คำยืมภาษาบาลี-สันสกฤตในภาษาไทใหญ่ (Pali-Sanskrit borrowings in Shan Language)
Main Article Content
Abstract
บทความนี้เป็นบทความด้านภาษาศาสตร์ ซึ่งได้กล่าวถึง วิธีการยืมคำในภาษาบาลี-สันสกฤตเข้ามาใช้ในภาษาไทใหญ่ ลักษณะคำยืมภาษาบาลี-สันสกฤตในภาษาไทใหญ่ และปัจจัยที่ทำให้เกิดการยืมคำ โดยได้เลือกศึกษาข้อมูลจากเอกสารภาษาไทใหญ่ ได้แก่ Shan – English Dictionary , Picture Dictionary และพจนานุกรมภาษาไทใหญ่–ไทย รวมทั้งตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในเอกสาร โดยการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษาชาวไทใหญ่ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ จากการศึกษาข้อมูลพบว่า ในด้านวิธีการยืมคำในภาษาบาลี-สันสกฤตเข้ามาใช้ในภาษาไทใหญ่นั้นมีหลายวิธี ได้แก่ การทับศัพท์ และการยืมคำบาลี-สันสกฤตผ่านภาษาพม่า ในด้านลักษณะคำยืมภาษาบาลี-สันสกฤตในภาษาไทใหญ่ก็มีในหลายลักษณะ ได้แก่ คำยืมที่เป็นคำเดี่ยว คำยืมที่เป็นการประกอบคำระหว่างภาษาไทใหญ่กับคำยืมบาลี-สันสกฤต และคำยืมที่เป็นการประกอบคำระหว่างคำยืมบาลี-สันสกฤตกับคำยืมในภาษาอื่น ซึ่งได้แก่ ภาษาพม่า และภาษาอังกฤษ ทั้งนี้เมื่อมีการยืมคำเข้ามาใช้ในภาษาไทใหญ่แล้วก็จะมีการเรียงลำดับคำตามแบบภาษาไทใหญ่ คือ ส่วนหลักอยู่หน้าส่วนขยาย ในด้านปัจจัยที่ทำให้เกิดการนำคำยืมในภาษาบาลี-สันสกฤตเข้ามาใช้ในภาษาไทใหญ่ ได้แก่ ปัจจัยทางด้านศาสนา ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ปัจจัยทางด้านการศึกษา และปัจจัยด้านความทันสมัยและเทคโนโลยี ซึ่งคำยืมที่มาจากเทคโนโลยีสิ่งประดิษฐ์สมัยใหม่นี้ หลายคำก็เป็นคำยืมภาษาบาลี-สันสกฤตที่นำมาประสมกับคำไทใหญ่
Article Details
References
Jantanakom, W. (1983). Characteristics of Tai Yai (Tai O) in Mae Sai District, Chiang Rai Province (ลักษณะของภาษาไทยใหญ่ (ไตอ้อ) ที่อำเภอแม่ส่าย จังหวัดเชียงราย). Master’s dissertation, Silpakorn University, Nakhon Pathom, Thailand.
Khanthaphad, P. (2005). A Study of Compound Words in Tai Yai (การศึกษาคำประสมในภาษาไทใหญ่). Master’s dissertation, Chiang Mai University, Chiang Mai, Thailand.
Kingkham, W. (2013). Foreign Languages in Thai (ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย) (2nd ed). Bangkok: Kasetsart University Press.
Maneechukate, S. (2014). The Sanskrit Words in Indonesian Language and Thai Language (คำสันสกฤตในภาษาอินโดนีเซียกับในภาษาไทย: ความต่างในความเหมือน). Journal of Humanities, Naresuan University, 11(3): 23-39.
Pankhuenkhat, R. (1982). Thai Dialects (ภาษาถิ่นตระกูลไทย). Nakhon Pathom: The Research Institute for Languages and Cultures of Asia, Mahidol University.
Panthumetha, B. (1983). Visiting Tai Homes in Shan State (กําเลหม่านไตในรัฐชาน). Bangkok: Thai Identity Promotion Committee, Secretariat of the Prime Minister.
Phongphaibun, S. (1988). Principles of the ThaiLanguage (หลักภาษาไทย). Bangkok: WatanaPanich Publishing.
Phumisak, C. (2001). Etymology of the Terms Siam, Thai, Lao, and Khom, and the Social Characteristics of Nationalities (ความเป็นมาของ คำ สยาม ไทย ลาว และ ขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ) (5th ed). Bangkok: Siam Publisher, Kledthai.
Prasithrathsint, A. (1990). Sociolinguistics (ภาษาศาสตร์สังคม). Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.
Ramitanondh, S., Somsawadj V., and Wichasin, R. (Eds). (1998). Tai (ไท). Chiang Mai: Ming Muang Printing.
Ruangchotiwit, P. (1992). Analysis of Word Meanings (การวิเคราะห์ความหมายของคำ). Chiang Mai: Department of Thai, Chiang Mai University
Saengponsit, W. (1981). Foreign Languages in Thai (ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย). Bangkok: Odeon Store.
Santasombat, Y. (2000). Elephant Stake: Identity Recreation in Tai Kong (หลักช่าง: การสร้ํางใหม่ของอัตลักษณ์ไทในใต้คง). Bangkok: Amarin Book Center.
Shan Culture and Education Central Committee (SCEC). (2002). Picture Dictionary. NHEC.
Sao Tern Moeng. (1995). Shan-English Dictionary. Maryland: DP Dunwoody Press.
Thammathi, S. (1995). Tai Yai Tattoo (ลายสักไทใหญ่). Chiang Mai: The Social Research Institute, Chiang Mai University.
Wilawan, S. (1977). Thai Exercises: Principles and Usage of Thai for the Senior High School Level (แบบฝึกหัดภาษา ไทย หลักและการใช้ภาษา ไทย ชั้น ม.ศ.ปลาย). Bangkok: Watana Panich Publishing.
Wilawan, S. (2014). The Shan Identity and the Adaptation of Shan Traditions, Ceremonies, and Beliefs in Chiang Mai (อัตลักษณ์กับการปรับเปลี่ยนวิถีทางประเพณีพิธีกรรม และความเชื่อของชําวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่). Doctor’s dissertation, Burapha University, Chon Buri, Thailand.