การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านกับการควบคุมห่วงโซ่อุปทาน
กรณีศึกษาแรงงานเคลื่อนย้ายถิ่นฐานในอุตสาหกรรมก่อสร้างในจังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน, แรงงาน, การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน, ห่วงโซ่อุปทาน, ความรับผิดชอบขององค์กรธุรกิจบทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอแนวทางการส่งเสริมหลักความรับผิดชอบขององค์กรธุรกิจในการเคารพสิทธิมนุษยชน โดยการปรับใช้กลไกการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านกับการควบคุมห่วงโซ่อุปทาน ตามเอกสารหลักการชี้แนะขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน: การปฏิบัติตามกรอบการคุ้มครอง การเคารพ และการเยียวยา (United Nations Guiding Principleson Business and Human Rights: Implementing the Protect, Respect, Remedy Framework– UNGP on Business and Human Rights)โดยวิเคราะห์เชื่อมโยงผ่านกรณีศึกษาแรงงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างในประเทศไทยในท้องที่จังหวัดสงขลา บทความได้นำเสนอว่า การปรับใช้การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านและการควบคุมห่วงโซ่อุปทานในความสัมพันธ์ทางธุรกิจของอุตสาหกรรมก่อสร้างจะช่วยแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของแรงงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เนื่องจากกลไกของการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านจะมีส่วนช่วยทำให้เกิดการตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน และสร้างแนวทางในการร่วมจัดการและแก้ไขปัญหาผ่านความสัมพันธ์ทางธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง
Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ