การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับ เทคนิคคิดนอกกรอบเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในระดับปริญญาตรี

Main Article Content

วิชา เลี่ยมสกุล
ทรงศักดิ์ สองสนิท
พงศ์ธร โพธิ์พูลศักดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ดำเนินการเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยราชภัฏ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1.1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาด้านความคิดเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยราชภัฏ 1.2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคคิดนอกกรอบเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในระดับปริญญาตรี มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 2.1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคคิดนอกกรอบเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในระดับปริญญาตรี 2.2) เพื่อประเมินความเหมาะสม ของรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคคิดนอกกรอบเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในระดับปริญญาตรี 2.3) เพื่อพัฒนาบทเรียน ตามรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคคิดนอกกรอบเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในระดับปริญญาตรีระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคคิดนอกกรอบเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในระดับปริญญาตรี มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 3.1) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคคิดนอกกรอบเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในระดับปริญญาตรี 3.2) เพื่อหาความพึงพอใจของผู้เรียน ที่ร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบทเรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคคิดนอกกรอบเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในระดับปริญญาตรี ที่พัฒนาขึ้น โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ชั้นปีที่ 2 คัดเลือกมาเป็นกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่านักศึกษามีระดับความคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับปานกลาง ลักษณะสภาพการเรียนในปัจจุบันยังขาดการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคคิดนอกกรอบเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในระดับปริญญาตรี ที่พัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบที่ใช้ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้กับนักศึกษา โดยจะมีกิจกรรมร่วมกับแนวคิดนอกกรอบ เพื่อกำหนดโจทย์ให้นักศึกษาคิดไอเดียต่างๆ จากการทำกิจกรรมตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นในการตอบโจทย์  ผ่านการเรียนรู้แบบผสมผสาน คือ เรียนในห้องเรียนตามปกติร่วมกับแบบออนไลน์ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.35) 2) บทเรียนตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) นักศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคคิดนอกกรอบเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในระดับปริญญาตรีที่พัฒนาขึ้นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.51)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Intarayuth, S., Tansriwong, S. & Koseeyapron, P. (2016, January-April). Development of training
focused programs. And computer-based learning based on mixed-group learning
theory. Circuit Analysis. The Golden Teak : Humanity and Social Science Journal
(GTHJ.), 22(1).
Kuder, G.F., & Richardson, M.W. (1937). The theory of the estimation of test reliability.
Psychometrika, 2(3), 151-160.
Payom, S. (2008). Relationships between Critical Thinking, Creativity and Scientific Process
of Problem Solving Ability of Matthayomsuksa Three Students. Thesis of Master
Degree of Education in Educational Measurement and Research Prince of Songkla
University.
Phichittra, T. (2013). The Development of Teaching Model : Curriculum Development
Course by using Research based learning Approach for pre-service Teachers. Thesis
of Doctor Degree of Philosophy Program in Curriculum and Instruction Department of
Curriculum and Instruction Graduate School Silpakorn University.
Pisutha, A. (2007). Educational Software Development. Mahasarakham : Faculty of Science
and Technology Mahasarakham Rajabhat University.
Promwong, C. (1977). Performance media learning test. [Online]. Available :
https://www.slideshare.net/ittpatinya/ss-39561953 [2560, February 2].
NBT 2HD. (2016). King's Science To sustainable development 8 Sep 60. [Online]. Available :
https://www.youtube.com/watch?v=xGd_fBkccFA. [2560, January 5].
RMU Office of Academic Promotion and Registration. (2018). [Online]. Available :
https://regis.rmu.ac.th/registrar/studentset.asp [2018, April 5].
Songsak, S. (2009). The Development of a Web-Based Collaborative Learning Model using Principles of a Project Approach. Thesis Ph.D. King Mongkut's University of Technology North Bangkok.Teantong Monchai. (2554). Courseware design and development for CAI. (3rd edition) Bangkok : Department of Computer Education Faculty of Industrial Education King Mongkut's University of Technology North Bangkok.
Torrance, E.P. & Press, P. (1966). Torrance tests of creative thinking. Princeton, N.J : Personnel Press.
Tullavantana, R. & Sujpluem, P. (2003). The Study Effect of Emphasizing on Lateral Thinking Technique for Developing Creative Thinking of Student : The Case Study of Communication Arts at Dhurakijpundit University. [Online]. Available : https://www.youtube.com/watch?v=xGd_fBkccFA [2560, October 14].