การพัฒนากฎหมายและมาตรการในการคุ้มครองพยานในคดีค้ามนุษย์

ผู้แต่ง

  • กรรภิรมย์ โกมลารชุน คณะนิติศาสตร์ปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การค้ามนุษย์, TIP Report, การคุ้มครองพยาน, สำนักงานคุ้มครองพยาน

บทคัดย่อ

การค้ามนุษย์เป็นปัญหาสำคัญระดับชาติที่ประชาคมโลกให้ความสนใจและพยายามแก้ไข อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของประชาคมโลก นโยบายในการต่อสู้กับปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทยยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำ และรัฐบาลมิได้แสดงความพยายามอย่างมีนัยสำคัญในการกำจัดปัญหาการค้ามนุษย์ เป็นเหตุให้ในรายงานสถานการณ์ค้ามนุษย์ปี พ.ศ. 2558 ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในระดับต่ำสุดคือระดับ Tier 3 ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 2 ปี และระดับ Tier 2 Watch List ในปี พ.ศ. 2560 และปัจจุบัน อยู่ในระดับ Tier 2 ติดต่อกัน 2 ปีในปี พ.ศ. 2561-2562 มาตรการคุ้มครองพยานเป็นประเด็นสำคัญประการหนึ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นปัญหาใน TIP Report เนื่องจากความผิดฐานค้ามนุษย์เป็นความผิดที่มักกระทำกันเป็นขบวนการหรือทำโดยองค์กรอาชญากรรม พยานบุคคลส่วนใหญ่เป็นผู้เสียหายจึงมีลักษณะอ่อนไหว คดีค้ามนุษย์จึงต้องอาศัยกระบวนการคุ้มครองพยานที่มีประสิทธิภาพ

            จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยยังประสบปัญหาเกี่ยวกับการใช้มาตรการคุ้มครองพยานหลายประการ ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาในแง่โครงสร้างของพระราชบัญญัติคุ้มครองพยาน พ.ศ. 2546
ที่กำหนดให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นองค์กรอัยการ องค์กรศาล หรือสำนักงานคุ้มครองพยาน สามารถใช้มาตรการทั่วไปในการคุ้มครองพยานได้ ทั้ง ๆ ที่มาตรการทั่วไปเป็นเรื่องของ
การรักษาความปลอดภัยทั่วไป ซึ่งเป็นภารกิจหลักของตำรวจ เมื่อกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานอื่น
ใช้มาตรการทั่วไปได้ด้วย จึงก่อให้เกิดปัญหาว่าหน่วยงานอื่นเหล่านั้นขาดความรู้ความสามารถ
ขาดประสบการณ์ และความชำนาญ นอกจากนี้ ปัญหาอีกส่วนหนึ่งยังเกี่ยวข้องกับเงื่อนไขการใช้มาตรการคุ้มครองพยานยังขาดเงื่อนไขที่สำคัญไป ตลอดจนมาตรการที่มีอยู่ยังไม่ครอบคลุมเพียงพอ
ในการสร้างความปลอดภัยให้กับพยาน

References

“การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ ที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร และพิธีสารเพื่อป้องกัน ปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็กเสริมอนุสัญญาฯ.” สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2562. จาก http://www.mfa.go.th/main/th/media-center/14/40175การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญ.html.
“State Model Law on Protection for Victims of Human Trafficking.” retrieved on 23 August 2018. humantrafficking.unc.edu/files/2011/09/StateModelLaw_9.05.pdf.
กองต่อต้านการค้ามนุษย์. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ประจำปี 2561.
กิตติพงษ์ กิตยารักษ์. กระบวนการยุติธรรมบนเส้นทางการเปลี่ยนแปลง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา, 2543.
กิตสุรณ สังขสุวรรณ. “การแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้วยมาตรการ „3P“. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 18 มกราคม-ธันวาคม 2558.
คณิต ณ นคร. สิทธิของข้าพเจ้าในคดีอาญา. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2561.
ณรงค์ ใจหาญ และคณะ. “รายงานสรุปผลการศึกษาวิจัย โครงการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรการพิเศษในการคุ้มครองพยานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 มาตรา 10 (3) ปี 2550.” วารสารนิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
มนิมนา สุทธิพงศ์เกียรติ. “การคุ้มครองพยานในคดีอาญา: ศึกษากรณีบทบาทศาลยุติธรรม.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.
วรรณวิภา เมืองถ้ำ. “การคุ้มครองพยานและผู้เสียหายตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร ค.ศ.2000: การปรับปรุงกฎหมายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองพยานและผู้เสียหายในประเทศไทย.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551.
วีระพงษ์ บุญโญภาส. “แนวคิดการคุ้มครองพยานในคดีอาญาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546.” วารสารกฎหมาย ปีที่ 25 ฉบับพิเศษ, 2549.
ศิระ รัตตานุกูล. “การคุ้มครองพยานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร ค.ศ. 2000 ข้อ 24.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, สาขานิติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2549.
สมยศ เชื้อไทย. หลักกฎหมายมหาชนเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2555.
สาวตรี สุขศรี. “การคุ้มครองความปลอดภัยของพยานบุคคลในคดีอาญา.” วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ปีที่ 31 ฉบับที่ 3, กันยายน 2544.
สำนักงานคุ้มครองพยานในคดีอาญา “ประวัติแนวคิดและความเป็นมา.” สืบค้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2561. จาก http://www.humanrightscenter.go.th/PublishingImages/SitePages/E_Learning_P2/ภารกิจคุ้มครองพยานในคดีอาญา.pdf.
สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, การป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์: วาระแห่งชาติ, มิถุนายน 2558.
สุธินี ธัมวิสุทธิวรากร. “การเปลี่ยนชื่อและย้ายที่อยู่ของพยานในคดีอาญา.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.
สุนทรีรัตน์ ศรีวรขันธ์. “การคุ้มครองพยานในคดีความผิดฐานค้ามนุษย์.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2556.
Asriyani, Arini. “Legal Protection of a Witness Cooperating Offender (Justice Collaborator) In Exposing the Criminal Acts of Corruption,” 23 IOSR Journal of Humanities And Social Science 12.
Beling, Ernst. Deutsches Reichstrafprozessrecht mit Einschluss des Strafgerichtsverfunssungs-recht. Berlin: Walter de Gruyter, 1928.
Beschlussempfehlung und Bericht des Innenausschusses (4. Ausschuss) zu dem Gesetzentwurf des Bundesrates – Drucksachen 14/638, 14/6279 (neu) 27.06.2001.
Caesar, Peter. „Noch stärkerer Schutz für Zeugen und andere nicht beschuldigte Personen im Strafprozess?.“ NJW 1998.
Cochintu, Ionita, et al. “International Cooperation Against Human Trafficking.” retrieve on 17 May 2018. http://www.upm.ro/facultati_departamente/ea/RePEc/curentul_juridic/rcj11/recjurid
112_7F.pdf.
Diemer, Herbert. „Verfahrensrügen im Zusammenhang mit der audiovisuellen Vernehmung nach § 247a StPO,“ NStZ 2001.
Freiberg, Konrad/ Thamm, Berndt Georg. Das Mafia-Syndrom – Organisierte Kriminalität: Geschichte, Verbrechen, Bekämpfung. Hilden: Deutscher Polizeiliteratur, 1992.
Griesbaum, Rainer. Der gefährdete Zeuge, NStZ 1998, 433.
Henkel, Heinrich. Einführung in die Rechtsphilosophie. 2.Aufl. München: C.H.Beck, 1977.
Hilger, Hans. Neues Strafverfahrensrecht durch das OrgKG, NStZ 1992, 457.
International Centre for Criminal Law Reform and Criminal Justice Policy and United Nations Office on Drugs and Crime. Legislative Guide for the Implementation of the United Nations Convention Against Transnational Organized Crime and the protocols thereto: Advance Draft Copy with Unedited Text. Vienna: UNODC, 2000.
Kartusch, Angelina / Thompson, Katy. Trafficking in Persons, Witness Protection and the Legislative Framework of the Republic of Moldova: An Assessment. Organization for Security and Co-operation in Europe Mission to Moldova, 2003.
Kindhäuser, Urs/ Schumann, Kai. Strafprozessrecht. 5. Aufl. Nomos: Baden-Baden, 2019.
Komalarajun, Kanpirom. Die „prozessuale Tat“ nach deutschem Recht und der „angeklagte Akt“ nach thailändischem Recht. Frankfurt a.M.: Peter Lang, 2014.
Kramer, Karen. “Witness Protection as a Key Tool in Addressing Serious and Organized Crime.” , retrieve on 3 May 2018. https://www.unafei.or.jp/publications/pdf/GG4/Fourth_GGSeminar_P3-19.pdf.
Krey, Volker. Zeugenschutz, Rasterfahndung, Lauschangriff, Verdeckte Ermittler, JR 1992, 309, 310.
Lintz, Howard et.al. “A Basic Human Right: Meaningful Access to Legal Representation”, researched paper from The Human Rights Policy Seminar University of North Carolina School of Law.
Renzikowski, Joachim. “Fair Trial und Anonymer Zeuge.” JZ 1999.
Roxin, Claus / Schünemann, Bernd. Strafverfahrensrecht. 29. Aufl. München: C.H.Beck, 2017.
Schmidt, Eberhard. Lehrkommentar zur Strafprozessordnung und zum Gerichtsverfassungs-gesetz, Teil I. Göttingen: Vandenhoeck & Ruprecht, 1964.
Schmidthäuser, Eberhard. „Zur Frage nach dem Ziel des Strafprozesses,“ Eb. Schmidt-FS, 1961, 511.
Siegismund, Christian. Der Schutz gefährdeter Zeugen in der Bundesrepublik unter besonderer Berücksichtigung des Gesetzes zur Harmonisierung des Schutzes gefährdeter Zeugen. Osnabrück, 2009.
Soiné, Michael/ Soukup, Otmar. „Identitätsänderung“. Anfertigung und Verwendung von Tarnpapieren, ZRP 1994, 466.
Trznadel, Chief Inspector. “United States Federal Guidance ON Witness Protection in Human Trafficking.” retrieved on 5 September 2018. http://www.dtic.mil/dtic/tr/fulltext/u2/a623947.
pdf.
United Nations Office on Drugs and Crime, “Anti-human Trafficking Manual for Criminal Justice Practitioners,” Module 12, https://www.unodc.org/documents/human-trafficking/TIP_
module12_Ebook.pdf.
UNITED NATIONS Office on Drugs and Crime. “Good Practices for the Protection of Witnesses in Criminal Proceedings involving Organized Crime.” http://www.unodc.org/documents/
middleeastandnorthafrica/organised-crime/Good_Practices_for_the_Protection_of_Witnesses
_in_Criminal_Proceedings_Involving_Organized_Crime.pdf.
United Nations Office on Drugs and Crime. “Witness Protection during and after the Prosecution and Trial.” https://www.unodc.org/documents/human-trafficking/Toolkit-files/08-58296_
tool_5-18.pdf.
Walter, Tonio. „Vermummte Gesichter, verzerrte Stimmen- audiovisuell verfremdete Aussagen von V-Leuten? Deutsches Recht und EMRK, StrafFo 2004.
Weider, Hans-Joachim/ Staechelin, Gregor „Das Zeugenschutzgesetz und der gesperrte V-Mann“ StV 1999.
Wieder, Hans-Joachim. „Die Videovernehmung von V-Leuten gemäß § 247a StPO unter optischer und akustischer Abschirmung.“ StV 2000.
Wolter, Jürgen. Strafverfahrensrecht und Strafprozessreform, GA 1985, 49.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-14