ศาลรัฐธรรมนูญกับการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายหลังการประกาศใช้บังคับ
คำสำคัญ:
ศาลรัฐธรรมนูญ, หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ, การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายหลังการประกาศใช้บังคับ, หลักความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐบทคัดย่อ
ในรัฐที่ยึดมั่นหลักนิติรัฐ การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายนับเป็นกลไกสำคัญประการหนึ่งต่อการคุ้มครองหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ สำหรับประเทศไทย แม้จะจัดให้มีระบบการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายหลังการประกาศใช้บังคับมาตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศ แต่ในส่วนการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายในกรณีดังกล่าว โดยเฉพาะการตรวจสอบโดยศาลรัฐธรรมนูญ พบว่ายังมีปัญหาในหลายกรณีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับ “วัตถุแห่งคดีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจตรวจสอบ” “กลไกการเสนอคดีเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบ” “หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบของศาลรัฐธรรมนูญ” และ “ผลการตรวจสอบของศาลรัฐธรรมนูญ” เมื่อการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายหลังการประกาศใช้บังคับเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งในระบบกฎหมายไทย เพราะเป็นกรณีที่มีความเกี่ยวข้องกับหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ หลักความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และหลักการป้องกันการใช้อำนาจตามอำเภอใจขององค์กรต่างๆ ของรัฐ จึงสมควรแก้ไขปรับปรุงแนวคิดในการบัญญัติรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และการใช้การตีความรัฐธรรมนูญ ทั้งโดยศาลรัฐธรรมนูญเองและองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ระบบการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายในกรณีดังกล่าวนี้ มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ