มโนทัศน์ของความรักและการเลือกคู่ครองบนพื้นที่สิ่งพิมพ์ในสังคมไทยทศวรรษ 2460 ถึง 2480
Main Article Content
บทคัดย่อ
การขยายตัวของทุนนิยมสิ่งพิมพ์ในช่วงทศวรรษ 2440 ถึง ทศวรรษ 2480 เอื้อให้นักคิดนักเขียนทั้งที่มาจากกลุ่มราชสำนักและกลุ่มราษฎรสามัญเข้ามาสู่บรรณพิภพและแสดงความคิดวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นทางสังคมต่างๆ ซึ่งชี้ให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของวิธีคิดและอุดมคติที่มีต่อ “การเลือกคู่ครอง” อนึ่งวิธีคิดและอุดมคติดังกล่าวเป็นสิ่งที่มีพลวัตและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาควบคู่ไปกับความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงทศวรรษ 2460 จนถึง 2480 เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
บรรยากาศทางสังคมที่เปิดกว้างมากขึ้นทั้งความคิดและพื้นที่ทางสังคมที่เอื้อให้หนุ่มสาวมีโอกาสพบปะและทำความรู้จักกันมากขึ้น อีกทั้งการเข้าปะทะกับ “ความเป็นสมัยใหม่” อย่างตะวันตก เช่น การเข้าสมาคม และประเด็นเกี่ยวกับครอบครัวที่เกี่ยวเนื่องกับวิธีคิดผัวเดียวหลายเมีย ตลอดจนประเพณีการคลุมถุงชนที่ทวีคูณความเข้มข้นของการวิพากษ์วิจารณ์พร้อมกับเสนอรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบใหม่ เช่น การเต้นรำ การชมภาพยนตร์ และการเที่ยวงานประจำปีต่างๆ ความเปลี่ยนแปลงในสังคมในช่วงเวลาดังกล่าวค่อยๆ กัดกร่อนวิธีคิดเกี่ยวกับการแต่งงานที่แยกออกจากอารมณ์ความรู้สึกระหว่างคนสองคน และก่อร่างรูปแบบของวิธีคิดและอุดมคติในการเลือกคู่ครองที่แวดล้อมไปด้วยเงื่อนไขต่างๆ อย่างที่เรียกว่าวิธีรักกันอย่างสมัยใหม่
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้เป็นของผู้เขียน คณะกรรมการวารสาร ภาควิชาประวัติศาสตร์ฯ กองบรรณาธิการ ตลอดจนกรรมการกลั่นกรองประจำฉบับ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องกับข้อคิดเห็นเหล่านั้น
References
กุหลาบ สายประดิษฐ์. ปราบพยส. พระนคร: ผดุงศึกษา, 2510.
กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์. จดหมายจางวางหร่ำ. พระนคร: คลังวิทยา, 2503.
กรมศิลปากร. กฎหมายตราสามดวง. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2521.
ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์. ประวัติศาสตร์ของเพศวิถี: ประวัติศาสตร์เรื่องเพศ/เรื่องเพศในประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง, 2551.
เซี้ยง. กฎหมายผัวเมีย ดำเนินความตามกฎหมายลักษณะผัวเมียและลักษณ์อื่นๆ ในกฎหมายราชบุรี ประกาศ พ.ร.บ.รัชกาลที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 และคำพิพากษาศาลฎีกาศก 117 ถึง 131. พระนคร: โรงพิมพ์พานิชศุภผล, 2456.
ตรีศิลป์ บุญขจร. นวนิยายกับสังคมไทย (2475-2500). โครงการตำรา คณะอักษรศาสตร์. [กรุงเทพฯ]: โครงการตำราคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. ความคิด ความรู้และอำนาจการเมืองในการปฏิวัติสยาม 2475.กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน, 2546.
นิธิ เอียวศรีวงศ์.โขน, คาราบาว, น้ำเน่า และหนังไทย: ว่าด้วยเพลง, ภาษา และนานามหรสพ. กรุงเทพฯ: มติชน, 2538.
ประกาศ วัชราภรณ์. สุภาพบุรุษนักประพันธ์.กรุงเทพฯ: ดับเบิ้ลนายน์, 2543.
ผะอบ โปษะกฤษณะ, นาครทรรพ ฐะปะนีย์ และ พนมยงค์ ธีรยุทธ์, บรรณาธิการ. อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ พันตรีหญิง คุณหญิงผะอบ โปษะกฤษณะ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2537.
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. “โคลนติดล้อ.” ประมวลบทพระราชนิพนธ์ (ภาคปกิณกะ).พระนคร: กรุงเทพการพิมพ์, 2504.
มณี สิริวรสาร. ชีวิตเหมือนฝัน. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์, 2533.
วรรณา สวัสดิ์ศรี และ สวัสดิ์ศรี สุชาติ, บรรณาธิการ. เพื่อนพ้องแห่งวันวาร เรื่องสั้น ‘สุภาพบุรุษ’: นักเขียน นักประพันธ์ นักหนังสือพิมพ์ คณะ ‘สุภาพบุรุษ’ (พ.ศ.2472-2473). กรุงเทพฯ: กองทุนสุภาพบุรุษ, 2553.
ศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา. อัตชีวประวัติหม่อมศรีพรหมา กฤดากร. กรุงเทพฯ: สารคดี, 2550.
อานุภาพไตรภพ, พระยา. การสมาคม. พระนคร: ประมวลสาส์น, 2507.
Andaya, Barbara Watson. Other Pasts: Women, Gender and History in Early Modern Southeast Asia. Honolulu, Hawaii: Center for Southeast Asian Studies, University of Hawai’i at Manoa, 2000.
Barmé, Scot. Woman, Man, Bangkok: Love, Sex, and Popular Culture in Thailand. United State of America: Rowman & Littlefield, 2002.
Goodwin, Robin. Personal Relationships across Cultures. London: Routledge, 1999.
Kern, Stephen. The Culture of Love: Victorians to Moderns. Cambridge, Mass.: Harvard University Press, 1994.
Sumalee, Bumroongsook. Love and Marriage: Mate Selection in Twentieth-Century Central Thailand. Bangkok: Chulalongkorn University Press, 1995.
Weinbaum, Alys Eve. The Modern Girl around the World: Consumption, Modernity, and Globalization. Next Wave Durham: Duke University Press, 2008.
Stephanie Coontz, Marriage. A History: How Love Conquered Marriage. New York: Penguin Books, 2005.
วรชาติ มีชูบท. “เมื่อรัชกาลที่ 6 ทรงถูกเกณฑ์ให้เลือกคู่,” ศิลปวัฒนธรรม 37, ฉ. 1 (2558): 79-97.
สุภาพบุรุษ 1, เล่มที่ 1: 24, 2, เล่มที่ 1: 26-36.