การศึกษาความสอดคล้องกันของทักษะ สมรรถนะและหน้าที่รับผิดชอบของตำแหน่งบรรณารักษ์จากประกาศรับสมัครงานกับการปฏิบัติงานจริง (A study of the correlation between qualifications, skills, competencies and responsibilities of librarian positions from job advertisements and actual employment)

Main Article Content

ปรียานุช วรวิกโฆษิต (Preeyanuch Voravickositt)

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสอดคล้องกันระหว่างทักษะ สมรรถนะและหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งบรรณารักษ์ที่ปรากฏในประกาศรับสมัครงานกับการปฏิบัติงานจริง โดยใช้กรณีศึกษาจากประกาศรับสมัครงาน จำนวน 265 ตำแหน่ง ที่มีการประชาสัมพันธ์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก “หางานบรรณารักษ์” โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสารประกาศรับสมัครงานเพื่อให้ได้ข้อคำถามสำหรับแบบสอบถามสำหรับกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บรรณารักษ์ที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งที่มีการประกาศรับสมัคร จำนวน 118 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่า สมรรถนะที่พบจากประกาศรับสมัครงานสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ประเภท เรียงตามลำดับความถี่ที่พบ ได้แก่ สมรรถนะทางด้านเทคโนโลยี สมรรถนะทางด้านทรัพยากรสารสนเทศ สมรรถนะทางด้านงานบริการห้องสมุด สมรรถนะทางด้านการบริหารงานห้องสมุด สมรรถนะทางด้านบุคคล/ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และสมรรถนะทางภาษา ในส่วนของคุณสมบัติเฉพาะที่มีการระบุลงในประกาศรับสมัครงานเป็นจำนวนมากที่สุด ได้แก่ คุณวุฒิการศึกษาทางด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ และความสามารถทางคอมพิวเตอร์ หน้าที่รับผิดชอบของตำแหน่งบรรณารักษ์ ประกอบด้วย หน้าที่รับผิดชอบที่เกี่ยวกับงานเทคนิคห้องสมุด งานบริการห้องสมุด และงานบริหารจัดการห้องสมุด โดยผลการวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างความคิดเห็นของบรรณารักษ์เกี่ยวกับทักษะ สมรรถนะและหน้าที่รับผิดชอบของตำแหน่งบรรณารักษ์ที่มีการระบุในประกาศรับสมัครงานกับการปฏิบัติงานจริง มีความสอดคล้องกันในระดับปานกลางไปจนถึงค่อนข้างต่ำ ผลการวิจัยนี้จะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับห้องสมุดในการจัดทำประกาศรับสมัครงานให้มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับคุณสมบัติและหน้าที่เฉพาะตำแหน่งอย่างแท้จริง อันจะส่งผลให้ห้องสมุดสามารถสรรหาบรรณารักษ์ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามไปด้วย


This research aims to study the correlation between skills, competencies, and responsibilities of librarian positions as indicated in job advertisements and their actual performance, using the case study of the Facebook Page “Joblibrarian.” A content analysis was conducted on 265 job advertisements in order to formulate the questionnaire survey. The study involved analyzing job advertisement documents to formulate questionnaire items for the sample group, comprising 118 librarians employed in positions that were advertised. Data collection tools include questionnaires, and statistical analysis methods include frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson correlation coefficient for data analysis. The study found that competencies identified in job advertisement could be categorized into six types, listed in order of frequency encountered: technology competencies, information resources competencies, library services competencies, library management competencies, interpersonal competencies, and language competencies. Regarding specified qualifications most frequently mentioned in job advertisements, they were a degree in Library and Information Science and computer skills. The responsibilities of librarian positions include technical library services, public services, and library management. The analysis of the correlation between librarians’ perceptions of skills, competencies, and responsibilities in job advertisements and their actual performance indicates a moderate to relatively low level of alignment. The research provides valuable insights for libraries to craft job advertisements that accurately reflect the required qualifications and specific duties, enabling the recruitment of librarians who possess comprehensive qualifications and can effectively carry out their duties.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Beile, P. M., & Adams, M. M. (2000). Other duties as assigned: Emerging trends in the academic library job market. College & Research Libraries, 61(4): 336-347.

Fisher, W. (2001). Core competencies for the acquisitions librarian. Library Collections, Acquisitions, and Technical Services, 25(2): 179-190.

Khan, H. R., & Du, Y. (2018). What is a Data Librarian?: A Content Analysis of Job Advertisements for Data Librarians in the United States Academic Libraries. Paper presented at the 84th IFLA General Conference and Assembly. Kuala Lumpur, Malaysia. August 24-30.

Mahmood, K. (2002). Competencies needed for future academic librarians in Pakistan. Education for Information, 20(1): 27-43.

Mettarikanon, Dichitchai, & Bundit, Att. (2014). Analysis of qualification for librarians and information : Case study job advertisement on web during 2010-2012 (การวิเคราะห์คุณสมบัติงานบรรณารักษ์และสารสนเทศ : กรณีศึกษาการโฆษณาผ่านทางเว็บไซต์รับสมัครงาน ปี พ.ศ. 2553-2555). Journal of Information Science, 32(3): 36-49.

Mettarikanon, Dichitchai, & Juychum, Detdanai. (2016). Essential competencies for LIS students: Fostering the 21st century librarian (สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับนักศึกษาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์: การสร้างความพร้อมเพื่อการเป็นบรรณารักษ์ในศตวรรษที่ 21). Journal of Library and Information Science Srinakharinwirot University, 9(2): 87-97.

Missita, Sompong, & Buangam, Kanokwan. (2020). Guidelines for developing professional standards for librarians: From “the possibility of developing professional standards for Thai librarians”: Thai academic librarian group seminar, 19 December 2019 (แนวทางการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพบรรณารักษ์ไทย บทสรุปจากการเสวนาเรื่อง “ความเป็นไปได้ในการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพบรรณรักษ์ไทย” ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา,19 ธันวาคม 2562). TLA Bulletin, 64(1): 92-104.

Mwaniki, P. W. (2018). Envisioning the future role of librarians: Skills, services and information resources. Library Management, 39(1/2): 2-11.

Pluemsamrungit, Preedee, & Matkhaw, Daraporn. (2018). 21st - Century library (ห้องสมุดในศตวรรษที่ 21). National Library of Thailand Journal, 6(1): 1-16.

Ratledge, D., & Sproles, C. (2017). An analysis of the changing role of systems librarians. Library Hi Tech, 35(2): 303-311.

Sangthong, Narongwit. (2003). Getting to Know Competency (มารู้จัก Competency กันเถอะ). Bangkok: HR Center.

Shahbazi, R., & Hedayati, A. (2016). Identifying digital librarian competencies according to the analysis of newly emerging IT-based LIS jobs in 2013. The Journal of Academic Librarianship, 42(5): 542-550.

Thajit, Supaporn. (2020). The Development of Competencies for Librarians in the 21st Century: Case Study of Ubon Ratchathani University (การพัฒนาสมรรถนะสำหรับบรรณารักษ์ในศตวรรษที่ 21: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี). Paper presented at the 10th PULINET National Conference. Songkhla. January 8-9.

Watana, Chotima. (2016). Bookless library can be called library? (ห้องสมุดไร้หนังสือ เรียกว่าห้องสมุดได้จริงหรือ?). Journal of Information, 15(1): 1-10.

Wongset, Napapat, & Charoensak, Rungtip. (2018). Expectations and opinions of cataloging librarians competencies in Rajabhat University libraries (ความคาดหวังและความคิดเห็นของบุคลากรต่อสมรรถนะของบรรณารักษ์งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏ). Rommayasan, 16(2): 389-410.