วิธีการวัดในงานวิจัยข้ามวัฒนธรรม :การอนุมานสาเหตุของวิกฤตเศรษฐกิจ

Main Article Content

ผจงจิต อินทสุวรรณ

Abstract

บทคัดย่อ

ผู้วิจัยใช้เหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศไทยตรวจสอบความสัมพันธ์ “ผู้กระทำ – ผู้สังเกต” ในทฤษฎีการอนุมานสาเหตุ โดยมีคนไทยอยู่ในฐานะ “ผู้กระทำ” และคนออสเตรเลียอยู่ในฐานะ “ผู้สังเกต” วิธีการวิจัยข้ามวัฒนธรรมนี้คำนึงถึงความสำคัญของความเทียบเท่ากัน 4 ประการ ในการสร้างเครื่องมือวัดที่ใช้ระหว่างวัฒนธรรม และในกระบวนการสร้างเครื่องมือ อาศัยพื้นฐานจาก Emic – etic concept และการกระจายอิทธิพล โดยคำนึงถึงความเทียบเท่ากันระหว่างวัฒนธรรมด้วยขั้นตอนของการสร้างและการวิเคราะห์เครื่องมือวัดตามหลักการดังกล่าวจะได้นำเสนอเป็นลำดับ

 

ABSTRACT

The Economic crisis in Thailand was used to examine “actor – observer” effect in attribution theory. The Ehai people were regarded as “actor” and the Australian people “observer”. The development of the instrument was based on emic-etic. Approach and decentering while cultural equivalence was the main concern. Step in the questionnaire construction and analysis will be discussed in details.

Article Details

Section
บทความทางวิชาการ (Academic article)