กรอบกฎหมายว่าด้วยการเรียกคืนวัตถุทางวัฒนธรรมจากการลักลอบนำเข้าและส่งออกโดยผิดกฎหมาย

บทวิเคราะห์ตรวจสอบข้อบกพร่องและความคาดหวัง

ผู้แต่ง

  • Peerapon Jaderojananont Thammasat University, Thailand and Macquarie University, NSW, Australia

คำสำคัญ:

การเรียกคืน, วัตถุทางวัฒนธรรม, ทางเลือกสำหรับประเทศต้นกำเนิดวัตถุทางวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

การร้องขอเพื่อเรียกคืนทรัพย์สินทางวัฒนธรรมจากการนำเข้าและส่งออกโดยผิดกฎหมาย มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพึ่งพาความร่วมมือระหว่างประเทศ ระหว่างประเทศต้นกำเนิดวัตถุทางวัฒนธรรมซึ่งมีสถานะเป็นผู้ร้องขอ และประเทศตลาด ซึ่งเป็นประเทศที่ถูกร้องขอ อย่างไรก็ตาม พบว่ากรอบกฎหมายระหว่างประเทศตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการปกป้องคุ้มครองและเรียกคืนทรัพย์สินทางวัฒนธรรมนั้นกลับถูกออกแบบบนพื้นฐานแนวคิดที่มีแนวโน้มเป็นคุณต่อประเทศต้นกำเนิดวัตถุทางวัฒนธรรมเท่านั้น ซึ่งเป็นผลทำให้ประเทศตลาดซึ่งเป็นผู้ครอบครองวัตถุทางวัฒนธรรมที่ถูกลักลอบนำเข้ามา ไม่ต้องการที่จะเข้าร่วมผูกพันอนุสัญญาดังกล่าว อีกทั้ง อนุสัญญาดังกล่าวเอง ก็มีข้อบกพร่องบางประการที่ทำให้ประเทศต้นกำเนิดวัตถุทางวัฒนธรรมเกิดความเสียเปรียบในการเรืยกคืนทรัพย์สินทางวัฒนธรรมภายใต้กรอบที่อนุสัญญากำหนด ด้วยเหตุนี้ บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะตรวจสอบกรอบกฎหมายภายใต้อนุสัญญาดังกล่าว รวมทั้งความเชื่อมโยงกับการดำเนินการของประเทศไทย ว่ามีข้อบกพร่องอย่างไร และมีหนทางใดที่จะช่วยให้ประเทศต้นกำเนิดวัตถุทางวัฒนธรรมรวมถึงประเทศไทยประสบผลสำเร็จในการเรียกคืนวัตถุทางวัฒนธรรมที่ถูกลักลอบส่งออกโดยมิชอบ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-29