การศึกษาในยุค Digital Disruption และผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาไทย
Main Article Content
Abstract
Digital Disruption เป็นการเปลี่ยนแปลงที่นำวิธีการที่มีประสิทธิภาพกว่า มาทำลายรูปแบบที่มีอยู่ดั้งเดิม ซึ่งเป็นผลมาจากเทคโนโลยีดิจิทัลที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการเข้ามาของแหล่งข้อมูลมหาศาลที่สามารถเข้าถึงได้ด้วยการสื่อสารอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก ทำให้โลกเปลี่ยนแปลงในทุกด้านไปอย่างไม่อาจคาดเดาได้ ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน การทำงาน รวมไปถึงการเรียนรู้และระบบการศึกษา โลกที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในระบบ การศึกษาแม้หากไม่มี “ไวรัสโคโรนา 2019” เป็นตัวเร่งการศึกษาของไทยซึ่งจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนอย่างสิ้นเชิง จึงไม่นับเป็นวิกฤตที่กระตุ้นให้วงการศึกษาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งครู ผู้ปกครอง นักเรียน ผู้บริหาร ครู นักวิชาการ และทุกภาคส่วนต้องปรับกระบวนทัศน์ กระบวนการ วิธีการ และวิถีคิดให้อยู่รอดได้เท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสที่จะได้ทบทวนความท้าทาย เพื่อก้าวต่อไปข้างหน้า โดยใช้บทเรียนจากนานาชาติมาปรับประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบทที่แท้จริงของเรา รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาที่ใช้ในสถานการณ์โควิด–19 ในช่วงหลังเปิดภาคเรียน คือ การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน (On-site) ซึ่งเคยใช้รูปแบบนี้เป็นหลัก โดยนำมาผสมกับรูปแบบอื่น ๆ คือ การจัดการเรียนรู้ผ่านโทรทัศน์ (On-air) การจัดการเรียนรู้ผ่านออนไลน์ (Online) การจัดการเรียนรู้โดยเยี่ยมบ้าน (On hand) ลักษณะการจัดการจะแตกต่างกันตามสภาพพื้นที่และความเสี่ยงในการติดเชื้อ และสำหรับการจัดการเรียนรู้ผ่านออนไลน์ มีใช้การใช้แพลตฟอร์มต่าง ๆ
ผลกระทบทางบวกต่อการจัดการเรียนรู้พบว่า สถานศึกษามีการปรับเปลี่ยนแผนและเป้าหมายในการจัดการศึกษา มีการปรับปรุงระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้มีคุณภาพสูงขึ้น มีการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทำให้การจัดการเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้น และมีการใช้วิธีการวัดประเมินผลใหม่ ๆ มากขึ้น ผู้บริหารพัฒนาตนเองให้มีความรู้และทักษะการบริหาร ครูเรียนรู้และพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้น และครูเปลี่ยนวิธีสอน วิธีการวัดประเมินผลให้เหมาะสม นักเรียนมีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น นักเรียนสามารถลดเวลา ความเสี่ยง และค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปโรงเรียน ส่วนผลกระทบทางลบต่อระบบการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาพบว่า เครือข่ายอินเทอร์เน็ตและการสื่อสารไม่เพียงพอและสัญญาณไม่เสถียร สถานศึกษาส่วนมากไม่ได้รับเงินงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัด คุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูลดลง เป็นภาระงานและกระทบต่อเวลาในการจัดการเรียนการสอน ครูมีวิตกกังวลเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ และผลการเรียนของนักเรียนจะตกต่ำลง ครูขาดขวัญกาลังใจในการจัดการเรียนรู้และการปฏิบัติงาน นักเรียนได้รับการฝึกทักษะการปฏิบัติน้อยลงและไม่สามารถทากิจกรรมการเรียนร่วมกับเพื่อน และเสียโอกาสในการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายนอกและการเรียนจากการปฏิบัติจริง และผู้ปกครองต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเตรียมจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ สื่อ เทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
References
Education Council Secretariat Ministry of Education. (2020). Report “Online Learning in the
Covid-19 Era: Crisis or Opportunity for Thai Education”. Bangkok : Bureau of Education Standards and Learning Development, Secretariat of the Education Council. Ministry of Education.
Education Council Secretariat Ministry of Education. (2021). Study report on learning
management model for students in basic education affected by the COVID-19 situation. Bangkok : Bureau of Education Standards and Learning Development, Office of the Education Council Secretariat Ministry of Education.
Frank R.M., Autor, D., Bessen, J.E., Brynjolfsson, E., Cebrian, M., Deming, D.J., Feldman, M.,
Groh, M., Lobo, J., Moro, E., Wang, D., Youn, H. & Rahwan, I. (2019). Toward
understanding the impact of artificial intelligence on labor. [Online]. Available : https://www.pnas.org/content/116/14/6531 [2019, February 18].
Hoff, E. (2003). The specificity of environmental influence: Socioeconomic status affects early
vocabulary development via maternal speech. Child Development, 74, 1368-1378.
Mano, P. (2019). The impact of changes in the digital age of DISRUPTION on education. Journal
of Industrial Education, 18(1), 1-6.
National Scientific Council on the Developing Child. (2010). Early experiences can after gene
expression and affect long term development: Working paper No.10. Center on the Developing Child at Harvard University. [Online]. Available : http://www.developingchild.net [2019, February 18].
Schwab, K. (2016). The fourth industrial revolution. World Economic Forum.
Wisskirchen, G., Biacabe, B.T, Bormann, U., Muntz, A., Niehaus, G., Soler, G.J. & Brauchitsch, B.V.
(2017). Artificial Intelligence and Robotics and Their Impact on the Workplace. IBA Global. [Online]. Available : researchgate.net [2019, February 18].