การเปิดเผยข้อมูลลับของทางราชการ: การศึกษาแนวคำพิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปในการสร้างสมดุลระหว่างเสรีภาพของสื่อมวลชนและผลประโยชน์ของรัฐ

ผู้แต่ง

  • Lasse Schuldt Thammasat University

คำสำคัญ:

ข้อมูลอันเป็นความลับของทางราชการ, เสรีภาพของสื่อมวลชน, สิทธิมนุษยชน, การสร้างสมดุล, หลักความได้สัดส่วน

บทคัดย่อ

ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปมักจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงการวิเคราะห์หลักทางกฎหมาย
ที่ไม่ชัดเจน โดยเฉพาะกรณีการรักษาสมดุลระหว่างสิทธิกับประโยชน์สาธารณะ บทความนี้
มุ่งชี้ให้เห็นว่า แนวคำพิพากษาศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปมีความสม่ำเสมอ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่ขาดการอธิบายถึงหลักกฎหมายเบื้องหลังคำพิพากษา Janneke Gerards เสนอแนะให้นำ
การประเมินตามหลักความได้สัดส่วนตามรูปแบบดั้งเดิมมาปรับใช้กับการตัดสินคดีของศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป
เพื่อสร้างสมดุลระหว่างสิทธิกับประโยชน์สาธารณะ บทความนี้ได้วิเคราะห์คำพิพากษา
ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปคดีตามข้อ 10 ที่เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิของสื่อมวลชนโดยกฎหมายการห้ามเปิดเผยข้อมูลอันเป็นความลับของทางราชการ ผลปรากฏว่า ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปมักนำหลักความได้สัดส่วนมาปรับใช้เพียงบางองค์ประกอบในลักษณะที่ไม่ได้เป็นระบบ บทความนี้ได้โต้แย้งว่าการให้เหตุผลของศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป อาจทำให้เป็นระบบและมีระเบียบขึ้นได้ผ่านการทดสอบสามขั้นตอน
ตามหลักความได้สัดส่วน อย่างไรก็ดี อาจเป็นการยากที่จะทำให้ขั้นตอนที่สามของการทดสอบ
(หลักความได้สัดส่วนในความหมายอย่างแคบ) กลมกลืนไปกับหลัก margin of appreciation
ซึ่งเป็นหลักที่ใช้อย่างแพร่หลายในศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-20