การพัฒนารูปแบบการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องส้มโอ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ สำหรับครูในสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 2 (The Model Development of Local Wisdom Entitled Pomelo Lesson for Learning Management for Teachers under the Jurisdiction of Nakhon Pathom Primary Education Service Area Office 2)

Main Article Content

จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย Jittirat Saengloetuthai

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องส้มโอ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ และ 2) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการนำ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องส้มโอ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ วิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องส้มโอ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ปราชญ์ชาวบ้าน เกษตรกรผู้ปลูกส้มโอ ผู้ปกครอง นักเรียนที่เป็นบุตรหลานของเกษตรกร ศึกษานิเทศก์ และนักวิชาการด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
จำนวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และประเด็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องส้มโอ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 2 จำนวน 570 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามอำเภอ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการสัมมนาอิงกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ นักวิชาการ ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 8 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงและครูผู้ทดลองใช้รูปแบบ จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นกระจายตามอำเภอ เครื่องมือที่ใช้การวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ประเด็นการสัมมนาอิงกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องส้มโอ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย หลักการ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา กระบวนการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ และวิธีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเร่อื งสม้ โอ มาใชใ้ นการจดั การเรยี นรู้ 2) ผลการประเมนิ ความเหมาะสมของรูปแบบโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลการวัดรูปแบบการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องส้มโอ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์พิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืน ประกอบดว้ย ไคสแคว์ = 97.91 (df = 103, p = 0.62), GFI = 0.98, AGFI = 0.97, RMR = 0.02 และ RMSEA = 0.00 ผลการหาฉันทามติ พบว่า รูปแบบการนำภูมิปัญญาทอ้งถิ่นเรื่องส้มโอ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมและผลการนำรูปแบบการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องส้มโอม มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ไปทดลองใช้ในโรงเรียนพบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ

References

Agung, S. L. (2515). The development of local Wisdom-Based social science learning model with Bengawan Solo as the Learning Source. American International Journal of Social Science, 4(4): 51-58. Retrieved on September 30, 2016, from http://www.aijssnet.com.

Ardan, A. S. (2016). The development of biology teaching material based on the local Wisdom of Timorese to improve students knowledge and attitude of environment in caring the preservation of environment. International Journal of Higher Education, 5(3): 51-58 Retrieved on September 30, 2016, from http://www.sciedupress.com

Bakhtiar, A. M. (2016). Curriculum development of environmental education based on local Wisdom at elementary School. International Journal of Learning, Teaching and Educational Research, 15(3): 20-28. Retrieved on September 30, 2016, from http://www.ijlter.org.

Kaltsum, U. H. & Hum, M. (2014). Integrating local Wisdom in English for young learners. The 3rd UAD TEFL Conference, 475-482. Retrieved on September 30, 2016, from http://www.eric.ed.gov.

Keeves, P. J. (1988). Model and model building: educational research, methodology and measurement. Oxford: Pergamon Press.

Ningrum, E. (2015). Learning model based on local Wisdom to embed the ethics land for students. The 1st UPI International Conference on Sociology Education, 408-410. Retrieved on September 30, 2016, from http://www.jstor.org/journal/jinstdeve.

Widodo, J. (2012). Urban environment and human behavior: learning from history and local wisdom. Procedia Social and Behavioral Science, (42): 6-11. Retrieved on September 30, 2016, from http://www.sciencedirect.com.