การพัฒนารูปแบบการศึกษาชั้นเรียนแบบเรียนรู้ร่วมกันที่ส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครู
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการศึกษาชั้นเรียนแบบเรียนรู้ร่วมกันที่ส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครู ดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครู 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ 3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบ และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาครูชั้นปีที่ 5 จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ และแบบวัดความสามารถในการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏมีการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ และการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษาครูก่อนออกฝึกประสบการณ์ ปัญหาที่พบคือ อาจารย์นิเทศก์ ครูพี่เลี้ยง และนักศึกษาครู ไม่มีโอกาสได้พบและวางแผนร่วมกันก่อนออกฝึกประสบการณ์ และแนวทาง คือ ควรมีการเตรียมความพร้อม ด้านความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่เพียงพอ และการทำงานร่วมกัน ก่อนออกฝึกประสบการณ์ (2) รูปแบบการศึกษาชั้นเรียนแบบเรียนรู้ร่วมกัน มี 5 องค์ประกอบ คือ ความเป็นมา หลักการ จุดมุ่งหมาย กระบวนการสอน และการวัดและประเมินผล โดยกระบวนการสอนดำเนินการเป็น 2 วงจร 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การกำหนดเป้าหมายและการวางแผนร่วมกัน ขั้นที่ 2 การสอน ขั้นที่ 3 การสังเกตการสอน และการจดบันทึก และขั้นที่ 4 การสะท้อนผลปรับปรุงแก้ไข ซึ่งรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (3) นักศึกษาครูมีพัฒนาการด้านความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ ร้อยละ 44.05 และมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก (4) ผลการประเมินการใช้รูปแบบ พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้า ช่วยให้นักศึกษาครูมีความรู้ และการออกแบบการเรียนรู้ได้อย่างชัดเจนมากขึ้น ด้านกระบวนการ พบว่า นักศึกษาครูได้ทำงานร่วมกันกับอาจารย์นิเทศก์ ครูพี่เลี้ยง และนักศึกษาครู พัฒนาตนเองด้านการสอนได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และด้านผลผลิต พบว่า นักศึกษาครูมีความรู้ในการจัดการเรียนรู้ และสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
References
Arend, B. (1999). Practical instructional design : Applying the basics to your [Online]. Available : http://leahi.kcc.hawaii.edu/org/tcon99/papers/arend.html
[2012, May 2].
Barkley, et al. (2004). Collaborative learning techniques : A handbook for College Faculty. USA : Wiley Imprint.
Baroody, A.J. (1993). Problem Solving Reasoning and Communication K-8. Helping Children Think Mathematically. New York : Macmillan.
Buaosont, R. (2009). Research and Development of Innovation in Education. Bangkok : Kham Samai.
_______. (2008). Qualitative research in education. Bangkok : Chulalongkorn University.
Hinaon, K. & Tonsriwong, S. (2015). Problems and Development Processes for Professional Teaching Practices Faculty of Industrial Education King Mongkut's University of Technology North Bangkok. Journal of Industrial Education King Mongkut's University of Technology Thonburi, 6(1), 159-167.
Inprasitra, M. (2007). Contextual preparation for the implementation of Japanese teacher professional development. "Study in the classroom" (Lesson Study) in Thailand. Bangkok : Create a name.
Johnson, D.W. & Johnson, R.T. (1987). Learning Together and Alone : Cooperative, Competitive and Individualistic Learning. (2 nd ed.). New Jersey : Prentice-Hall.
Joyce, B. & Weil, M. (2004). Models of Teaching. (7 th ed.). Boston : Allyn and Bacon.
Junlex, P. (2013 ). Development of the activity preparation model for training. Professional experience to promote desirable attributes. For students Industrial
Science Faculty of Agriculture. Doctor of Philosophy In Curriculum and Instruction. Naresuan University.
Kanauan, W. (2013). Collaborative working between inservice teachers and internship students in school using lesson study and open approach of internship
students’s perspective. Master of Education Thesis Mathematics Education College Khonkaen University.
Khemmani, T. (2015). Teaching science Knowledge For effective learning process. Bangkok : Chulalongkorn University Press.
Kunaruk, K. (2002). Curriculum and Development. Nakhon Pathom : Silpakorn University Sanam Chandra Palace Royal College.
Lewis, C. & Perry, R. (2003). Teacher-Initiated Lesson Study In A Northern California District. Paper presented at the Annual Meeting of the American Educational Research Assoc, April 21-25, 2003, Chicago, Illinois. ERIC Document Reproduction Service No. ED478391.
_______. (2009). Improving Mathematics Instruction Through Lesson Study : A Theoretical Model And North American Case. Journal of Mathematics Teacher Education, 12(4), 285-304.
Maneewong, S. (2013).lesson study implementation in ihai basic education schools. Ph.D., Khon Kaen University, Khon Kaen.
Ministry of Education. (2011). Quality assurance of educational institutions. Bangkok : Teachers Council of Thailand, Lat Phrao.
Office of Education Council. (2014). Learning Reform Project (2014-2017) Reflection problems and solutions. The Reform of Thai Education. Bangkok : 21 Century Limited
Pruithikul, S. (2014). Creating a process of supervision along the lines of the development of lessons together to promote the performance of the learning management of students practicing professional experience. Early Childhood Education. Journal of Education Burapha University, 25(1), 75 - 88.
Sriphorm, T. (2013). the development of grade 9 student' problem-solving process skill and achievement on social issues of the asean community through project-based learning lessons basing on lesson study process. Master of Education Thesis Mathematics Education College Khonkaen University.
Srisaat, B.C. (2000). Preliminary research. (6 th ed.). Bangkok : Suviriyasai Publishing House
Stigler, J. & Hiebert, J. (1999). The Teaching Gap. New York : The Free Press.