร่วมสมัย ผลการวิจัย พบว่า แนวคิดมหาปุริสลักษณะ คือ หลักการสำคัญที่ใช้เป็นปทัสถานในการสร้างและกำหนดพุทธลักษณะของพระพุทธรูป โดยรายละเอียดของมหาบุรุษ มีทั้งในลักษณะของบุคลาธิษฐาน และธรรมาธิษฐาน ส่วนสาเหตุแห่งการได้มาซึ่งมหาปุริสลักษณะ เป็นการสะท้อนความหมายเรื่องกุศลกรรมส่งผลให้เกิดกุศลวิบาก และการสั่งสมบุญบารมีของพระโพธิสัตว์ โดยมีมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ และอนุพยัญชนะ 80 ประการเป็นสักขีพยาน จากการศึกษาแนวคิด สัญลักษณ์ และรูปแบบทางศิลปกรรมของพระพุทธปฏิมาศิลปะไทลื้อในล้านนาพบว่า คติการสร้างพระพุทธรูปของชาวไทลื้อ มีแนวคิดมหาปุริสลักษณะเป็นหลักการสำคัญ แสดงออกด้วยรูปทรงอันเรียบง่ายแบบงานศิลปะพื้นถิ่น โดยสามารถสะท้อนเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันตามจินตนาการ และทักษะเชิงช่างของปฏิมากรผู้สร้างสรรค์ อีกทั้งยังได้มีการปรับปรุงรูปแบบ และเทคนิคที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอื่น ให้สอดคล้องกับสุนทรียภาพและรสนิยมของตนเองจนสามารถพัฒนาให้เกิดลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นได้ในที่สุด นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้นำ ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษา มาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะไทยร่วมสมัย รูปแบบศิลปะแนวจัดวาง จำนวน 3 ชุด โดยการตีความหมายจากแนวคิดมหาปุริสลักษณะพุทธปฏิมาศิลปะไทลื้อ อันเป็นการประสานเชื่อมโยงองค์ความรู้จากการศึกษาวิจัย นำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ เพื่อการสืบสานวัฒนธรรมวิธีคิดและความศรัทธาของชาวพุทธ ทั้งนี้ ผลสัมฤทธิ์ของการสร้างสรรค์ยังทำหน้าที่ เป็นสื่อศิลปะที่สะท้อนความหมายอันลึกซึ้งของหลักธรรมในพระพุทธศาสนา

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ

References

Chutiwong, N. (1990). The Buddha Footprint in South and Southeast Asia (รอยพระพุทธบาทในศิลปะเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์). Bangkok: Dansutha Printing.

Damrikun, S. (1999). Lanna Environment, Society and Culture (ล้านนา สิ่งแวดล้อม สังคม และ วัฒนธรรม). Bangkok: Compact Printing.

Fine Arts Department, Archeology Division. (1990). A Summary of the Seminar on Mural Paintings and Buddhist Image Conservation (สรุปผลการสัมมนาเรื่องการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง และการอนุรักษ์พระพุทธรูป). Bangkok: O. S. Printing House.

Hewin, J. (1992). The Tai Architecture and Tradition in Sipsongpanna (ชนชาติไต สถาปัตยกรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีไตในสิบสองพันนา). Bangkok: O. S. Printing House.

Kairas, R. (1997). Lotus: Component of Thai History and Culture (บัว: องค์ประกอบประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมไทย). Bangkok: Fine Arts Department.

Kanchanaphan, A. (2001). Research in the Cultural Dimension (การวิจัยในมิติวัฒนธรรม). Chiang Mai: Mingmueang Printing House.

Khemanantha (Pseudonym). (1985). Relation to the Thai Way (อันเนื่องกับทางไท). Bangkok: Phrapokkao.

Lekhakul, K. (1992). Water Lily Queen of Water Plants (บัวราชินีแห่งไม้น้ำ). Bangkok: Suanluang Ror 9 Foundation.

Phayomyong, M. and Asana, S. (2006). Lanna Thai Sacrificial Offerings (เครื่องสักการะในล้านนาไทย). Chiang Mai: So Sap Printing.

Phunsuwan, S. (1996). Symbols in Thai Painting Between the 19th- 24th Centuries B. E. (สัญลักษณ์ในงานจิตรกรรมไทย ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19 ถึง 24). Bangkok: Thammasat University.

Phrathampidok (Por. Or. Payutto). (2000). Buddhist Dictionary (พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์). (9th ed.). Bangkok: Mahachulalongkornrachwittayalai Printing House.

Pin-ngoen, C. (2005). The Revision and Annotation of Khamphi Anisong of the Lanna Version (การปริวรรตและสาระสังเขปคัมภีร์อานิสงส์ฉบับล้านนา). Chiang Mai: Social Research Institute, Chiang Mai University.

Poramanuchitchinorot, Prince. (1965). The Buddha’s First Sermon (พระปฐมสมโพธิกถา). Bangkok: Liang Chiang Printing.

Royal Institute. (2007). Dictionary of Art A-Z (พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม อักษร ก-ฮ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน). Bangkok: Dansutha Printing.

Royal Institute. (2011). Thai Dictionary, Royal Institute Edition (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554) (2nd ed.). Bangkok: Royal Institute.Social Research Institute, Chiang Mai University. (2008). Tai Lue Ethnic Identity (ไทลื้อ อัตลักษณ์แห่งชาติพันธุ์ไท). Chiang Mai: Social Research Institute, Chiang Mai University.

Sriarun, K. (2003). The Buddhist Images in Siam (พระพุทธรูปปางต่าง ๆ ในสยามประเทศ). Bangkok: Amarin.

Thamrungroeng, R. (2010). Siam Buddha Images (พระพุทธปฏิมาสยาม). Bangkok: Museum Press.

Wichiankhio, A. (2001). Buddha Images in Lanna (พระพุทธรูปในล้านนา). Chiang Mai: Tawan Nuea Printing House.