ผลการใช้บทเรียนอีเลิร์นนิงแบบปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศดิจิทัลสำหรับนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศดิจิทัล สำหรับนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตที่เรียนผ่านบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 3. เพื่อศึกษาการรู้สารสนเทศดิจิทัลของนิสิตที่เรียนผ่านบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบปฏิสัมพันธ์ 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนิสิตที่เรียนผ่านบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบปฏิสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนอีเลิร์นนิงแบบปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศดิจิทัลที่มีคุณภาพบทเรียนจากการประเมินคุณภาพบทเรียนโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา พบว่าบทเรียนมีคุณภาพอยู่ในระดับดี (x = 4.28, s.d.= 0.40) และผลการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา พบว่า บทเรียนมีคุณภาพอยู่ในระดับดี (x = 4.35, s.d.= 0.46) 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.77 3) แบบวัดการรู้สารสนเทศดิจิทัลที่มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (ค่าดัชนีสอดคล้องระหว่างรายการข้อคำถามกับนิยามเชิงปฏิบัติการด้านการรู้สารสนเทสดิจิทัลอยู่ระหว่าง 0.67-1.00) 4) แบบวัดความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบปฏิสัมพันธ์ (ค่าความเชื่อมั่นความสอดคล้องภายในเท่ากับ 0.78) สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน ร้อยละ และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า (1) บทเรียนอีเลิร์นนิงแบบปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศดิจิทัลมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.44/81.12 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนจากบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศดิจิทัลสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) การรู้สารสนเทศดิจิทัลของนิสิตที่เรียนผ่านบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบปฏิสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริม การรู้สารสนเทศดิจิทัลอยู่ในระดับมาก (4) ความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบปฏิสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศดิจิทัลมีค่าความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
The Effects of Using Interactive e-Learning Courseware to Enhance Digital Literacy for Undergraduate Students of Education Faculty, Thaksin University
ABSTRACT
The study aims were 1. to develop the efficiency of Interactive e-Learning courseware to enhance digital literacy for Undergraduate Students of Education Faculty 2. to compare the achievement before and after learning through Interactive e-Learning 3. to study the digital literacy of students in digital learning via Interactive e-Learning and 4. to study the satisfaction of the students who learn through interactive e-learning courseware. The samples used in this study were undergraduate students of Faculty of Education, Thaksin University. The instruments consisted of 1) Interactive e-Learning courseware to enhance digital literacy evaluated by expert in the field of educational technology has quality at a good level (x = 4.28, s.d.= 0.40) and the lesson content quality at a good level (x = 4.35, s.d.= 0.46). 2) achievement tests with the reliability of 0.77 3) a self assessment checklist- digital literacy (the index of item-objective congruence with the questions and defining operationally were rank in between 0.67 to 1.00). 4) a questionnaire for measuring students" satisfaction with the reliability of 0.78) The statistics in this study were mean, standard deviation, percentage and t-test for dependent sample. The results were as follows; (1) the efficiency of interactive e-Learning to enhance digital literacy for undergraduate students of Education Faculty was 82.44/81.12. (2) the achievement of teaching and learning through interactive e-Learning courseware to enhance digital literacy was statistically significant at the .01 level. (3) the ability of digital literacy of students who study through interactive e-Learning courseware to enhance digital literacy was good. (4) the satisfaction of the students in the class of models of teaching and learning through interactive e-Learning courseware to enhance digital literacy was good.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย