การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ PLAY เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย
Main Article Content
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้PLAY สำหรับพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยโดยสร้างและหาคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้PLAY และศึกษาผลการส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ เป็นเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล 2อายุ 5-6 ปี ปีการศึกษา2555 จำนวน 76 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 38 คน และกลุ่มควบคุม 38 คนได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง ใช้เวลาทดลอง จำนวน 10 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 45 นาที เครื่องมือทดลองคือรูปแบบการจัดการเรียนรู้ PLAY เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยด้านการทำงานเป็นกลุ่มด้านการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และด้านการช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น เครื่องมือวัดคือแบบประเมินพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย มีค่าความเชื่อมั่น = .89 ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ PLAY ที่สร้างขึ้นมี 4 ขั้นตอนคือ ขั้นวางแผน(P) ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (L)ขั้นลงมือปฏิบัติกิจกรรม (A) และขั้นแสดงความยินดี (Y) ทุกขั้นตอนมีความเหมาะสมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด(M=4.51) และพบว่าหลังการทดลอง รูปแบบการจัดการเรียนรู้ PLAY ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีคะแนนทักษะทางสังคมรายด้านทุกด้านและโดยรวมสูงขึ้น อย่างชัดเจน (t=35.03, 29.95, 40.46, 27.17 และ 40.56; p= 0.0) และมีขนาดส่งผลต่อ (Effect Sizes) คะแนนทักษะทางสังคมแต่ละด้านและโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Cohen’s d=5.68, 4.86, 6.56, 4.41 และ 6.58)
Article Details
Issue
Section
-
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย