ประสิทธิผลการบริหารจัดการพลังงานทดแทนของประเทศไทย

Main Article Content

ธนกร รัตตกุล

Abstract

การวิจัยเรื่อง ประสิทธิผลการบริหารจัดการพลังงานทดแทนของประเทศไทย ใช้การวิจัยแบบผสานวิธีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ประสิทธิผลการบริหารจัดการพลังงานทดแทนของประเทศไทย 2.ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการพลังงานทดแทนของประเทศไทย ประชากรในเชิงคุณภาพได้แก่ บุคลากรที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์พลังงานทดแทนผู้มีประสบการณ์ทั้งภาครัฐและเอกชน และนักวิชาการด้านพลังงานทดแทน รวม 24 คนใช้การสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interviews) ส่วนประชากรในเชิงปริมาณได้แก่ ข้าราชการสังกัดกระทรวงพลังงาน จำนวน 1,300 คนได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 297 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เจาะลึก(In-depth Interview) และแบบสอบถาม (Questionnaires) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์แบบอุปนัย (Analytic Induction)และใช้สถิติขั้นพื้นฐานวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage)สถิติค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิผลการบริหารจัดการพลังงานทดแทนเกิดจากนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดขึ้นมาจากสภาพปัญหาด้านพลังงานโดยภาพรวมของประเทศและอาศัยหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กระทรวงพลังงานเป็นหน่วยงานกำหนดแผนยุทธศาสตร์ด้านพลังงานทดแทนพร้อมทั้งทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักประสานงานกับทุกภาคส่วน เช่น ภาคธุรกิจเอกชนภาคประชาชน สถาบันการศึกษาและชุมชนท้องถิ่น ให้เข้ามาทำงานร่วมกันโดยทำงานอย่างบูรณาการ มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานทดแทนรวมถึงการปลูกจิตสำนึกด้านพลังงานทดแทนให้เกิดกับทุกฝ่าย 2) ปัจจัยด้านความสนใจของสังคม  ด้านการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนด้านทรัพยากรการบริหาร ด้านทัศนคติของประชาชนและการสนับสนุนจากผู้บริหารมีผลต่อการบริหารจัดการพลังงานทดแทนของประเทศไทยให้ประสบผลสำเร็จ

Article Details

Section
-
Author Biography

ธนกร รัตตกุล