รูปแบบการจัดการธุรกิจสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ประเภทอาหารในเขตภาคเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการและปัจจัยด้านศักยภาพในการจัดการ ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (2) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการธุรกิจสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ และ (3) เพื่อประเมินและนำเสนอรูปแบบการจัดการของธุรกิจสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ การศึกษาแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพการจัดการและปัจจัยด้านศักยภาพในการจัดการ ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (in depth-interview) ผู้บริหารของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ 6 คน และตรวจสอบข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน ผู้บริโภค และคนกลางที่รับไปจำหน่าย 541 คน ขั้นที่ 2 การสร้างรูปแบบการจัดการธุรกิจสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ใช้เทคนิคการสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงทรงคุณวุฒิ กลุ่มละ 9 คน 2 กลุ่ม ขั้นที่ 3 การประเมินรูปแบบการจัดการของธุรกิจสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 11 คน ในด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้องครอบคลุม และความเป็นประโยชน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ ผลการศึกษา พบว่า สภาพการจัดการและปัจจัยด้านศักยภาพในการจัดการที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการธุรกิจสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ตามความเห็นของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์เป็นจริงมาก เช่นเดียวกันกับผลความพึงพอใจของผู้บริโภคและคนกลางที่รับไปจำหน่าย ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ความพึงพอใจระดับมาก และผลการประเมินรูปแบบของผู้ทรงคุณวุฒิในภาพรวม มีความความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้องครอบคลุม และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก รูปแบบการจัดการธุรกิจสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่สร้างขึ้นและผ่านการตรวจประเมินแล้ว ประกอบด้วย องค์ประกอบที่เป็นปัจจัยป้อน คือ 1) ภาวะผู้นำ 2) ศักยภาพบุคลากร 3) นวัตกรรมและเทคโนโลยี 4) ชุมชนและการสร้างเครือข่าย 5) การสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน องค์ประกอบที่เป็นกระบวนการถ่ายโยง คือ 1) แผนกลยุทธ์ 2) การจัดการด้านการผลิต 3) การจัดการด้านการตลาด 4) การจัดการด้านการเงินและบัญชี องค์ประกอบที่เป็นผลลัพธ์ คือ 1) ความพึงพอใจของผู้บริโภค 2) ยอดขาย 3) กำไรสุทธิ 4) จำนวนลูกค้า และ 5) จำนวนคนกลางที่รับไปจำหน่าย
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
References
Ubon Ratchathani : Rajabhat Institute Ubon Ratchathani.
Bell, M. & Pavitt, C. (1997). Technological accumulation and industrial growth : Contrast
between developed and developing countries. Industrial and Corporate
Change, 2(2), 157-210.
Boonpituk, S. (2011). Model of Development Early Childhood Teachers Classroom
research Capability. Ph.D. Thesis. Naresuan University.
Chantawongsri, W. (2004). Factots Affecting the Success of Community
Enterprise Group Kantharawichai District Mahasarakham Province. Independent
Study Report Master of Economics. College Khon Kaen University.
Chiarakul, T. (2014). The Problems and the Adaptation of OTOP to AEC. Executive Journal
Huachiew Chalermprakiet University, 34(1), 181-184.
Dangayach, G.S. & Deshmukh, S.G. (2001). Manufacturing strategy, International. Journal of
Operations and Production Management, 21(7), 884-932.
Eisner, E.W. (1998). Educational Connoisseurship. The Enlightened Eye. USA : Prentice Hall.
Frese M. (2000). Success and failure of microbusiness owners in Afraca : A Psychological
Approach. The United States of America : Greenwood Publishing Group, Inc.
Hogeforster, M. (2014). Future challenges for innovations in SMEs in the Baltic Sea Region.
Procedia-Social and Behavioral Sciences, 110, 241-250.
Limskul, K. (2001). The Development of Local Public Participation. “One Tambon
One Product” (One Tambon One Product). [Online]. Available :
http://www.Thaitambon.com/OTOP/project.pdf [2553, December 25].
Office of the Nationan Economic and Social Development Council. (2017). National Economic
and Social Development Plan. No. 12.[Online]. Available : http://www.nesdb.go.th/
service.nso.go.th/nso/nsopublish/servopin/files/OTOPRep54.pdf [2560, October 20].
Pibulsarawut, P. (2006). The Concept of Sufficiency Ecomomy. [Online]. Available :
http://www.sufficiencyeconomy.org [2555, January 15].
Schermerhorn, J.R. (2011). Introduction to Management. New York : John Wiley & Son.
Suh, Y. & Kim, M. (2014). International leading SMEs vs. Internationalized SMEs: Evidence of
success factors from South Korea. International Business Review, 23, 115-129.
Suntawan, T. (2007). The Administrative Model of Ethical Development for
Rajabhat University on Lower Northern Region. Ph.D. Thesis. Naresuan University.
Surasil, S. (2005). Administrative guidelines for One Tambon One Product
According to the view of the producer group was chosen OTOP PRODUCT
CHAMPION. Master of Science on Industrial Business. Graduate School King Mongkut’s
University of Technology North Bangkok.
Wailerdsak, N. (2013). Thai Kitchen to the World Kitchen in ASEAN : Processed food
export business. [Online]. Available : http://www.bangkokbiznews. com/home/detail/
politics/opinion/asean/20130725/518913 [2557, August 14].
Watjanatapin, S. & Rabob, C. (2012). Food Industry quality Development Project and Processed
agricultural products OTOP Nakhom Nayok. Academic Journal, 15(30), 89-105.
Wonganupornkul, P. (2009). Marketing development guidelines of community
enterprise : Case study of community enterprise, Wat Chan Pattana Tambon
Wat Chan Mueang Phitsanulok. Master of Arts Thesis. Pibulsongkram Rajabhat
University.
Wongnaya, N. (2012). The Development Knowledge Management Model of Media
Network for Children and Youth in the Northern Region. Ph.D. Thesis. Silpakorn
University.
Yawirat, N. (2004). Leadership and strategic leaders. Bangkok : Central Express.