ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” และ การยื่นความเห็นของรัฐที่มิได้เป็นคู่พิพาทในการตีความสนธิสัญญาการลงทุนในเขตการค้าเสรีจีนและอาเซียน

ผู้แต่ง

  • Xinglong Yang China-ASEAN Legal Research Center, Southwest University of Political Science and Law

คำสำคัญ:

ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”, การลงทุนในเขตการค้าเสรีจีนและอาเซียน, การยื่นความเห็นของรัฐที่มิได้เป็นคู่พิพาท, การตีความสนธิสัญญา, วิธีการตีความร่วมกัน

บทคัดย่อ

ตั้งแต่จีนเสนอข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Initiative)ที่เน้นการเชื่อมโยงและความร่วมมือในปี ค.ศ. 2013 ในช่วงห้าปีมานี้การลงทุนในเขตการค้าเสรีจีนและอาเซียน (“CAFTA”) เพิ่มขึ้นอย่างมาก ในปีค.ศ. 2019 จะครบรอบสิบปีของการทำความตกลงด้านการลงทุนระหว่างจีนและอาเซียน (“ความตกลงด้านการลงทุน”) แน่นอนว่าความตกลงด้านการลงทุนในฐานะผลผลิตจากการประนีประนอมระหว่างรัฐภาคี 11 รัฐ ย่อมมีข้อกำหนดที่คลุมเคลืออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทางปฏิบัติที่ผ่านมาสะท้อนว่าในกรณีมีความไม่ชัดเจนหรือช่องว่างในสนธิสัญญาการลงทุน คณะอนุญาโตตุลาการมักจะมีคำชี้ขาดแตกต่างกันออกไป ดังนั้นการจะทำให้คณะอนุญาโตตุลาการตีความบทบัญญัติเหล่านี้อย่างไรให้สอดคล้อง สมเหตุสมผล และไม่ขัดแย้งกันกลายเป็นหน้าที่สำคัญยิ่งสำหรับจีนและอาเซียน เพื่อจะบรรเทาข้อกังวลดังกล่าว วัตถุประสงค์ประการแรกของบทความนี้คือการศึกษาบทบาทที่สำคัญของกลไกการยื่นความเห็นของรัฐที่มิได้เป็นคู่พิพาทในคดีในเรื่องการตีความสนธิสัญญาในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ประการถัดมา เนื่องจากจีนและอาเซียนไม่ได้ระบุกลไกไว้ในความตกลงด้านการลงุทน บทความนี้เสนอให้จีนและอาเซียนเพิ่มความตระหนักในการใช้กลไกที่จะหลีกเลี่ยงการตีความที่ไม่อาจคาดหมายได้ของคณะอนุญาโตตุลาการ นอกจากนี้จากการพิจารณาทางปฏิบัติและกฎหมายในปัจจุบันเรื่องการยื่นความเห็นของรัฐที่มิได้เป็นคู่พิพาทในคดีทั่วทั้งโลก บทความนี้ชี้ให้เห็นว่าจีนและอาเซียนควรพิจารณาปัจจัยหลายประการในการพัฒนาไปสู่การรับกลไกการยื่นความเห็นของรัฐที่มิได้เป็นคู่พิพาทในการลงทุนมาใช้ในเขตการค้าเสรีจีนและอาเซียน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-15