การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอน รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเรียนรู้คณิตศาสตร์กับเกณฑ์ ศึกษาการเรียนรู้โดยการนำตนเองและความพึงพอใจหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 28 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือวิจัย ได้แก่ บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอน เป็นบทเรียนออนไลน์ที่สร้างจากโปรแกรมสำเร็จรูป KPRU LMS e-Learning แบบวัดความสามารถในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ แบบวัดการเรียนรู้โดยการนำตนเอง และแบบวัดความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) นักศึกษามีความสามารถในการเรียนรู้คณิตศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักศึกษามีการเรียนรู้โดยการนำตนเองโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักศึกษาสามารถจัดสรรเวลาสำหรับการเรียนหรือการทำงานได้เป็นอย่างดี มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ นักศึกษามั่นใจว่าสามารถที่จะเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ได้ด้วยตนเอง และมีความกระตือรือร้นในการศึกษาหาความรู้ ตามลำดับ และ 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดวางข้อความดูสวยงาม น่าอ่าน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ การออกแบบหน้าจอ เมนูง่ายต่อการใช้งาน สีที่ใช้ในบทเรียนมีความเหมาะสม ทำให้อ่านได้ชัดเจน และการออกแบบเมนูหลัก และมองเห็นภาพรวมของเนื้อหาทั้งหมด ตามลำดับ
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
References
Guglielmino, L.M. (1977). Development of the Self-Directed Learning Readiness Scale. Dissertation, Ed.D. University of Georgia. Retrieved October 23, 2008, from UMI Proquest Digital Dissertations.
Janin, P. (2016). The Comparison of Learning Achievement of E-learning Style and Normal Style. The Colden Teak : Humanity and Social Science Journal, 22(1), 21-27.
Nakto, A. & Chindanurak, A. (2012). Development of E-learning lessons on the topic of fundamental mathematics. Bangkok : Rajamagala University Of Technology Krungthep.
Panich, V. (2012). Way to create learning for students in 21st Century. Bangkok : Tathata publication.
Rangpung, T. (2011). E-learning development of Principles of Mathematics. Ubonratchatani : Ubon Ratchatani Rajabhat University.
Siboonnun, T. (2019). The Development of the e-Learning for Accounting 1. The Colden Teak : Humanity and Social Science Journal, 25(3), 68-75.
Thammetar, T. (2014). E-Learning : from theory to practice. Bangkok : Sahamit printing and publishing.
Thongboonrith, K. (2016). The study of learning achievement of students using e-Learning on Science and Technology for Development. The Colden Teak : Science and Technology Journal, 3(2), 41-46.
Waranyanukrai, S. (2014). The Use of Online Learning Management System to Improve Students’ Learning Achievement on Digital Library Development. Journal of Information Science, 32(2), 1-23