กลยุทธ์การบริหารจัดการปัจจัยการผลิตอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การบริหารจัดการปัจจัยการผลิตอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยใช้กระบวนการบริหารจัดการโดยยึดวัตถุประสงค์ นำยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับระดับประเทศเป็นเป้าหมายในการบริหารจัดการปัจจัยการผลิตทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1) วัตถุดิบ 2) แรงงาน 3) ทุน 4) เครื่องมือและอุปกรณ์ และ 5) เทคโนโลยี ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จำนวน 17 คน โดยศึกษาความคิดเห็นและแนวคิดโดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi technique) จำนวน 3 รอบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ มัธยฐาน และพิสัยระหว่างควอไทล์
จากผลการวิจัย กลยุทธ์การบริหารจัดการปัจจัยการผลิตอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก สรุปได้ดังนี้
1. ด้านวัตถุดิบ ได้แก่ การดำเนินการให้ศุลกากรปรับพิธีการให้ความสะดวกต่อการนำเข้าอัญมณีและประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับ นำไปปฏิบัติได้ ผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับพัฒนารูปแบบเครื่องประดับให้ทันสมัย กระทรวงพาณิชย์ ประสานงานกับประเทศที่ส่งออกอัญมณีให้สามารถ เข้ามาขายในแม่สอดอย่างสะดวกและสนับสนุนการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไปต่างประเทศ จังหวัดตากประชาสัมพันธ์เอกลักษณ์ของอัญมณีแม่สอดและตลาดพลอยแม่สอดให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว กลุ่มผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับ ขอการสนับสนุนจากภาครัฐให้สามารถไปร่วมประมูล อัญมณีหรือหาแหล่งอัญมณีจากต่างประเทศโดยถูกต้องตามกฎหมาย ภาครัฐสนับสนุนให้จัดตั้ง ศูนย์การส่งเสริมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในอำเภอแม่สอด
2. ด้านแรงงาน ได้แก่ การให้กลุ่มผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับ ร่วมกับสถาบันการศึกษาจัดหลักสูตรฝึกอบรมโดยวิทยากรที่เชียวชาญด้านต่างๆ เกี่ยวกับอัญมณีและเครื่องประดับ อาทิเช่น ด้านการเผาพลอย การเจียระไนพลอย การขึ้นรูปประกอบตัวเรือนและ การออกแบบ กลุ่มผู้ประกอบการอัญมณีฯ ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมประสานงานกับหน่วยงานที่สามารถสนับสนุนเงินทุนเพื่อพัฒนาแรงงานในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ กลุ่มผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดตั้งศูนย์กลางการรับงานเจียระไนพลอย การออกแบบ การขึ้นรูปประกอบตัวเรือน เพื่อกระจายงานและรายได้ให้กับช่างฝีมือในอำเภอแม่สอด
3. ด้านทุน ได้แก่ การดำเนินการให้ธนาคารพาณิชย์ในอำเภอแม่สอดสนับสนุน การกู้เงินเพื่อการผลิตในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ สภาอุตสาหกรรมรับรองผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับ ทำให้มีความน่าเชื่อถือสามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินได้ รัฐบาลและสถาบันการเงินสนับสนุนเงินทุนในการผลิตอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
4. ด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ ได้แก่ การให้กลุ่มผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดตั้งศูนย์กลางการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับเพื่อขึ้นรูปและประกอบตัวเรือนเงินและทองที่มีมาตรฐาน กลุ่มผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับ ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมและจังหวัดตากจัดตั้งศูนย์อัญมณีและเครื่องประดับ เพื่อพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ในการผลิตให้มีคุณภาพและมาตรฐาน
5. ด้านเทคโนโลยี ได้แก่ การประสานงานระหว่างจังหวัดตากกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำเทคโนโลยีออกแบบ การขึ้นรูปประกอบตัวเรือนมาใช้ที่อำเภอแม่สอด ภาครัฐควรสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการผลิตในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในทุกด้าน
คำสำคัญ : กลยุทธ์, การบริหารจัดการ, ปัจจัยการผลิต, อุตสาหกรรมอัญมณีและ เครื่องประดับ, อำเภอแม่สอด, ตาก
ABSTRACT
The aim of this research was to study the management strategy of production factors of the gems and jewelry industry in Maesod district, Tak province. The management by objective (MBO) was used in this study to find out the management strategies of production factors in five areas, namely, 1) materials, 2) labor, 3) fund, 4) equipment and 5) technology. Delphi technique was employed in this study and the data was collected from 17 experts in gems and jewelry industry. The research instruments were interview forms and rating scale questionnaires. The data were analyzed by using frequency distribution, median and interruptible range.
The research findings were as follows:
1. Materials : Customs duty helps facilitate gemstone import and distribute information to the entrepreneurs. The entrepreneurs develop up to date forms of products. The Ministry of Commerce cooperates with the countries that are suppliers of raw materials for Maesod and also supports the export of gems and jewelry. Tak province publicizes the uniqueness of Maesod jewelry and Maesod jewelry market to tourists. The government sectors lawfully support the entrepreneur group to find raw materals from other countries and also establish gem and jewelry center in Maesod.
2. Labor : The entrepreneur group and educational institutes offer training or short courses for people who are interested in jewelry firing, gemstone cutting and forming. The entrepreneur group and Tak industry council cooperate with organizations that offer budget for the developing of labor skills. The entrepreneur group and other public sectors set up gems and jewelry center in Maesod.
3. Fund : The commercial banks in Maesod provide loans for jewelry industry in Maesod. Tak industry council acknowledges the entrepreneurs so that it can credibly get loans from the commercial banks.
4. Equipment and tools : The entrepreneur group and other public sectors set up gem and jewelry center in Maesod in order to produce standard gems and jewelry with gold and silver. The entrepreneur group and other public sectors establish gems and jewelry center for developing equipment and tools.
5. Technology : Tak province cooperates with other public sectors to offer technology in gem and jewelry designing and body forming in Maesod. Public sectors support using technology for production.
KEYWORDS : STRATEGY, MANAGEMENT, PRODUCTION FACTORS, GEM AND JEWELRY INDUSTRY, MEASOD DISTRICT, TAK PROVINCE
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย