ปัญหาว่าด้วยผลทางกฎหมายของข้อสงวนที่ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของสนธิสัญญา

ผู้แต่ง

  • นพดล เดชสมบูรณ์รัตน์

คำสำคัญ:

สนธิสัญญา, ข้อสงวน, ข้อสงวนที่ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของสนธิสัญญา

บทคัดย่อ

            บทความฉบับนี้มุ่งหมายที่จะศึกษาปัญหาว่าด้วยผลทางกฎหมายของข้อสงวนที่ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของสนธิสัญญาอันถูกกำหนดให้รัฐไม่สามารถกระทำได้ตามข้อ 19(c) ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969 (VCLT) ซึ่งมีปัญหาความไม่ชัดเจนและความไม่แน่นอนของผลทางกฎหมายอันมีสาเหตุมาจากที่ VCLT นั้นหาได้กำหนดผลแห่งกฎหมายในกรณีดังกล่าวไว้แต่อย่างใดไม่

            โดยในการศึกษาปัญหาในเรื่องนี้นั้น จะต้องพิจารณาในสองแง่มุมคือ ผลทางกฎหมายของข้อสงวนที่ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของสนธิสัญญา และผลทางกฎหมายของความยินยอมของรัฐที่เข้าผูกพันตามสนธิสัญญาซึ่งได้มีการตั้งข้อสงวนประกอบการให้ความยินยอมมาด้วย แม้ว่าในส่วนของผลทางกฎหมายของข้อสงวนนั้น มีความชัดเจนว่าข้อสงวนดังกล่าวนั้นย่อมเสียไปและไม่มีผลทางกฎหมาย แต่ยังคงมีประเด็นปัญหาในกรณีของผลทางกฎหมายของความยินยอมของรัฐที่ได้ตั้งข้อสงวนที่เสียไปนั้น ในทางวิชาการนั้นมีข้อเสนอ 3 ประการในการกำหนดผลทางกฎหมายของความยินยอมของรัฐที่ได้ตั้งข้อสงวนอันไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของสนธิสัญญา อันได้แก่ แนวทางในลักษณะการผ่าตัด (Surgical Approach) แนวทางในลักษณะสะท้อนกลับ (Backlash Approach) และแนวทางในลักษณะของสิ่งที่สามารถแยกส่วนออกจากกันได้ (Severability Approach)

            จากการศึกษานั้นพบว่าข้อเสนอทั้งสามไม่สามารถถูกนำมาใช้กำหนดผลของความไม่สอดคล้องของ

ข้อสงวนต่อวัตถุประสงค์และเป้าหมายของสนธิสัญญาที่มีต่อความยินยอมของรัฐผู้ตั้งข้อสงวนได้อย่างเหมาะสม

แต่อย่างไรก็ตามผู้เขียนพบว่าแนวทางในลักษณะผสมผสาน (hybrid model) บนฐานของความจำเป็นของการตั้งข้อสงวนต่อการตัดสินใจเข้าผูกพันตามสนธิสัญญาซึ่งอยู่บนพื้นฐานของทั้งแนวทางในลักษณะสะท้อนกลับและแนวทางในลักษณะของสิ่งที่สามารถแยกส่วนออกจากกันได้เป็นแนวทางที่เหมาะสมในการกำหนดผลทางกฎหมายของความยินยอมเข้าผูกพันตามสนธิสัญญาในกรณีปัญหา และเนื่องด้วยเกณฑ์ความจำเป็นอาจจะสร้างความไม่แน่นอนทางกฎหมาย ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอว่าในการจัดทำสนธิสัญญานั้นควรจะมีการกำหนดข้อสันนิษฐานในลักษณะไม่เด็ดขาดต่อการแยกส่วนได้ของข้อสงวนและความยินยอมของรัฐซึ่งสันนิษฐานในลักษณะไม่เด็ดขาดว่ารัฐมีเจตนาที่ยังคงผูกพันตนตามสนธิสัญญาในกรณีที่ข้อสงวนถูกพิจารณาว่าเสียไปและไม่มีผลทางกฎหมาย แต่อย่างไรนั้นบทความนี้ปฏิเสธข้อเสนอของคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศในเอกสาร Guide to Practice on Reservations to Treaties ที่เสนอว่า ในภายหลังจากที่กระบวนการตั้งข้อสงวนได้ดำเนินไปจนเสร็จสิ้นแล้วนั้น รัฐผู้ตั้งข้อสงวนสามารถแจ้งเจตจำนงในการที่ยังจะดำรงสถานะเป็นรัฐภาคีของสนธิสัญญาแม้ในกรณีที่ข้อสงวนนั้นจะเสียไปและไม่มีผลทางกฎหมายและให้ถือตามเจตจำนงดังกล่าว เนื่องด้วยจะนำไปสู่ปัญหาของความไม่แน่นอนในทางกฎหมาย

 

References

Books, Book Chapters and Journal Articles

Baratta R, ‘Should Invalid Reservations to Human Rights Treaties Be Disregarded?’ (2010) 11 European Journal of International Law 413
Bowett DW, ‘Reservations to Non-Restricted Multilateral Treaties’ (1976) 48 British Year Book of International Law 67
Buffard I and Zemanek K, ‘The “Object and Purpose” of a Treaty: An Enigma?’ (1998) 3 Austrian Review of International and European Law
Cameron lain and Horn F, ‘Reservations to the European Convention on Human Rights: The Belilos Case’ (1990) 33 German Yearbook of International Law German Yearbook of International Law
Coccia M, ‘Reservations to Multilateral Treaties on Human Rights’ (1985) 15 California Western International Law Journal 1
Goldsmith J and Levinson D, ‘Law for States: International Law, Constitutional Law, Public Law’ (2009) 122 Harvard Law Review 1791
Goodman R, ‘Human Rights Treaties, Invalid Reservations, and State Consent’ (2002) 96 The American Journal of International Law 531
Koh JK, ‘Reservations to Multilateral Treaties: How International Legal Doctrine Reflects World Vision’ (1982) 23 Harvard International Law Journal 71
Lijnzaad L, Reservations to UN Human Rights Treaties: Ratify and Ruin? (Martinus Nijhoff Publishers 2012)
MacDonald RStJ, ‘Reservations under the European Convention on Human Rights’ (1988) 21 Revue Belge de Droit International 428
McCall-Smith KL, ‘Severing Reservations’ (2014) 63 International & Comparative Law Quarterly 599
Moloney R, ‘Incompatible Reservations to Human Rights Treaties: Severability and the Problem of State Consent’ (2004) 5 Melbourne Journal of International Law 155
Paul Reuter, Introduction to The Law of Treaties (Jose Mica and Peter Haggenmacher trs, Routledge 2011)
Redgwell C, ‘Universality or Integrity? Some Reflections on Reservations to General Multilateral Treaties’ (1994) 64 British Yearbook of International Law 245
Ruda JM, ‘Reservations to Treaties’, Collected Courses of The Hague Academy of International Law, 1975-III, vol 146 (1977)
Simma B, ‘Reservations to Human Rights Treaties—Some Recent Developments’ in Gerhard Hafner (ed), Liber Amicorum:Professor Ignaz Seidl-Hohenveldern in Honour of His 80th Birthday (Springer)
Walter C, ‘Article 19. Formulation of Reservations’ in Oliver Dörr and Kirsten Schmalenbach (eds), Vienna Convention on the Law of Treaties: A Commentary (2nd edn, Springer 2018)

UN Documents

ILC, the Guide to Practice on Reservations to Treaties, Report of the International Law Commission on the work of its sixty-third session (26 April–3 June and 4 July–12 August 2011) (A/66/10)
ILC, Commentaries on the Guide to Practice on Reservations to Treaties and Commentaries', Document A/66/10/ADD.1

Cases

Reservations to the Convention on Genocide, Advisory Opinion : I.C.J. Reports 1951, p. 15
Case of Certain Norwegian Loans, Judgment of July 6th, 1957 : I.C J. Reports 1957, p.9
Interhandel Case, Judgment of March 21st, 1959 : I.C.J. Reports I959, p.6
European Court of Human Rights, Belilos v. Switzerland, Judgment of 29 April 1988, Series A: Judgments and Decisions, vol. 132
European Court of Human Rights, Weber v. Switzerland (Application No. 11034/84), Judgment Strasbourg 22 May 1990
European Court of Human Rights, Loizidou v. Turkey (Preliminary Objections, Application no. 15318/89), Judgment of 23 March 1995, Series A no. 310
Inter-American Court of Human Rights, Case of Hilaire v. Trinidad and Tobago, Judgment of September 1, 2001 (Preliminary Objections)
Inter-American Court of Human Rights, Benjamin et al. v. Trinidad and Tobago, Judgment of September 1, 2001 (Preliminary Objections)
Inter-American Court of Human Rights, Constantine et al. v. Trinidad and Tobago, Inter-American Court of Human Rights, Judgment of September 1, 2001 (Preliminary Objections)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28