แนวทางการพัฒนาการตลาดการค้าสิ่งประดิษฐ์ไม้ ของผู้ประกอบการค้า ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

Main Article Content

ไพฑูรย์ พรไพบูลย์พงษ์
ภาคภูมิ อินทวงศ์
ศรัณย์ วงศ์คำจันทร์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการตลาดการค้าสิ่งประดิษฐ์ไม้ของผู้ประกอบการค้าตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 2) ศึกษาพฤติกรรมการซื้อสิ่งประดิษฐ์ไม้ของผู้บริโภคในเขตตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และ 3) หาแนวทางการพัฒนาการตลาดการค้าสิ่งประดิษฐ์ไม้ของผู้ประกอบการค้า ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ในการศึกษาแนวทางการพัฒนาการตลาดการค้าสิ่งประดิษฐ์ไม้ของผู้ประกอบการค้าตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ใช้วิธีรวบรวมข้อมูล 3 วิธีคือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม

กรณีใช้แบบสัมภาษณ์ข้อมูลสภาพและปัญหาการตลาดการค้าสิ่งประดิษฐ์ไม้ของผู้ประกอบการค้าตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ประกอบการค้าสิ่งประดิษฐ์ไม้ในตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จำนวน 50 ราย เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง

กรณีใช้แบบสอบถามข้อมูลการศึกษาพฤติกรรมการซื้อสิ่งประดิษฐ์ไม้ของผู้บริโภคในเขตตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ผู้ให้ข้อมูลคือ ลูกค้าซึ่งเข้ามาซื้อสิ่งประดิษฐ์ไม้ในตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ทั้งหมด 100 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบกำหนดคำตอบให้เลือก มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

การหาแนวทางการพัฒนาการตลาดการค้าสิ่งประดิษฐ์ไม้ของผู้ประกอบการค้า ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ การสนทนากลุ่ม

ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้ประกอบการค้าสิ่งประดิษฐ์ไม้ตำบลท่าสายลวด จำนวน 20 ท่าน ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพและปัญหาทางการตลาดของผู้ประกอบการค้าสิ่งประดิษฐ์ไม้ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จากการวิจัยได้ทำการพิจารณาโดยแยกเป็น 4 ด้าน คือ

1.1 ด้านผลิตภัณฑ์ เป็นการจำหน่ายสิ่งประดิษฐ์ไม้นำเข้าจากประเทศเมียนมาร์ ในรูปแบบของเฟอร์นิเจอร์ไม้สักประเภทต่างๆ ปัญหาที่พบคือ สิ่งประดิษฐ์ไม้ที่จำหน่ายอยู่ทุกร้านมีความเหมือนกันทั้งรูปแบบและลวดลาย ความละเอียดของชิ้นงานไม่เทียบเท่าฝีมือคนไทย

1.2 ด้านราคา สิ่งประดิษฐ์ไม้มีราคาที่แตกต่างกันตามแต่ขนาดและประเภทของผลิตภัณฑ์ มีการแข่งขันด้านราคาและการขายตัดราคากันมาก ลูกค้าสินเชื่อมักมีปัญหาการชำระเงินค่าสินค้า

1.3 ด้านการจัดจำหน่าย ทำเลที่ตั้งของร้านค้าส่วนใหญ่อยู่บริเวณเชิงสะพานมิตรภาพไทย-พม่า หมู่ 2 ตำบลท่าสายลวด เป็นการตั้งอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ เน้นการจำหน่ายสินค้าหน้าร้าน ไม่มีการจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางอื่น

1.4 ด้านการส่งเสริมการตลาด ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญกับกิจกรรมทางด้านการส่งเสริมการตลาด เช่น การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ทั้งๆ ที่จัดเป็นเครื่องมือ ที่สำคัญมากทางด้านการตลาด ขาดผู้มีความรู้ความเข้าใจที่จะเข้ามาให้การสนับสนุนดูแล

2. พฤติกรรมการซื้อสิ่งประดิษฐ์ไม้ของผู้บริโภคในตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ด้านการจัดหาสินค้า และด้านการจัดการสินค้าเหลือใช้อยู่ในระดับน้อย ด้านการบริโภคสินค้าอยู่ระดับมาก

3. แนวทางการพัฒนาการตลาดการค้าสิ่งประดิษฐ์ไม้ของผู้ประกอบการค้า ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จากการวิจัยได้ทำการพิจารณาแยกเป็น 4 ด้าน คือ

3.1 ด้านผลิตภัณฑ์ จัดการฝึกอบรมเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ผลิตสิ่งประดิษฐ์ไม้ การจดลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญาให้กับสินค้าที่ตนเองเป็นผู้ผลิต ลงทุนใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้คุณภาพสินค้าตามที่ต้องการ

3.2 ด้านราคา ควรหันมาแข่งขันกันทางด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์มากกว่า การแข่งขันด้านราคา การทำสัญญาซื้อขายกับลูกค้าสินเชื่อให้รัดกุม

3.3 ด้านการจัดจำหน่าย ควรมีการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายและเลือกให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ เพื่อให้การจัดจำหน่ายมีประสิทธิภาพ และเปิดโอกาสให้ลูกค้ารู้จักและสนใจสินค้ามากขึ้นเลือกใช้แต่บริการขนส่งที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์สูง

3.4 ด้านการส่งเสริมการตลาด ส่งเสริมให้มีการประชาสัมพันธ์สินค้าและร้านค้าเป็นอันดับแรก เพื่อจะได้เป็นที่รู้จักของลูกค้า แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์และจุดเด่นของสิ่งประดิษฐ์ไม้ที่ทางร้านวางจำหน่าย ควรมีการรวมกลุ่มกันของผู้ประกอบการค้าสิ่งประดิษฐ์ไม้ เพื่อขอความร่วมมือ และสนับสนุนการส่งเสริมการค้าสิ่งประดิษฐ์ไม้จากภาครัฐบาลอย่างจริงจัง

คำสำคัญ : การพัฒนา, การตลาด, ผู้ประกอบการค้าสิ่งประดิษฐ์ไม้ ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

 

ABSTRACT

The purpose of this study was to 1) study the problem of wood product marketing development of Maesod traders in Thasailuad Sub-District Maesod District Tak Province, 2) study the behavior of buying wood product of the customers in Thasailuad Sub-District Maesod District Tak Province and 3) find the guidelines for wood product marketing development of Maesod traders in Thasailuad Sub-District Maesod District Tak Province.

The data were collected by an interview, a questionnaire and a focused group discussion. In an interview, the data of the problem of wood product marketing development of Maesod traders in Thasailuad Sub-District Maesod District Tak Province was collected from the 50 wood product traders in Thasailuad Sub-District Maesod District Tak Province. The research tools were an structured interview.

In a questionnaire, the data of the problem of wood product marketing development of Maesod traders in Thasailuad Sub-District Maesod District Tak Province were collected from 100 wood product customers in Thasailuad Sub-District Maesod District Tak Province. The research tools was the questionnaires that have fixed the answer, the scale, the average, and the standard deviation.

For the guidelines for wood product marketing development of Maesod traders in Thasailuad Sub-District Maesod District Tak Province, the research tool was a focus group discussion. The data was collected from 20 wood product traders in Thasailuad Sub-District Maesod District Tak Province.

The results of the research found that:

1. The problems of wood product marketing development of Maesod traders in Thasailuad Sub-District Maesod District Tak Province were divided into four points.

1.1 The products: the wood products were imported from Myanmar in the form of the teak furniture, wood products were the same design and style. The quality of wood product was not good as much as Thai wood products.

1.2 The cost : the price of wood product were depend one the size and the kind of the products size and a kind of the product. There was a price competition between the traders. The credit customers usually have a problem of paying.

1.3 The commerce: most of the stores were located near the Thai-Myanmar Friendship Bridge at Moo 2 Thasailuad Sub-District. They were located together in a big group. They only sold products in front of a store. There was not other way to sell the products.

1.4 The marketing: most of the wood traders did not pay attention to the marketing promotion such as an advertisement, a public relation, though these ways were important for marketing and also lacking of expert people to support the marketing.

2. The behavior of buying wood products in Thasailuad sub-district Maesod district, Tak province, when considered in product providing and the management of surplus products were at a low level whereas product’s consumption was at a high level.

3. The guidelines for wood product marketing development of Maesod traders in Thasailuad Sub-District Maesod District Tak Province were divided into four points.

3.1 The products: the wood product traders should be trained to be able to sell more products, the wood products should have a copyright, and there should use new technology in the processing of products to get the good quality.

3.2 The cost: there should be more competed in a quality of the products between the traders than a price competition and the contract of sale to make a customer credit should be more conciseness.

3.3 The commerce: the products should sell in the appropriate ways, the products should be transported by the expert and experienced transportation.

3.4 The marketing: the wood product traders should support public relation in order to make the customers know more about the products, the products should have the prominent point and their own identity, the wood traders should gather into a group to ask for cooperation and supporting about the wood product trading from the government.

KEYWORD : THE DEVELOPMENT, MARKETING, WOOD PRODUCT TRADER TAMBOL THASAILUAD MUNICIPALITY MAESOT DISTRICT TAK PROVINCE

Article Details

Section
-