การหันเหผู้กระทำผิดออกจากระบบกระบวนการยุติธรรมทางอาญา: ศึกษากรณีการหันเหในชั้นก่อนฟ้องในประเทศไทย
คำสำคัญ:
การหันเหผู้กระทำผิดออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญา, มาตรการหันเหคดีในชั้นก่อนฟ้อง, กระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลักบทคัดย่อ
การหันเหผู้กระทำผิดออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เป็นกระบวนการยุติธรรมทางเลือกที่มุ่งแก้ไขปัญหาของการบริหารกระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลัก อาทิ ปัญหาคดีอาญาล้นระบบและนักโทษล้นเรือนจำ ในขณะที่ผู้กระทำผิดก็ได้รับการปฏิบัติด้วยวิธีการที่เหมาะสม สอดคล้องกับความร้ายแรงของการกระทำผิดโดยคำนึงถึงความแตกต่างของผู้กระทำผิดเป็นรายบุคคล อย่างไรก็ตาม มาตรการหันเหคดีในชั้นก่อนฟ้องตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ยังมีข้อจำกัดทางกฎหมายบางประการที่อาจส่งผลให้การหันเหผู้ต้องหาว่ากระทำผิดออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลัก
ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบมาตรการหันเหคดีในชั้นก่อนฟ้องของประเทศไทยกับประเทศอังกฤษเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่อพัฒนามาตรการหันเหคดีในชั้นก่อนฟ้องของประเทศไทยดังต่อไปนี้ กล่าวคือ (1) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 มาตรา 19 ในส่วนของฐานความผิดที่ผู้ต้องหามีสิทธิเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูให้ขยายความรวมถึงกระทำผิดฐานอื่น ๆ สืบเนื่องจากการใช้สารเสพติด (2) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 86 ในส่วนที่เกี่ยวกับประวัติเกี่ยวกับการต้องโทษจำคุกของเด็กและเยาวชนควรกำหนดให้เป็นเพียงเงื่อนไขประกอบการพิจารณาที่จะใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาเท่านั้น มิใช่เงื่อนไขในการตัดสิทธิ (3) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 มาตรา 57 ในส่วนที่เกี่ยวกับบันทึกข้อตกลงระหว่างผู้ต้องหาว่ากระทำผิดและผู้เสียหายกล่าวคือแม้ผู้ต้องหาจะได้ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงครบถ้วนแล้ว พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจสามารถพิจารณากำหนดมาตรการในการแก้ไขหรือป้องกันมิให้ผู้ต้องหาหวนกลับมากระทำผิดซ้ำได้
References
หนังสือ
กิตติพงษ์ กิตยารักษ์. การพัฒนาระบบยุติธรรมชุมชนในสังคมไทย ในยุติธรรมชุมชน: บทบาทการอำนวยความยุติธรรมโดยชุมชนเพื่อชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2550.
จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย สังคมวิทยาอาชญากรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2551.
ชาติ ชัยเดชสุริยะ. มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา. กรุงเทพ: โรงพิมพ์เดือนตุลา, 2548.
นัทธี จิตสว่าง. หลักทัณฑวิทยา: หลักการวิเคราะห์ระบบงานราชทัณฑ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ: มูลนิธิพิบูลสงเคราะห์ กรมราชทัณฑ์, 2545.
ศุภกิจ แย้มประชา. กระบวนการยุติธรรมทางอาญาเปรียบเทียบ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัดเจริญรัตน์การพิมพ์, 2558.
อุทัย อาทิเวช. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: วี.เจ.พริ้นติ้ง, 2562.
_____. ทฤษฎีอาชญาวิทยากับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา. กรุงเทพ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.เจ.พริ้นติ้ง, 2561.
_____. หลักและทฤษฎี: ความผิดอาญาและโทษ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.เจ.พริ้นติ้ง, 2561.
รายงานการศึกษาวิจัย
ณรงค์ ใจหาญ และคณะผู้วิจัย. รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยเรื่อง “กระบวนการสร้างความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในศาลยุติธรรม.”กรุงเทพ: สถาบันวิจัยรพีพัฒนศักดิ์สำนักงานศาลยุติธรรม, 2552.
ศักดิ์ชัย เลิศพาณิชย์พันธุ์. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษากฎหมายยาเสพติดในต่างประเทศ: ศึกษาเฉพาะกรณี ประเทศญี่ปุ่น ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ เยอรมัน โปรตุเกส อังกฤษและสหรัฐอเมริกา.” โครงการกำลังใจในพระดำริพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา, 2558.
สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล และปกป้อง ศรีสนิท. “รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาเพื่อพัฒนาแนวทางการลงโทษ: หลักการลงโทษที่ได้สัดส่วน กรณีคดียาเสพติดให้โทษ.” สำนักกิจการใน พระดำริพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา, 2558.
วิทยานิพนธ์
ณัฐดนัย สุภัทรกุล. “มาตรการทางกฎหมายในการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด: ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายว่าด้วยการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดกับรูปแบบบูรณาการของศาลยาเสพติดในต่างประเทศ.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2549.
บทความทางวิชาการ
ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ. “กฎหมายควบคุมยาเสพติดเปรียบเทียบ.” ใน วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, เล่มที่ 2. ปีที่ 3. จัดทำโดยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. หน้า 153-154. กรุงเทพ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560.
มาตาลักษณ์ เสรเมธากุล. “การคุ้มครองสิทธิเด็กภายใต้หลักประโยชน์สูงสุดของเด็กในกฎหมายไทย.”
ใน วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. เล่มที่ 4. ปีที่ 48. จัดทำโดยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. หน้า 647. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์วิญูชน, 2552.
สิทธิกร ศักดิ์แสงและคณะ. “กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน.” วารสารรัฐสภาสาร. เล่มที่ 5. (2552): 14-15.
เอกสารประกอบการสัมมนา
กิตติพงษ์ กิตยารักษ์. “ความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์: หลักการและแนวคิด.” ในรายงานสัมมนาทางวิชาการเรื่องกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์: ทางเลือกใหม่สำหรับกระบวนการยุติธรรมไทย. จัดโดยกระทรวงยุติธรรมร่วมกับโครงการพัฒนาระบบกฎหมายไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ณ ตึกสันติไมตรีทำเนียบรัฐบาล, 2545.
ดล บุนนาค. “มาตรการลงโทษทางอาญานอกเหนือจากโทษตามประมวลกฎหมายอาญา.” ก้าวผิดคิดพลาดให้โอกาสแก้ตัวใหม่: มาตรการทางเลือกแทนการจำคุก. จัดโดยกรมราชทัณฑ์, 2561.
เอกสารอื่นทางอิเล็กทรอนิกส์ ๆ
ณัฐพล ยิ่งกล้า. “กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545” จาก http://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2561/hi2561-008.pdf, 19 เมษายน 2563.
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และคณะ. “รายงานฉบับสมบูรณ์ เล่มที่ 1 เรื่อง นิติเศรษฐศาสตร์ของระบบยุติธรรมทางอาญาของไทย (โครงการวิเคราะห์กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทางอาญาด้วยเศรษฐศาสตร์ Economic Analysis of Criminal Laws).” จาก https://tdri.or.th/2012/09/s57/, 20 เมษายน 2563.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. “รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปีงบประมาณ 2560." จาก https://www. oncb.go.th/EBookLibrary/รายงานงานยาเสพติดประจำปี 2560.pdf, 12 เมษายน 2563.
สำนักงบประมาณรัฐสภา. “การศึกษา เรื่อง แนวคิดการลดภาระงบประมาณในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา.” จาก https://www. parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parbudget/
ewt_dl_link.php?nid=635, 19 เมษายน 2563.
ปกป้อง ศรีสนิท. “การแก้ปัญหากฎหมายอาญาที่ไม่จำเป็นด้วยการออกกฎหมายอาญาที่ไม่จำเป็น.” จาก https://www.the101.world/legal-reform-with-more-legalization/, 19 เมษายน 2562.
เอกสารอื่น ๆ
สำนักงานกิจการยุติธรรม. “รายงานสถานการณ์อาชญากรรมและกระบวนการยุติธรรม ประจำปี พ.ศ. 2561 (White Paper on Crime and Justice).” จัดทำโดยสำนักงานกิจการยุติธรรม, 2561.
ส่วนมาตรการควบคุมผู้ต้องขัง กรมราชทัณฑ์. “รายงานข้อมูลพื้นที่นอนและความจุผู้ต้องขังเรือนจำ/ทัณฑสถานทั่วประเทศ.” 2563.
กฎหมาย
พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545.
พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553.
พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562.
กฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดลักษณะ ชนิด ประเภทและปริมาณของยาเสพติด พ.ศ. 2546.
BOOKS
Ashworth, Andrew. Sentencing and Criminal Justice. 6th edition. United Kingdom: Cambridge University Press, 2016.
Harding, Christopher and Laurence. Sentencing and the penal system: Text and Material. 2nd edition. London: Sweet and Maxwell, 1995.
Newburn, Tim. Crime and Criminal Justice Policy. 2nd edition. London: Pearson Education, 2003.
LAWS
Crime and Disorder Act 1998.
Criminal Justice Act 2003.
Criminal Justice and Immigration Act 2008.
Drug Act 2005.
Legal Aid, Sentencing and Punishment of Offenders Act 2012.
Police and Criminal Evidence Act 1984.
The Misuse of Drugs Act 1971.
United Nations Standards Minimum Rules for Non-custodial Measures.
ELECTRONIC MEDIA
“ACPO Youth Offender Case Disposal Gravity Factor Matrix, 2013.” https://ealingyot.weebly.com /uploads/4/4/9/7/44977667/gravity_matrix_apr2013.pdf, 6 April 2020.
Home Office. “Code of practice for the detention, treatment and questioning of person by police officers.” https://assets.publishing.service.gov.uk/government/
uploads/system/uploads/attachment_data/file/826813/PACE-Code-C_2019.pdf, 6 April 2020.
Ministry of Justice. “Code of Practice for Youth Conditional Cautions.” https://dera.ioe.ac.uk/15646/2/code-practice-youth-conditional-cautions%5b1%5d.pdf, 6 April 2020.
_____. “Code of Practice for Adult Conditional Cautions Part 3 of the Criminal Justice Act 2003.” https://assets.publishing.service.gov.uk/government/uploads/system/uploads/
attachment_data/file/243436/9780108512162.pdf, 6 April 2020.
_____. “Youth Cautions, Guidance for Police and Youth Offending Teams, 2013.” https://assets.publishing.service.gov.uk/government/uploads/system/uploads/
attachment_data/file/354050/yjb-youth-cautions-police-YOTs.pdf, 6 April 2020.
National Police Chiefs’ Council. “Gravity Matrix (Adult) Two-Tier Framework.” https://www.npcc.police.uk/2019%20FOI/Counter%20Terrorism/061%2019%20Gravity%20Matrix.pdf, 6 April 2020.
The Crown Prosecution Service. “Conditional Cautioning: Adults-DDP’s Guidance.” https://www.cps.gov.uk/legal-guidance/conditional-cautioning-adults-dpp-guidance, 1 April 2020.
United Nation. “Handbook of Basic Principles and Promising Practices on alternatives to imprisonment.” https://www.unodc.org/pdf/criminal_justice/
Handbook_of_Basic_Principles_and_Promising_Practices_on_Alternatives_to_Imprisonment.pdf, 6 April
Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ