การศึกษาเปรียบเทียบการออกแบบเรขศิลป์เพื่อสื่อสารจุดจับใจด้านความรักระหว่างวัยทวีนผู้ชายและวัยทวีนผู้หญิง (Comparative Study of Graphic Design for Communicating the Love Appeal Between Tween Boys and Tween Girls)

Main Article Content

ยศไกร ไทรทอง Yossakrai Saithong

Abstract

            งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเลือกใช้องค์ประกอบเรขศิลป์ หลักการออกแบบเรขศิลป์ หลักการจัดองค์ประกอบของภาพถ่าย และเทคนิควิธีการสร้างภาพประกอบระหว่างวัยทวีนผู้ชายและวัยทวีนผู้หญิง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบเรขศิลป์สำหรับสื่อสารจุดจับใจด้านความรัก ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามโดยได้ทำการเก็บข้อมูล 2 ช่วง ได้แก่ 1) ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ไม่ว่าจะเป็นด้านการทำงาน รวมทั้งการสอนในด้านการออกแบบเรขศิลป์ เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี จำนวน 19 ท่าน โดยการตอบแบบสอบถามในลักษณะของการใช้ผู้เชี่ยวชาญ อ้างอิงจากวิธีเดลฟาย (Delphi Method) เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญได้ทำการเลือกองค์ประกอบต่างๆ ในการออกแบบเรขศิลป์สำหรับสื่อสารจุดจับใจด้านความรักที่เหมาะสมสำหรับวัยทวีน 2) ข้อมูลจากวัยทวีนที่มีอายุระหว่าง 8-14 ปี อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 388 คน เพื่อนำองค์ประกอบต่างๆ ในการออกแบบเรขศิลป์ที่ผู้เชี่ยวชาญเลือกไว้ในช่วงแรก นำมาให้วัยทวีนได้ทำการเลือกอีกครั้ง โดยได้ทำการเก็บข้อมูลแยกเป็น 2 กลุ่ม โดยเป็นวัยทวีนผู้ชายจำนวน 193 คน และวัยทวีนผู้หญิงจำนวน 195 คน


            ผลการวิจัยได้ค้นพบ 1) แนวทางในการออกแบบเรขศิลป์เพื่อสื่อสารจุดจับใจด้านความรักสำหรับวัยทวีนผู้ชาย โดยจัดประเภทของกลุ่มคำตอบไว้ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคำตอบที่แนะนำให้นำไปใช้เพื่อการออกแบบอย่างยิ่ง จำนวน 5 องค์ประกอบ กลุ่มคำตอบที่แนะนำให้นำไปใช้เพื่อการออกแบบ จำนวน 27 องค์ประกอบ และกลุ่มคำตอบที่ไม่แนะนำให้นำไปใช้เพื่อการออกแบบ จำนวน 4 องค์ประกอบ 2) แนวทางในการออกแบบเรขศิลป์สำหรับวัยทวีนผู้หญิง โดยจัดประเภทของกลุ่มคำตอบไว้ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคำตอบที่แนะนำให้นำไปใช้เพื่อการออกแบบอย่างยิ่ง จำนวน 13 องค์ประกอบ กลุ่มคำตอบที่แนะนำให้นำไปใช้เพื่อการออกแบบ จำนวน 19 องค์ประกอบ และกลุ่มคำตอบที่ไม่แนะนำให้นำไปใช้เพื่อการออกแบบ จำนวน 4 องค์ประกอบ


            ผลการเปรียบเทียบลำดับการเลือกใช้องค์ประกอบเพื่อการออกแบบเรขศิลป์สำหรับสื่อสารจุดจับใจด้านความรักสำหรับวัยทวีนผู้ชายและวัยทวีนผู้หญิง พบว่า วัยทวีนทั้งสองเพศชอบลำดับในการเลือกใช้องค์ประกอบแบบเดียวกันเป็นส่วนมาก คิดเป็นร้อยละ 88.88 ซึ่งถือว่าเป็นความชอบที่ตรงกันในค่าที่สูง ดังนั้นในการนำผลการวิจัยไปทำการออกแบบเรขศิลป์ อาจไม่ต้องคำนึงถึงวิธีการออกแบบเฉพาะเพศเพื่อสื่อสารถึงจุดจับใจด้านความรักมากนัก

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ

References

Ang, T. (2011). Digital Photography Essentials. New York: DK.

Arntson, A. E. (2012). Design Basics (6th ed). Massachusetts: Wadswort.

Buckingham, D. (2007). Selling Childhood? Children and Consumer Culture. Journal of Children and Media, 1(1): 15-24.

Chaudhari, C. and Marathe, M. (2007). Marketing to Children – Issues & Remedies. [online]. Retrieved November 27, 2012 from: http://dspace.iimk.ac.in/bitstream/2259/323/1/613-626.pdf.

Davis, H. (2010). Creative Composition: Digital Photography Tips & Techniques. Indiana: Wiley.

Enstice, W. and Peters, M. (2011). Drawing: Space, Form, and Expression(4th ed). New Jersey: Pearson.

Excell, L. (2011). Composition: From Snapshots to Great Shots. California: Peachpit.

Freeman, M. (2007). The Photographer's Eye. Massachusetts: Elsevier.

Hashimoto, A. and Clayton, M. (2009). Visual Design Fundamentals: A Digital Approach. Massachusetts: Course Technology.

Hedgecoe, J. (1976). The Book of Photography: How to See and Take Better Pictures. New York: Alfred A. Knopf.

Jonas, P. (1961). Guide to Photographic Composition. New York: Universal Photo Books.Karg, B. and Sutherland, R. Graphic Designer's Color Handbook: Choosing and Using Color from Concept to Final Output. Massachusetts: Rockport.

Landa, R. (2011).Graphic Design Solutions (4th ed). Massachusetts: Wadswort.

Lauer, D. A. and Pentax, S. (2012). Design Basics (8th ed). Massachusetts: Wadswort.

Lindstrom, M. (2003). BRAND child: Remarkable Insights into the Minds of Today's Global Kids and their Relationships with Brands. London: Kogan Page.

Mongkonsiri, S. (2003). Tweens Power (การตลาดเด็กพันธุ์ใหม่วัยทวีนส์). Bangkok: Higher Press.

Noonpakdee, P. (2010). Graphic Design Principles (หลักการและกระบวนการออกแบบงานกราฟิกดีไซน์). Nonthaburi: IDC Premier.

Poulin, R. (2011). The Language of Graphic Design. Massachusetts: Rockport.

Puhalla, D. M. (2011). Design Elements: Form & Space. Massachusetts: Rockport.

Srikanlayanabuth, A. (2007). Publication Design (การออกแบบสิ่งพิมพ์). Bangkok: Viscom Center.

Samara, T. (2007). Design Elements: A Graphic Style Manual: Understanding the Rules and Knowing When to Break Them. Massachusetts: Rockport.

Schmitt, B. and Simonson, A. (1997). Marketing Aesthetic: The Strategic Management of Brands, Identity, and Image. New York: Free Press.

Shipman, C. (1981). How to Improve Your Photography: A Guide to Seeing and Making Better Pictures. London: H.P. Books.

Simpson, I. (1990). The New Guide to Illustration. Oxford: Phaidon.

Thoma, M. (1982). Graphic Illustration: Tools & Techniques for Beginning Illustrators. New Jersey: Prentice-Hall.

Ward, P. (1996). Picture Composition for Film and Television. Oxford: Focal Press.

Zakia, R. D. and Page, D. A. (2011). Photographic Composition: A Visual Guide. Massachusetts: Elsevier