ความสุขในการทำงานตามรูปแบบวัฒนธรรมองค์การของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ

Main Article Content

ตรรกพร สุขเกษม
ปิยากร หวังมหาพร

บทคัดย่อ

การวิจัย การสร้างความสุขในการทำงานตามรูปแบบวัฒนธรรมองค์การของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบวัฒนธรรมองค์การมีผลต่อความสุขในการทำงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพื้นที่ภาคเหนือ 2) ระดับความสุขในการทำงานของอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพื้นที่ภาคเหนือ 3) เปรียบเทียบระดับความสุขในการทำงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพื้นที่ภาคเหนือจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 4) ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพื้นที่ภาคเหนือ และ 5) จัดทำแนวทางในการสร้างความสุขในการทำงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพื้นที่ภาคเหนือ การวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพื้นที่ภาคเหนือ จำนวน 350 ตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณเชิงเส้นตรง การวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการสร้างความสุขในการทำงานตามรูปแบบวัฒนธรรมองค์การ ส่วนใหญ่เป็นวัฒนธรรมแบบเครือญาติ และเป็นวัฒนธรรมแบบราชการ 2) ความสุขในการทำงานของอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือโดยรวมอยู่ในเกณฑ์มีความสุขมาก เมื่อพิจารณาในรายมิติ พบว่า  อาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือมีระดับความสุขอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่  มิติน้ำใจดี และมีระดับความสุขอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ มิติคุณธรรมดี มิติครอบครัวดี มิติความรู้ดี มิติผ่อนคลายดี และมิติสังคมดี 3) การเปรียบเทียบระดับความสุขในการทำงานของอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพื้นที่ภาคเหนือ พบว่า อาจารย์ที่มีเพศ การศึกษา รายได้ และระยะเวลาปฏิบัติงานต่างกัน มีระดับความสุขแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพื้นที่ภาคเหนืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เรียงลำดับตัวแปรที่มีผลต่อการผันแปรของตัวแปรตามจากมากที่สุดไปหาน้อย ดังนี้ ปัจจัยผู้ร่วมงาน ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน ปัจจัยค่าตอบแทน ปัจจัยวัฒนธรรมแบบเครือญาติ ปัจจัยผู้นำองค์กร ปัจจัยลักษณะงาน ปัจจัยคุณภาพชีวิตและความสมดุลฯ และปัจจัยวัฒนธรรมแบบราชการ โดยมีสมการถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน  คือ Z = .12Z1 + .27Z3 + .10Z4 + .45Z5+ .10Z6 + .17Z7 + .15Z8 + .07Z10  และ 5) แนวทางการสร้างความสุขของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพื้นที่ภาคเหนือ ได้แก่ 1) ทำให้อาจารย์เข้าใจในคุณค่าที่สถาบันได้รับจากการทำงาน และส่งเสริมและสนับสนุนให้สถาบันมีความพร้อม 2)  ปรับรูปแบบการบริหารของผู้บริหารและวิธีการบริหารงานเน้นคุณภาพ 3) พัฒนาทีมงานให้ทำงานอย่างมืออาชีพ และ  4) ทำให้อาจารย์เห็นโอกาสในการพัฒนาตนเอง เกิดความรู้สึกทางบวก และมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการทำงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Diener, E. & Meyer, J. (2003). Relationship Between Happiness at Work and Intention to
Stay among Professional Nurses. New direction in subjection well-being : The Science of happiness, 10(2).
Higher Education Information and Statistic Center. (2018). High Educational Statistic : Higher Education staff in 2017 classified by all higher educational institutions/ institutional group/gender/educational level/faculty/personal type in all higher education institutions. Bangkok : Office of the Higher Education Commission.
Kasiwanichayakul, C. (2014). Enhancement of Happiness at Work for the University Staff : A Case Study of Silpakorn University at Sanamchandra Campus. Master of Art’s thesis (Human and Community Resource Development) Department of Human and Community Resource Development, Silpakorn University.
Lertwibunmongkol, J. (2014). Relationships between Personal Factors, Work Employment, Achievement Motivation, and Work Happiness of Staff nurses,
Governmental university hospitals. Master of Nursing Sceience’s thesis Chulalongkorn University.
National Statistic Office. (2015). Numbers of students in public and private institutions which are classified by grades and levels during academic year between 2007- 2015. [Online]. Available : http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/ statseries06.html [2016, January 20].
Office of the Council of State. (2007). Local Administration Act of 2007. Bangkok : Office of the Council of State.
Ramtong, J. (2015). The Happiness at Work for Supporting Staff in Prince of Songkla University, Hat Yai Campus: An Analysis of Casual Factors of Working Experience. Master of Public Administration Programs’ thesis, Prince of Songkla University.
Somboonlertsiri, P. & Rahothan, J. (2013). Happy Workplace Model and Quality of Work Life Effect to Organization Effectiveness of IRPC Public Company Limited. Journal of Behavioral Science for Development, 5(1), 16-31.
Tangchareonkitsakul, T. & Chansom, N. (2014, April-June). Factors Affecting Work Happiness of Employees in Service Department at Metropolitan Waterworks Authority (Thailand). Journal of Financial Investment Marketing and Business Management, 4(2).
Tangchitwattanakul, P. & Chaemchoy, S. (2017, January-April). The Guideline for Developing Servant Leadership of Secondary School Administrators. The Golden Teak : Humanity and Social Science Journal (GTHJ.), 23(1), 38-54.
Thai Health Promotion Foundation. 2008.Thai Health Strategy :2009-2011. [Online]. Available : http://www.thaihealth.or.th/node/6347 [2016, January 20].
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3 th ed.). Newyork : Harper and Row Publication, 272.