การประมาณการค่าสุดโต่งแบบคู่ของราคาหลักทรัพย์กลุ่มธนาคาร ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

ดาราวรรณ คำมา
ชูเกียรติ ชัยบุญศรี
ประเสริฐ ไชยทิพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการประมาณการค่าสุดโต่งแบบคู่ของราคาหลักทรัพย์กลุ่มธนาคารในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพสภาวะของกลุ่มธนาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเพื่อประมาณและวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของราคาหลักทรัพย์กลุ่มธนาคารกับราคาดัชนีหลักทรัพย์โดยใช้วิธีมูลค่าสุดโต่งแบบคู่ (Bivariate Extreme Value) ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  งานวิจัยนี้ใช้โปรแกรม R version 2.15.2  ในการทดสอบทั้งหมด 9 โมเดล ปรากฏผลการวิจัยดังนี้  1. การศึกษาสภาพสภาวะของกลุ่มธนาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่า ในกลุ่มหลักทรัพย์ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) มีมูลค่าการซื้อขายมากที่สุดและรองลงมาเป็นกลุ่มหลักทรัพย์ธนาคารกรุงเทพ (BBL) จากการวิเคราะห์และแนวโน้มของ ทั้งสองธนาคารมีความเหมาะสมที่จะลงทุน และจากการทดสอบความนิ่งของข้อมูลด้วยวิธี Augmented Dickey – Fuller test (ADF-test) พบว่า ข้อมูลดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)  ข้อมูลธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) และข้อมูลธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) ไม่มียูนิทรูท (Unit Root) หรือมีลักษณะนิ่ง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01  2. การประมาณและวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของราคาหลักทรัพย์กลุ่มธนาคารกับราคาดัชนีหลักทรัพย์โดยใช้วิธีมูลค่าสุดโต่งแบบคู่ (Bivariate Extreme Value) ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ปรากฏดังนี้ 2.1) การประมาณการแบบ Bivariate Generalized Extreme Value Distribution (BGEV) ด้วยวิธี Bivariate Block Maxima Method พบว่า โมเดลที่ 6, 7 และ 9 แสดงให้เห็นว่า ราคาหลักทรัพย์ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)  BBL และหลักทรัพย์ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)  (KBANK)  มีความสัมพันธ์ หรือขึ้นอยู่กับ ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) แบบสุดโต่ง 2.2) การประมาณการแบบ Bivariate Generalized Pareto Distribution (BGPD) ด้วยวิธี Bivariate Threshold Exceedances พบว่า โมเดลที่ 7 แสดงให้เห็นว่า ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)  กับราคาหลักทรัพย์ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) มีความสัมพันธ์หรือขึ้นอยู่กับกันอย่างสมบูรณ์ และโมเดลที่ 1แสดงให้เห็นว่า ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)  กับ ราคาหลักทรัพย์ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)  (KBANK) มีความสัมพันธ์หรือขึ้นอยู่กับกันอย่างสมบูรณ์ ดังจะเห็นได้ว่า ค่า r= 0.6006 แสดงว่ามีความสัมพันธ์กันแบบสุดโต่ง สรุปว่าการประมาณและวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของราคาหลักทรัพย์กลุ่มธนาคารกับราคาดัชนีตลาดหลักทรัพย์โดยใช้วิธีมูลค่าสุดโต่งแบบคู่ (Bivariate Extreme Value) สะท้อนให้เห็นว่าถ้าเกิดช่วงที่มีการคาดการณ์ว่าราคาดัชนีหลักทรัพย์มีค่าสูงทำให้ราคาหลักทรัพย์สูงขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นหลักทรัพย์ BBL และ KBANK เป็นหลักทรัพย์ที่นักลงทุนควรลงทุนไว้เพื่อที่จะได้ผลตอบแทนที่สูงในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กันตพร ช่วงชิด. (2555). การประยุกต์เศรษฐมิติแบบสุดโต่งในการวิเคราะห์ราคาพืชพลังงาน. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิยาลัยเชียงใหม่.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2557). [Online]. http://www.set.or.th/th/index.html. [2557,เมษยน 30].
สาธิต พรหมมินทร์. (2555). การวิเคราะห์มูลค่าความเสี่ยงและค่าเฉลี่ยความเสียหายส่วนเกินของผลตอบแทนดัชนีหลักทรัพย์มอร์แกนสแตนลีย์อินเตอร์เนชั่นแนลโดยใช้ทฤษฎีมูลค่า ปลายสุด:ตลาดเกิดใหม่เอเชีย. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Kittiya, C. (2012). Value at Risk Analysis of Gold Price Returns Using Extreme Value Theory. Master of Economics, Chiang Mai University.
Coles, S. G. (2001). An introduction to statistical modeling of extreme values. Springer series in statistics. Gateshead: Athenaeum Press Ltd.
Rakonczai, P. & Tajvidi, N. (2010). On Prediction of Bivariate Extremes, International. International Journal of Intelligent Technologies and Applied Statistics, 3(2), 115-139.