ผู้หญิงแกร่งแห่งมณีปุร์ อินเดีย (The Iron Women of Manipur, India)

Main Article Content

โสภนา ศรีจำปา Sophana Srichamp

Abstract

          แม้ว่ารัฐธรรมนูญอินเดีย ระบุให้ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน แต่ในทางปฏิบัติผู้หญิงยังถูกกดทับด้วยขนบและจารีตของสังคม กระแสหลักคือศาสนาฮินดูจึงมีสถานภาพเป็นรองผู้ชาย สำหรับรัฐมณีปุร์ซึงเป็นหนึ่งในแปดรัฐทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อินเดียที่เคยมีอาณาจักรเป็นของตนเองก่อนการปกครองของอังกฤษ ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความหลากหลาย แต่กลุ่มเมเตถือเป็นชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่สุดของรัฐมณีปุร์ หรือถูกเรียกว่าชาวมณีปุร์ พูดภาษาเมเต หรือภาษามณีปุร์ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มกูกี-ฉิ่น สาขาพม่า-อาระกัน สาขาย่อยทิเบต-พม่า ภายใต้ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต บทบาทของผู้หญิงเมเตก่อนการนับถือศาสนาฮินดู แม้ว่าผู้ชายเป็นใหญ่ในสังคม แต่ผู้หญิงได้รับการดูแลความยุติธรรมที่เกิดจากปัญหาครอบครัวและความรุนแรงโดยศาลมหารานีซึ่งมีผู้พิพากษาหญิงเป็นผู้ตัดสิน มีบทบาทในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาดั้งเดิมของตน แต่เนื่องจากมีสงครามในอาณาจักรมณีปุร์บ่อย ผู้หญิงจึงต้องทำหน้าที่ดูแลและหาเลี้ยงครอบครัวแทนผู้ชาย ในศตวรรษที่ 16 มีการสร้างตลาดเพื่อให้ผู้หญิงค้าขาย นับแต่นั้นมาผู้หญิงจึงเป็นผู้ที่มีบทบาททางด้านเศรษฐกิจจากการค้าขายมาจนปัจจุบัน ในศตวรรษที่ 18 มีการรับศาสนาฮินดูไวษณพนิกายเข้ามา ท????ำให้สถานะของสตรีลดลงในพื้นที่ส่วนตัวคือครอบครัวแต่ในพื้นที่สาธารณะ สตรีสามารถรวมตัวกันได้อย่างมีพลัง กล้าแสดงออก และกล้าต่อสู้กับอำนาจรัฐอย่างสันติจนเกิดองค์กรที่เรียกว่า ‘เมรา ปายบีส’ ซึ่งมีโครงสร้างชัดเจน แต่มีการดำเนินงานแบบหลวมๆ เพื่อพร้อมที่จะรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องสิทธิ และความยุติธรรมให้เกิดขึ้นกับสังคมมณีปุร์ จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมได้อย่างมีพลัง การต่อสู้ของผู้หญิงมณีปุร์ในอดีตเป็นสัญญะ และมายาคติที่ทำให้ผู้หญิงมณีปุร์ในปัจจุบันใช้เป็นโมเดลเพื่อการต่อสู้กับความอยุติธรรมต่อไป

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ

References

Angkasirisap, W. T. (2004). Mythologies (มายาคติ) (Roland Barthes). Bangkok: Kobfai Publishing Project.

Devi, M. T. (2016). Manipuri Meitei Culture and Its Impact On Women. [Online]. Retrieved January 24, 2016 from https://epao.net/epSubPageExtractor.asp?src=features. Spotlight_On_Women.Manipuri_Meitei_Culture_And_Its_Impact_On_Women_Part_2.

Hussain, S. Z. (2004). Women Rage Against 'Rape' in Northeast India. [Online].Retrieved January 24, 2016. from https://www.commondreams.org/headlines04/0719-03.htm.

Kamei, B. (2015). Nupi Lan of 1939-40 Its Significance in The History of Manipur. [Online]. Retrieved January 24, 2016. from https://kanglaonline.com/2015/12/nupi-lan-of-1939-40-its-significance-in-the-history-of-manipur/.

Kipgen, T. G. (2010). Role of Meitei Women. Women’s Role in the 20th Century Manipur: A Historical Study. Delhi: Kalpaz Publications.

Lawsriwong, N. (2002) . Common Interest of Women in Thailand (สำนึกร่วมของผู้หญิงในเมืองไทย). กรุงเทพฯ: Bangkok : Matichon, 39-43.

Menski, W. F. (1992). Marital Expectations as Dramatized in Hindu Marriage Rituals. Roles and Rituals for Hindu Women. Edited by Julia Leslie. Delhi: Motilal Banarasidass Publishers PVT. LTD.

Mukherj, S. (2010). Meira Paibis: Women Torch-bearers on the March in Manipur. [Online]. Retrieved December 7, 2016. from https://www.mainstreamweekly.net/article2533.html.

National Center for Advocacy Studies. (n.d.). Sustainability and Ownership In People Centerd Advocacy in South Asia. [Online]. Retrieved February 14, 2016. from https://cpdo.blog.af/files/3-Sustainability-Ownership.pdf.

Parratt, S. N. (1980). Religion of Manipur. Calcutta: Firma KLM pvt.

Sanjoy, H. (1994). Strangers in the Mist. New Delhi: Viking Penguin India.