การพัฒนาตัวชี้วัดระดับบุคคลในการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา

Main Article Content

โพยม จันทร์น้อย
สมบัติ คชสิทธิ์
ช่อเพชร เบ้าเงิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาระงานของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  2) พัฒนาตัวชี้วัดระดับบุคคลในการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) สร้างเกณฑ์ตัวชี้วัดระดับบุคคลในการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิจัยนี้มีรูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน (Mixed Methodology Research) โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาภาระงานของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยศึกษาเอกสาร ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ นำมาสังเคราะห์เป็นภาระงานของครู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ในปีการศึกษา 2556 จำนวน 384 คน ได้มาโดยคำนวณตามตารางของเครซีและมอร์แกน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ท โดยมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาตัวชี้วัดระดับบุคคลในการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้เทคนิคเดลฟายในการพัฒนาตัวชี้วัดระดับระดับบุคคลในการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 21 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ท โดยมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ขั้นตอนที่ 3


สร้างเกณฑ์ตัวชี้วัดระดับบุคคลในการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจัดประชุมปฏิบัติการของคณะครู จำนวน 50 คน ร่วมกันสร้างเกณฑ์ระดับคุณภาพของแต่ละตัวชี้วัด โดยนำเกณฑ์แต่ละตัวชี้วัดที่คณะครูสร้างขึ้นนำมาเสนอในที่ประชุมเพื่อร่วมกันวิพากษ์เกณฑ์ระดับคุณภาพ และมีการปรับแก้จนเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาระงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 3 องค์ประกอบงานหลัก ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านงานจัดการเรียนการสอน มี 26 ภาระงาน 2) องค์ประกอบด้านงานครูที่ปรึกษา มี 18 ภาระงาน 3) องค์ประกอบด้านงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย มี 17 ภาระงาน 2. การพัฒนาตัวชี้วัดระดับบุคคลในการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า 1) องค์ประกอบด้านงานจัดการเรียนการสอน มี 37 ตัวชี้วัด 2) องค์ประกอบด้านงานครูที่ปรึกษา มี 18 ตัวชี้วัด 3) องค์ประกอบด้านงานอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย มี 11 ตัวชี้วัด 3. การสร้างเกณฑ์ตัวชี้วัดระดับบุคคลในการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าเกณฑ์ระดับคุณภาพกำหนดได้ 3 ระดับดังนี้ ระดับ 3 ระดับคุณภาพร้อยละ 90 ขึ้นไป หมายถึงดีเด่น ผลการประเมินเป็นที่พอใจอย่างยิ่ง ระดับ 2 ระดับคุณภาพร้อยละ 60 – 89 หมายถึง เป็นที่ยอมรับได้ผลการประเมินเป็นที่พอใจตามมาตรฐาน ระดับ 1 ระดับคุณภาพต่ำกว่าร้อยละ 60 หมายถึงต้องปรับปรุงผลการประเมินต่ำกว่ามาตรฐานมาก และยังไม่เป็นที่พอใจ ส่วนการตรวจสอบคุณภาพของเกณฑ์ระดับคุณภาพ พบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) มีค่ามากกว่า 0.5 ทุกเกณฑ์ระดับคุณภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

นริศ จับจิตต์ (2555 ). การพัฒนาตัวชี้วัดการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวคิดดุลยภาพแห่ง
ความสำเร็จ สถาบันราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎี
บัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
พรเทพ รู้แผน. (2546). การพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้น
พื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ค.ด. (การบริหารการศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วันเพ็ญ ผ่องกาย. (2549). การพัฒนาตัวบ่งชี้สำหรับประเมินผลการปฏิบัติงานด้านการประกันคุณภาพ
การศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา)
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วสิษฐ์ พรหมบุตร และ เจริญสิน เลิศมหกิจ. (2533). วิธีสร้างดัชนีชี้วัดระดับบุคคลที่ได้ผลจริง. กรุงเทพฯ:
อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. (2546). การพัฒนาตัวบ่งชี้สถานภาพทางการศึกษาในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ
และจังหวัด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์.. (2554). PERFORMANCE INDICATORS PLs. กรุงเทพฯ: บ้านหนังสือโกสินทร์.
Grieder, C. (1961). Public School Administration. New York : Ronald Press.