ปัญหาการปรับใช้หลักความพอสมควรแก่เหตุกับการจำกัด“เสรีภาพทั่วไป” ที่ได้ รับการรับรองไว้ในมาตรา 25 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

ผู้แต่ง

  • วริษา องสุพันธ์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยโมนาช

คำสำคัญ:

เสรีภาพทั่วไป หลักความพอสมควรแก่เหตุ สิทธิขั้นพื้นฐาน กฎแห่งการชั่งน้ำหนัก ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

บทคัดย่อ

เสรีภาพทั่วไปหรือเสรีภาพที่จะกระทำหรือไม่กระทำการใดตามใจปรารถนาอันเป็นสภาพตามธรรมชาติของมนุษย์นั้นถูกรับรองไว้เป็นครั้งแรกในมาตรา 25 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ทำให้เสรีภาพดังกล่าวกลายเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องของผู้ทรงเสรีภาพต่อรัฐในการที่จะต้องเคารพพรมแดนอิสระของปัจเจกบุคคล อย่างไรก็ตามเสรีภาพทั่วไปที่มีขอบเขตกว้างขวางเช่นนี้จะต้องถูกจำกัดได้เนื่องจากยังมีหลักการและคุณค่าอื่น ๆ ที่รัฐธรรมนูญรับรองอีก ดังนั้นเมื่อเกิดกรณีที่มีการปะทะกันระหว่างการใช้เสรีภาพทั่วไปกับหลักการหรือคุณค่าอื่น ๆ องค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องจะต้องปรับใช้หลักความพอสมควรแก่เหตุในการจำกัดเสรีภาพทั่วไปเพื่อให้หลักการและคุณค่าทั้งหลายที่รัฐธรรมนูญรับรองมีผลบังคับใช้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ตามหลักความเป็นเอกภาพของรัฐธรรมนูญ  ทั้งนี้ ด้วยลักษณะของเสรีภาพทั่วไปที่มีขอบเขตกว้างขวาง ครอบคลุมข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกกำหนดไว้เป็นการเฉพาะเจาะจง จึงถูกวิจารณ์ว่าเป็นเสรีภาพที่ไม่มีเนื้อหา ทำให้เกิดปัญหาว่าจะปรับใช้หลักความพอสมควรแก่เหตุกับการจำกัดเสรีภาพทั่วไปอย่างไร บทความนี้ได้วิเคราะห์สภาพปัญหาในแต่ละขั้นตอนของการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการจำกัดเสรีภาพทั่วไปและแนวทางการแก้ปัญหาจากต่างประเทศซึ่งเน้นการปรับใช้กฎแห่งการชั่งน้ำหนักรวมถึงการนำแนวทางดังกล่าวมาปรับใช้ในบริบทของประเทศไทย เช่น การใช้ข้อความคิดเรื่องเสรีภาพที่มีทั้งรูปแบบและเนื้อหาซึ่งอิงกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มาแก้ไขปัญหาความไม่ชัดเจนของขอบเขตความคุ้มครองเสรีภาพทั่วไป นอกจากนี้ บทความนี้ยังได้ชี้ให้เห็นถึงอุปสรรคในการนำแนวทางจากต่างประเทศที่เป็นรัฐเสรีประชาธิปไตยมาใช้ในบริบทของประเทศไทย

References

เอกสารภาษาไทย
เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. หลักกฎหมายว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2547.
เกษียร เตชะพีระ. “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข: ที่มาและที่ไป.” วารสารฟ้าเดียวกัน, ปีที่ 9,ฉบับที่ 1,หน้า 88-114(2554).
ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล. คำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและพลเมืองค.ศ. 1789. มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2563 จาก https://www.thaivolunteer.org/คำประกาศว่าด้วยสิทธิ.
ณัฐพล ใจจริง. ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ: ความเคลื่อนไหวของขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม (พ.ศ. 2475-2500). นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2556.
ดิเรก สุขสว่าง. “การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายภายใต้หลักความพอสมควรแก่เหตุ.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2554.
ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์. “การปะทะกันแห่งคุณค่าในกฎหมายรัฐธรรมนูญไทย.” วารสารนิติศาสตร์, ปีที่ 48 ฉบับที่ 3, หน้า 439-466 (2562).
________________. ทฤษฎีสิทธิขั้นพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2562.
ทักษ์ เฉลิมเตียรณ.การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ. แปลโดย พรรณี ฉัตรพลรักษ์, ม.ร.ว. ประกายทอง สิริสุขและธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์, 2561.
ธงชัย วินิจจะกูล. ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมือง: ว่าด้วยประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2562.
____________. “นิติรัฐอภิสิทธิ์ ราชนิติธรรม: ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาของ Rule by Law แบบไทย.”เอกสารประกอบการแสดงปาฐกถาพิเศษ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ครั้งที่ 17. วันที่ 9 มีนาคม 2563 ณ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
___________. 6 ตุลา ลืมไม่ได้ จำไม่ลง: รวมบทความว่าด้วย 6 ตุลา 2519. พิมพ์ครั้งที่ 2 นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2563.
บรรเจิด สิงคะเนติ. หลักพื้นฐานสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2562.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. “เงื่อนไขการตรากฎหมายจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน: “มาตร” ในการควบคุมตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย.” วารสารนิติศาสตร์, ปีที่ 30, ฉบับที่ 2, หน้า 184-194 (2543).
_____________. “การใช้การตีความกฎหมายมหาชน.” ใน การใช้การตีความกฎหมาย. งานวิชาการรำลึก
ชาตกาลศาสตราจารย์ จิตติ ติงศภัทิย์. พิมพ์ครั้งที่ 2กรุงเทพฯ: กองทุนศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552, หน้า 315-347.
_____________. คำสอนว่าด้วยรัฐและหลักทั่วไปของกฎหมายมหาชน. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2557.
____________. ด้วยกฎหมายและอุดมการณ์: รวมบทอภิปรายและบทสัมภาษณ์. กรุงเทพฯ: ไชน์พับลิชชิ่ง
เฮ้าส์, 2558.
____________. งานแนะนำหนังสือและบรรยาย “ประวัติศาสตร์ความคิดนิติปรัชญา.” ณ ห้องจี๊ด เศรษฐบุตร
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์, 18 มีนาคม 2561.
____________. ประวัติศาสตร์ข้อความคิดนิติปรัชญา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อ่านกฎหมาย, 2561.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐. (2562) สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2562 จากhttps://www.parliament.go.th/ewtcommittee/ewt/draftconstitution2/download/article/article_20191021103453.pdf.
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. กฎหมายพื้นฐานสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี. แปลโดย คริสเตียน โทมุสชัท และ เดวิด เคอรีย์. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, 2555.
“สรุปสาระสำคัญจากงานเสวนาวิชาการเรื่อง ‘ปัญหาของพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ.2562 กับหลักนิติรัฐ.’” วันที่ 24 สิงหาคม 2562 ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์.
สุรศักดิ์ บุญญานุกูลกิจ. “สิทธิของบุคคลในการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 213 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.” รายงานผลการวิจัยเสนอต่อคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562.
ปูนเทพ ศิรินุพงศ์. ตลก รัฐธรรมนูญ.กรุงเทพฯ: ไชน์ พับลิชชั่ง เฮาส์, 2559.
ปิยบุตร แสงกนกกุล. ศาลรัฐประหาร: ตุลาการ ระบอบเผด็จการ และนิติรัฐประหาร. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน (2550).
_______________. “กฎหมาย กับ อุดมการณ์.” วารสารฟ้าเดียวกัน, ปีที่ 9,ฉบับที่ 1 (2554), หน้า 40-44.
_______________. ราชมัล ลงทัณฑ์ บัลลังก์ ปฏิรูป: บทอภิปรายว่าด้วยรัฐธรรมนูญ สถาบันกษัตริย์ ตุลาการ และกองทัพ. กรุงเทพฯ: ไชน์ พับลิชชิ่ง เฮ้าส์, 2557.
_______________. กฎหมายรัฐธรรมนูญ: การก่อตั้งรัฐธรรมนูญและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560).
_______________. รัฐธรรมนูญ: ประวัติศาสตร์ข้อความคิด อำนาจสถาปนา และการเปลี่ยนผ่าน. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2562.
ประจักษ์ ก้องกีรติ. ประชาธิปไตยในยุคเปลี่ยนผ่าน: รวมบทความว่าด้วยประชาธิปไตย ความรุนแรงและความยุติธรรม. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2558.
สมชาย ปรีชาศิลปะกุล. นี่คือปณิธานที่หาญมุ่ง: ข้อถกเถียงว่าด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์ในองค์กรจัดทำรัฐธรรมนูญของไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2475-2550. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2561.
_________________. เมื่อตุลาการเป็นใหญ่ในแผ่นดิน: รวมบทความว่าด้วยตุลาการภิวัฒน์ ตุลาการพันลึก และตุลาการธิปไตยกรุงเทพฯ: บุ๊คสเคป, 2562.
พุทธทาสภิกขุ. ธัมมิกสังคมนิยมแบบเผด็จการ.พิมพ์แจกเป็นที่ระลึกในงานณาปนกิจศพ นางมณฑา หมื่นนิกร.กรุงเทพฯ, 2518.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). นิติศาสตร์แนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 16 นครปฐม: วัดญาณเวศกวัน, 2557.
__________________________. สิทธิมนุษยชน: สร้างสันติสุขหรือสลายสังคม.กรุงเทพฯ: กระทรวงการต่างประเทศ. จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสครบ 50 ปี ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ, 2541.
ภิญญพันธ์ พจนะลาวัณย์. ไทยปิฎก: ประวัติศาสตร์การเมืองสังคมร่วมสมัยของพุทธศาสนาไทย. กรุงเทพฯ: อิลลูมิเนชันส์ เอดิชันส์, 2562.

เอกสารภาษาต่างประเทศ
Alec Stone Sweet and Jud Mathews.“Proportionality Balancing and Global Constitutionalism.” Columbia Journal of Transnational Law. Vol. 47, No. 1,pp. 68-149(2008).
______________________________. Proportionality Balancing and Constitutional Governance: A Comparative and Global Approach. Oxford: Oxford University Press, 2019.
Dieter Grimm, Constitutionalism: Past Present, and Future. Oxford: Oxford University Press, 2016.
Eugénie Mérieu, “Buddhist Constitutionalism in Thailand: When Rajadhamma Supersedes the Constitution.” Asian Journal of Comparative Law. Vol.13, No. 2,pp.1-23(2018).
Isaiah Berlin. Liberty. Oxford: Oxford University Press, 2002.
Jacon Weinrib. Dimensions of Dignity: The Theory and Practice of Modern Constitutional Law. Cambridge: Cambridge University Press, 2016.
Jill Marshall. Human Rights Law and Personal Identity. London and New York: Routledge, 2014.
Louis Althusser. “Idéologie et Appareils Idéologiques d’État.”La Pensée. No.151, pp. 67-125 (1970).
Louis Favoreu et al. Droit Constitutionnel. 22e édition. Paris: Dalloz, 2020.
Michel Lascombe, Xavier Vandendrisessche, and Christelle de Gaudemont. Code Constitutionnel et des Droits Fondamentaux 2016, commenté. 5e édition. Paris: Dalloz, 2017.
Robert Alexy. A Theory of Constitutional Rights. translated by Julian Rivers. New York: Oxford University Press, 2002.
Xavier Bioy. “Le Libre Développement de la Personnalité en Droit Constitutionnel:Essai de Comparaison (Allemagne, Espagne,France, Italie,Suisse).” Revue Internationale de Droit Comparé. Vol. 55, No.1, pp.123-147 (2003).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-26