ปัจจัยความสำเร็จของกลุ่มผู้ผลิตกล้วยตากบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จของกลุ่มผู้ผลิตกล้วยตากบางกระทุ่ม โดยมีเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มที่มีประสิทธิภาพมีการจัดการการผลิต กลุ่มได้รับผลกำไร ผลิตภัณฑ์ได้มาตรฐานและรางวัลจากหน่วยงานต่างๆสามารถจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่อง จำนวน 3 กลุ่ม จากกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1.ประธานกลุ่มหรือผู้นำกลุ่ม 2. สมาชิกกลุ่ม 3. ผู้นำชุมชน 4. กลุ่มบุคคลภายนอก โดยมีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลดังนี้ 1) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth InterviewTechniques) 2) การสังเกต (Observation) 3) การจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปัจจัยความสำเร็จของกลุ่มผู้ผลิตกล้วยตากบางกระทุ่มปรากฏดังนี้ (1) ด้านปัจจัยนำเข้าการผลิต พบว่าลักษณะดินที่เหมาะสม มีความพร้อมด้านทุน แรงงาน และศักยภาพผู้นำกลุ่ม (2) ด้านกระบวนการผลิตพบว่า มีการวางแผนระบบการผลิต การผลิตอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกับความรู้สมัยใหม่ มีการปรับตัวการผลิตให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค มีการควบคุมการผลิตจากคนในกลุ่มและหน่วยงานภายนอกกลุ่ม (3) ด้านผลิตภัณฑ์กล้วยตาก พบว่า มีเอกลักษณ์ดั้งเดิม ได้มาตรฐาน ผู้บริโภคมีความพึงพอใจและจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่อง (4) ด้านการเรียนรู้ของกลุ่ม พบว่า กลุ่มเรียนรู้ เทคนิควิธีการในการผลิตกล้วยตากได้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคเรียนรู้เรื่องพันธุ์กล้วย ลักษณะดิน สภาพอากาศการประยุกต์ออกแบบอุปกรณ์การผลิตใช้ได้อย่างเหมาะสมและเรียนรู้การหาตลาดเพื่อจำหน่าย (5)ด้านเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคม พบว่า กลุ่มมีความสัมพันธ์ทางสังคมภายในกลุ่มและนอกกลุ่มในด้านการจัดหาวัตถุดิบ ด้านการสนับสนุนทุนด้านแรงงานในการผลิต ด้านการตรวจสอบรับรองผลิตภัณฑ์ และด้านการตลาด (6) ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน พบว่า กลุ่มมีการพัฒนาทุนมนุษย์ทุนสิ่งแวดล้อม และทุนทางวัตถุหรือทุนกายภาพ
Article Details
Issue
Section
-
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย