การพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะครูตามแนวศาสตร์พระราชาของนักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยประยุกต์ใช้แนวทางการประเมินแบบทฤษฎีเป็นฐาน

Main Article Content

ภัทวรรณ์ ไชยภักดิ์
ปกรณ์ ประจันบาน
นันทิมา นาคาพงศ์ อัศวรักษ์
อนุชา กอนพ่วง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทฤษฎีโปรแกรมสมรรถนะครูตามแนวศาสตร์พระราชา และพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะครูตามแนวศาสตร์พระราชา ของนักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยประยุกต์ใช้แนวทางการประเมินแบบทฤษฎีเป็นฐาน วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1. การสร้างทฤษฎีโปรแกรมสมรรถนะครูตามแนวศาสตร์พระราชา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณบดีคณะครุศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฎ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ เรื่อง การพัฒนาทฤษฎีโปรแกรมสมรรถนะครูตามแนวศาสตร์พระราชาของนักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยราชภัฏ และ 2. การพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะครูตามแนวศาสตร์พระราชา โดยประยุกต์ใช้แนวทางการประเมินแบบทฤษฎีเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาครูชั้นปีสุดท้าย จากมหาวิทยาลัยราชภัฎ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินสมรรถนะครูตามแนวศาสตร์พระราชาของนักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยมีผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบของทฤษฎีโปรแกรมสมรรถนะครูตามแนวศาสตร์พระราชา ของนักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วย โมเดลการกระทำ และโมเดลการเปลี่ยนแปลง สมรรถนะครูตามแนวศาสตร์พระราชา และนำทฤษฎีโปรแกรม สร้างเป็นโมเดลสมการโครงสร้างของสมรรถนะครูตามแนวศาสตร์พระราชา เพื่อใช้ในการประเมิน และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครูตามแนวศาสตร์พระราชา 2.องค์ประกอบของรูปแบบการประเมินสมรรถนะครูตามแนวศาสตร์พระราชา ของนักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ สิ่งที่มุ่งประเมิน ผู้ประเมินและผู้รับการประเมิน ผู้ใช้ผลการประเมิน วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์ การรายงานผล และขั้นตอนการใช้รูปแบบการประเมิน นำรูปแบบการประเมินไปทดลองใช้ พบว่า ตัวแทรกแซง ตัวกำหนด และผลลัพธ์ มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์มาตรฐานทุกด้าน 3. การวิเคราะห์สัมประสทธิ์สหสัมพันธ์ของโมเดลสมการโครงสร้างทฤษฎีโปรแกรมสมรรถนะครูตามแนวศาสตร์พระราชา พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของตัวแปรสังเกตได้ และตัวแปรแฝงในโมเดลสมการโครงสร้างทฤษฎีโปรแกรมสมรรถนะครูตามแนวศาสตร์พระราชา ทุกตัวมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรในโมเดลสมการโครงสร้าง พบว่า สมรรถนะครูตามแนวศาสตร์พระราชาได้รับอิทธิพลทางตรงจากทักษะการจัดการเรียนรู้ ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและผู้ปกครอง และจิตวิญญาณความเป็นครูและจรรยาบรรณวิชาชีพ และได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากการเรียนการสอน และการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Adedokun, O., Childress, A. & Burgess, W. (2011). Testing Conceptual Frameworks of Nonexperimental Program Evaluation Designs Using Structural Equation Modeling. American Journal of Evaluation, 32, 480-493.

Chen, Huey. T. (1990). Theory-driven evaluations. Implementation Science. Routledge, 2022. 159-163.

Chen, Huey. T. (2005). Practical program evaluation: Assessing and improving planning, implementation and effectiveness. SAGE Publication Ltd. Thousand Oaks, California.

Kanchanawasi, S. (2011). Appraisal Theory. Bangkok : Press of Chulalongkorn University. [In Thai]

Kurusapha. (2020). Guidelines for teacher professional competency assessment: Operations and conduct according to professional standards. Bangkok : The teachers council of Thailand. [In Thai]

Mehlaman, N., Leksu, N., Mekdaeng, C. & Jindawat, W. (2020). The use of student activities to develop desirable characteristics wishes of Thai graduates. Academic journal Suvarnabhumi Institute of Technology, 6(2), 559-567. [In Thai]

Morten Balle Hansen and Evert Vedung. (2010). Theory-Based Stakeholder Evaluation. American Journal of Evaluation, 31(3), 295-313.

Piyapong, K. (2012). Development of program theory for evaluating the success of educational reform policy implementation in educational institutions using inductive and deductive methods. Ph.D. thesis Educational Measurement and Evaluation Chulalongkorn University. [In Thai]

Thammasit, P., Sichomphu, C. & Kamonworadet, Y. (2018). A model for developing student-teacher competency. for teaching practice in educational institutions. Journal of Graduate Studies and Social Sciences Uttaradit Rajabhat University, 8(1), 61-72. [In Thai]

Wongwang, A. (2014). The Development of an Activity Assessment Model to Promote Desirable Characteristics of Lower Secondary School Students. According to the concept of thrust theory. Ph.D. thesis Educational Measurement and Evaluation Chulalongkorn University. [In Thai]