การวิเคราะห์องค์ประกอบจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ภัคนุช หมากผิน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์องค์ประกอบจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3       2. ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลโครงสร้างองค์ประกอบของจิตสาธารณะตามสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์และ 3. ประเมินระดับจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่2  ปีการศึกษา 2554ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39 จำนวน 12 โรงเรียน  มีจำนวนนักเรียนทั้งหมดจำนวน 540 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (StratifiedRandom Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามจิตสาธารณะ โดยแบบสอบถามเป็นประโยคข้อความมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ซึ่งค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC มีค่าตั้งแต่0.60 ขึ้นไป  และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (ExploratoryFactor Analysis) โดยทำการวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญ (PrincipalComponent Analysis : PC) และใช้การหมุนแกนแบบมุมฉาก (Orthogonal  Rotation) ด้วยวิธี  แวริแมกซ์ (Varimax Method) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory  Factor Analysis) จากโปรแกรมลิสเรล และประเมินระดับจิตสาธารณะ โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1)องค์ประกอบของจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  มีทั้งหมด  6 องค์ประกอบ  คือ การดูแลรักษาผลประโยชน์ร่วม   การเคารพสิทธิผู้อื่นและสร้างประโยชน์ต่อส่วนรวม  ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม  ความมีน้ำใจและเอาใจใส่ต่อผู้อื่น  การมีส่วนร่วมต่อกิจกรรมสาธารณะประโยชน์  ความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น  โดยมีค่าไอเกนอยู่ระหว่าง 5.30 –20.29     และมีค่าความแปรปรวนสะสมร้อยละ 89.46 2) โมเดลโครงสร้างพฤติกรรมบ่งชี้จิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิเคราะห์ดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันกับข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่า ค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 1391.59 (P = 0.053) ที่องศาอิสระ เท่ากับ 1308 ค่า GFI เท่ากับ 0.89   ค่า AGFI เท่ากับ 0.83   ค่า  CFI เท่ากับ 0.99   และ RMSEA เท่ากับ 0.013  และพบว่าค่าน้ำหนักองค์ประกอบของพฤติกรรมบ่งชี้จิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทั้ง 63  ตัวบ่งชี้ มีค่าอยู่ระหว่าง -0.31-0.81 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทุกค่า 3) ระดับจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ทั้ง 6  องค์ประกอบ มีค่าเฉลี่ยของระดับจิตสาธารณะเท่ากับ  3.51-4.15  ซึ่งอยู่ในเกณฑ์การมีจิตสาธารณะระดับสูง โดยองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยระดับจิตสาธารณะสูงสุด คือความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น รองลงมาคือ ความมีน้ำใจและความเอาใจใส่ต่อผู้อื่นการมีส่วนร่วมต่อกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม การเคารพสิทธิ์ผู้อื่นและสร้างประโยชน์แก่ส่วนรวมและการดูแลรักษาผลประโยชน์ร่วม ตามลำดับและโดยภาพรวมนักเรียนมีจิตสาธารณะระดับสูง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.77

Article Details

Section
-
Author Biography

ภัคนุช หมากผิน