การพัฒนารูปแบบการบริหารผลการปฏิบัติงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารผลการปฏิบัติงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 2 ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1ศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการในการบริหารผลการปฏิบัติงาน โดยการสัมภาษณ์ จำนวน 11คน การประชุมผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 20 คน และใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างจำนวน375 คน ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการบริหารผลการปฏิบัติงานโดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 5 คน และการสนทนากลุ่มจำนวน 9 คน ขั้นตอนที่ 3ทดลองใช้รูปแบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน โดยการนำไปทดลองใช้ที่สำนักงานเขตพื้นที่ การสัมภาษณ์จำนวน 20 คน และการวิเคราะห์เอกสาร ขั้นตอนที่ 4ประเมินรูปแบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน โดยการประชาพิจารณ์ จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย 1. สภาพ ปัญหาและความต้องการในการบริหารผลการปฏิบัติงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 2 พบว่า ผู้ปฏิบัติงานไม่ทราบพันธกิจและเป้าหมายการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ขาดการนิเทศ ติดตามและคำแนะนำการปฏิบัติงาน และการประเมินผลการปฏิบัติงานไม่เป็นระบบ2. องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารผลการปฏิบัติงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพบว่า มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ การวางแผนการปฏิบัติงานการสื่อสารผลการปฏิบัติงานการพัฒนาผลการปฏิบัติงาน การติดตามผลการปฏิบัติงาน และการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารผลการปฏิบัติงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 2 พบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีการนำไปปฏิบัติได้อยู่ในระดับมากและ 4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารผลการปฏิบัติงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 2 ในภาพรวมพบว่า รูปแบบมีความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสมและความถูกต้องครอบคลุมอยู่ในระดับมาก
Article Details
Issue
Section
-
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย