ผลการใช้ชุดการเรียนการสอนขลุ่ยเพียงออ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning และการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ (Devies) เป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน

Main Article Content

พงศพิชญ์ แก้วกุลธร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาผลการใช้ชุดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning และการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ (Devies) เป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน โดยมีจุดประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนการสอน ขลุ่ยเพียงออ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้และทักษะปฏิบัติขลุ่ยเพียงออ ก่อนและหลังการเรียนจากชุดการเรียนรู้การสอนขลุ่ยเพียงออ จากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้และแบบประเมินทักษะปฏิบัติ ขลุ่ยเพียงออ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน จำนวน 402 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน 31 คน นำมาทดลองด้วยชุดการเรียนการสอน ขลุ่ยเพียงออ แบบแผนการวิจัยที่ใช้ คือ One Group Pretest - Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าเฉลี่ย Mean S.D. t – test แบบ Independent ผลการวิจัยพบว่า ชุดการเรียนการสอน ขลุ่ยเพียงออ ที่พัฒนาขึ้นจากการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และรูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ (Devies) เป็นฐาน มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80.55/81.10 และนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนการสอน ขลุ่ยเพียงออ มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Chatiyanon, B. (2016). Effects of learning activities using the instructional model of Davies’practical skill in the home vegetable gardening subject for Mathayomsuksa 1 students of the Demonstration School, Faculty of Education, Silpakorn University. Nakorn Pathom : Silpakorn Demonstration School, Silpakorn University. [In Thai]

Chutpong, C. (2009). The Study of Achievement on Ecotourism in Amphur Kuraburi of third-grade high school through the 4 MAT activities learning package. Master thesis, M.Ed. Education Technology Graduate School, Srinakharinwirot University. [In Thai]

Deretić, S. (2022). Guidelines for Integration of RFCDC in Selected Subjects of National Curricula. Serbia : Ministry of Education.

Kanchanapradit, J. (2011). The study of the development of khluy-peang-or skill through Davies’ instruction model for psychomotor domain and establishing virtue of the attempt in 863382 Thai music skill II. Journal of Fine and Applied Arts, Khon Kaen University, 3(2),93-117. [In Thai]

Karnphakdi, N. (2000). A comparison of Matayomsuksa I students’ higher level thinking abilities and science achievement through hands-on science activities learning packages based on the constructivist model and teacher manual. Master thesis, M.Ed. Secondary Education Graduate School, Srinakharinwirot University. [In Thai]

Kaeowiset, T. (2022, September-December). The development of dctive learning management in teaching Thai language subject using literature based approach for enhancing the 21st century learners abilities for grade 6 students. Social Sciences Research and Academic Journal, 17(3), 67-80. [In Thai]

Khamanee, T. (2015). The science of teaching knowledge for the effective learning process. (19 th ed.). Bangkok : Printing Office of Chulalongkorn University. [In Thai]

Pakdeejit, Y. (2014). Active Learning with the development of student learning in the 21st century. Nakorn sawan : Department of Social studies, Faculty of Education, Nakhon Sawan Rajabhat University. [In Thai]

Panich, V. (2012). The way of learning for students in the 21st Century. Bangkok : Tathata publication company limited. [In Thai]

The Commission of Higher Education Standards. (1995). The benchmark of the field study and the Thai music profession. Bangkok : Prakaypruek Publishing. [In Thai]