รูปแบบการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยมีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ 2. เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 3. เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยมีผู้เกี่ยวข้องดังนี้คือ 1) กลุ่มผู้วิจัย จำนวน 3 คน 2) กลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป จำนวน 62 คน 3) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสำรวจความคิดเห็น 2) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง 3) แผนการสอนตามรูปแบบการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 3) แบบบันทึกเหตุการณ์การเรียนการสอน 5) แบบสังเกตพฤติกรรม 6) แบบบันทึกความคิดเห็น 7) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ 9) แบบประเมินผลการใช้รูปแบบการสอน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) รูปแบบการสอนพัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบของรูปแบบ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบการสอน 2) เป้าหมายของรูปแบบ 3) ขั้นตอนของรูปแบบ ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 3.1) ขั้นก่อนจัดประสบการณ์ 3.2) ขั้นจัดประสบการณ์ ประกอบด้วยกิจกรรม 5 ขั้น เรียกว่า IDR2E Model ได้แก่ 3.2.1) Identify 3.2.2) Do 3.2.3) Reflect 3.2.4) Expand 3.2.5) Evaluate 3.3) ขั้นหลังจัดประสบการณ์ และ 4) เงื่อนไขของการนำรูปแบบการสอนไปใช้ ได้แก่ ระบบสังคม ระบบสนับสนุน และหลักการตอบสนอง 2) รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.07/ 82.55 ผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 82.22 และ 82.88 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และ 3) ผลการประเมินการใช้รูปแบบการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
References
Chaiyaphum Rajabhat, University. (2013). The Manual of Student Planner. Chaiyaphum : n.p.
Chatwirote, B. (2007, January-April). The Development of a Collaborative Learning
Management Model to Promote English Student Teachers’ Teaching Competencies.
The Golden Teak : Humanity and Social Science, 13(1).
Choangchan, A. (2010). The Development of Instructional Model for the Enhancement
of Problem Solving with Critical Thinking Abilities in Science of Fifth Grade
Students. Ph.D. Thesis, Silpakorn University.
Dressel & Mayhue. (2007). Promotiong and AssessingCritical Thinking. [Online]. Available:
http://www.scribd.com/doc/38466787/Assessing and Critical Thinking.
[2007, December 11].
Education Council, Office. (2005). The Learners are the Center of Teaching and Learning.
Bangkok : Kurusapa Ladprao.
Ennis, R. H. (1985). Critical Thinking and the Curriculum. National Forum : Phi Kappa Phi
Journal, 65(1), 28-31.
Johnson, D. W. & Johnson, R. T. (1994). Learning Together and Alone. Cooperative,
Competitive, and Individualistic Learning. (4 th ed.). Edina, Minn : Interaction
Book Company.
Joyce, B. & M. Weil. (2009). Model of Teaching. (5th ed.). Englewood Cliff, NJ : Prentice-Hall.
Kaemmanee, T. (2012). Science of Pedagogy: the Knowledge for Effectiveness
Learning Management Process. (15 th ed.). Bangkok : Dansutha Publisher.
Kitroongrueng, P. (2010). The Development of an Instructional Model using Case Based
Learning Based on Science of Teaching to Enhance Student Teachers’
Critical Thinking. Ph.D. Thesis. Silpakorn University, Thailand.
Kowtrakul, S. (1998). Educational Psychology. (4 th ed.). Bangkok : Chulalongkorn
University.
Nachairit, D. (2014). The Development Blended Learning Model using Collaborative
and Case-based Learning to Enhance Critical Thinking Problem Solving
Thinking and Team Learning of Undergraduate Education Students.
Ph.D. Thesis. Silpakorn University, Thailand.
Nekammanurak, P. (1994). The Development of Critical Thinking Developing Model
for Teachers College Students. Ph.D. Thesis. Chulalongkorn University, Thailand.
Nilphan, M. (2010). Educational Research Methodology. (3 rd ed.). Nakhon Pathom :
Educational Research and Development Center. The Faculty of Education, Silpakorn
University.
Norris, S. P. (1985). Synthesis of Research on Critical Thinking. Educational Leadership, 42,
40-45.
Panich, W. (2012). The Ways for Creating Learning for Students in the 21 Century.
Bangkok : Tathata Publication.
Permanent Secretary, Ministry of Education, Office. (2011). Education Development Plan
of the Ministry of Education (11th ed.) B.E. 2555-2559. Bangkok : Kurusapa Ladprao.
Prabhong, U. (2007). The Development of Clinical Thinking in the Course of Human
Behavior and Self Development for Sakon Nakhon Rajabhat University.
Ph.D. Thesis, Kasetsart University.
Prangsorn, S. (2014). The Development of Instructional Model by Web Quest toward
Problem Based for promoting Problem Solving and Critical Thinking Abilities.
Ph.D. Thesis, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok.
Ratana-ampronsopon, U. (2002). Problem Based Learning. Chonburi: Burapha University.
Sa-ard, S. (2010). A Development and Effects of Problem-based Instruction Model
Using Electronic Media toward Learning Achievement and Problem Solving
Ability in Nursing of College Nursing Students under Praboromarajchanok
Institute the Ministry of Public Health. Ph.D. Thesis. King Mongkut’s University of
Technology North Bangkok.
Sinlarat, P. (2007). Sattasila: The Seven Principles for Transforming Education into
Economy Knowledge Based. (2 rd ed.). Bangkok : Chulalongkorn University.
Suwan, C. (2009). A Training Package for the Enrichment of Critical Thinking
Development Process on Sufficiency Economy's Way of Life for Student
Teachers of the Rajabhat Universities in the Upper Northern Region. Ph.D. Thesis,
Chiang Rai Rajabhat University, Thailand.
Teachers Council of Thailand, Secretariat Office. (2010). A Study on the Trend of Thai
Teachers’ Characteristics in the next Decade (B.E. 2562). Bangkok : Surusapa
Ladprao.
Thammabus, M. (2002). The Development of Learning Quality by Using Problem
Based Learning (PBL). Academic Journal, 5(2), 11-17.
Thumsaen, K. (2013). A Development of Instructional Model Based on Critical
Thinking for Physical Education Major Students of Faculty of Education at
Physical Institute. Ph.D. Thesis. Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal
Patronage.