การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวรรณคดีไทยเชิงผลิตภาพ เพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบ และสำนึกทางสังคม

Main Article Content

ชลธิชา ศิริอมรพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวรรณคดีไทยเชิงผลิตภาพเพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบ และความสำนึกทางสังคม และเพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนวรรณคดีไทยเชิงผลิตภาพเพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบ และความสำนึกทางสังคม กลุ่มทดลองที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/5 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนมัธยมฐานบินกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนรายหน่วยแบบออนไลน์ แบบทดสอบวัดความรับผิดชอบ แบบทดสอบวัดความสำนึกทางสังคม แบบประเมินการทำกิจกรรมรายหน่วยของนักเรียน แบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานกลุ่ม แบบประเมินชิ้นงาน/ผลงาน และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวรรณคดีไทยเชิงผลิตภาพ เพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบและสำนึกทางสังคม ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนวรรณคดีไทยเชิงผลิตภาพ เพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบและสำนึกทางสังคม มีองค์ประกอบหลัก 4 ประการ ได้แก่ หลักการ  วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการทำกิจกรรม และการประเมินผลกระบวนการสอนมี 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1. ขั้นการตั้งคำถามกำหนดหัวข้อการเรียนรู้ 2. ขั้นการแสวงหาความรู้ 3. ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4. ขั้นการปฏิบัติ  และการแสดงผลงาน และ 5. ขั้นการติดตามและประเมินผล  ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า รูปแบบการเรียน   การสอนวรรณคดีไทยเชิงผลิตภาพเพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบและความสำนึกทางสังคมที่พัฒนาขึ้นนี้ประกอบด้วยแนวคิด และวิธีสอนต่างๆ และมีจุดมุ่งหมายเฉพาะที่ชัดเจนที่ช่วยให้ผู้สอนสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวรรณคดีไทยเชิงผลิตภาพ เพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบ และความสำนึกทางสังคม พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการใช้รูปแบบของนักเรียนกลุ่มทดลองส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับปานกลางและน้อย เมื่อได้ใช้รูปแบบกับการจัดการเรียนการสอนแล้วพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีระดับความรู้อยู่ในระดับดีถึงดีมาก และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเมื่อเปรียบเทียบในภาพรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) การทดสอบวัดความรับผิดชอบของนักเรียนก่อนและหลังใช้รูปแบบ นักเรียนมีความรับผิดชอบก่อนการใช้รูปแบบอยู่ในระดับพอใช้ เมื่อใช้รูปแบบกับการจัด การเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น  นักเรียนมีความรับผิดชอบอยู่ในระดับดีมาก 3) การทดสอบวัดความสำนึกทางสังคมของนักเรียนก่อนและหลังใช้รูปแบบ นักเรียนมีความสำนึกทางสังคมก่อนการใช้รูปแบบอยู่ในระดับพอใช้ และเมื่อใช้รูปแบบกับการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น นักเรียนมีความสำนึกทางสังคมอยู่ในระดับดี และ 4) ผลการวิเคราะห์การสอบถามพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนวรรณคดีไทยเชิงผลิตภาพ เพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบและสำนึกทางสังคมในภาพรวม นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนที่สร้างขึ้นมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Buranasinwattanakul, K. (2007). The Development of learning Model using PLSEK’s creative thinking process and Sternberg’s triarchies theory of human intelligence to enhance creative narrative writing abilities of undergraduate students. Degree Doctor of Philosophy. Silpakorn University.
Koarathad, S. (2015). Progressive learning 10 Teaching methods to enhance students'
potential in 21st century. Bangkok : Dhurakij Pundit University.
Nuchprayoon, N. (2015, July-December). group with activities: Attribute and Development
guidelines Student responsibility. Pathumthani University Journal, 7(2), 84.
Phonsaen, C. (n.p.). Thailand development with a new Economic Model “Thailand 4.0”. [Online]. Available : http://region3.prd.go.th/prlampang/ showarticle.php?id =170116085033 [2019, July 12].
Phonsima, D. (2016). Matichon online : Thai Teacher 4.0. [Online]. Available :
https://www.matichon.co.th/news/345042 [2019, July 1].
Ratanaphonsab, C. (2008). How important is responsibility. [Online]. Available :
https://www.gotoknow.org/ posts/286032 [2008, May 8].
Sinlarat Behr, P., et al. (2016). Think productivity : Teach and How to create. Bangkok : Chulalongkorn University.