การเพิ่มโทษตัวการ ผู้ใช้ และผู้สนับสนุน ในกรณีผู้กระทำความผิดเป็นผู้ที่มีความอ่อนแอทางร่างกายหรือจิตใจหรืออยู่ในภาวะจำยอม

ผู้แต่ง

  • วิวรรธน์ ดำรงค์กุลนันท์ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

คำสำคัญ:

การเพิ่มโทษ, ตัวการ, ผู้ใช้, ผู้สนับสนุน, ผู้กระทำความผิดซึ่งเป็นผู้ที่มีความอ่อนแอทางร่างกายหรือจิตใจ, ผู้กระทำความผิดซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในภาวะจำยอม

บทคัดย่อ

การเป็นผู้ใช้โดยวิธีการทั่วไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 และผู้ถูกใช้เป็นผู้ที่มีความอ่อนแอทางร่างกายหรือจิตใจ (เป็นบุคคลอายุไม่เกิน 18 ปี ผู้พิการ หรือผู้ทุพพลภาพ) หรือเป็นผู้ที่อยู่ในภาวะจำยอม (เป็นลูกจ้าง ผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชา ผู้ที่มีฐานะยากจน หรือผู้ต้องพึ่งพาเพราะเหตุป่วยเจ็บหรือไม่ว่าในทางใด) ถ้าผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิดนั้น ศาลจะต้องเพิ่มโทษแก่ผู้ใช้โดยวิธีการทั่วไปกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับผู้ใช้โดยวิธีการทั่วไป แต่ถ้าผู้ถูกใช้ไม่ได้กระทำความผิดนั้น ศาลไม่ต้องเพิ่มโทษแก่ผู้ใช้โดยวิธีการทั่วไป นอกจากนี้ การเป็นตัวการตามมาตรา 83 และการเป็นผู้สนับสนุนตามมาตรา 86 แม้ผู้กระทำความผิดจะเป็นผู้ที่มีความอ่อนแอทางร่างกายหรือจิตใจหรืออยู่ในภาวะจำยอม ศาลไม่ต้องเพิ่มโทษแก่ตัวการและผู้สนับสนุน ส่วนการเป็นผู้ใช้โดยการโฆษณาหรือประกาศตามมาตรา 85 หากผู้ใช้โดยการโฆษณาหรือประกาศ “มีเจตนาย่อมเล็งเห็นผล” ว่าผู้กระทำความผิดจะเป็นผู้ที่มีความอ่อนแอทางร่างกายหรือจิตใจหรืออยู่ในภาวะจำยอม ศาลจะต้องเพิ่มโทษแก่ผู้ใช้โดยการโฆษณาหรือประกาศ เนื่องจาก “การโฆษณาหรือประกาศ” แก่บุคคลทั่วไปให้กระทำความผิดตามมาตรา 85 โดยสภาพแล้วก็คือ “การก่อ” ให้ผู้อื่นกระทำความผิดตามมาตรา 84 นั่นเอง

บทความนี้ได้ทำการศึกษาปัญหาด้านเนื้อหาของเหตุเพิ่มโทษ (ประเภทของผู้กระทำความผิดซึ่งเป็นผู้ที่มีความอ่อนแอทางร่างกายหรือจิตใจหรืออยู่ในภาวะจำยอม) และปัญหาด้านการไม่บัญญัติเพิ่มโทษ (การไม่บัญญัติเพิ่มโทษแก่ผู้ใช้โดยวิธีการทั่วไปในกรณีผู้ถูกใช้ไม่ได้กระทำความผิด การไม่บัญญัติเพิ่มโทษแก่ผู้ใช้โดยการโฆษณาหรือประกาศให้ชัดเจน การไม่บัญญัติเพิ่มโทษแก่ตัวการ และการไม่บัญญัติเพิ่มโทษแก่ผู้สนับสนุน) โดยได้ดำเนินการศึกษาในเชิงเอกสาร (documentary research) ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษาพบว่า ปัญหาด้านเนื้อหาของเหตุเพิ่มโทษและปัญหาด้านการไม่บัญญัติเพิ่มโทษนั้นได้ก่อให้เกิดความไม่เหมาะสมและความไม่เป็นธรรมขึ้น บทความนี้จึงได้นำเสนอแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 83 มาตรา 84 มาตรา 85 และมาตรา 86 ให้เกิดความเหมาะสมและเกิดความเป็นธรรม

References

หนังสือภาษาไทย

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน (พิมพ์ครั้งที่ 5, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2562).

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 11, โรงพิมพ์กรุงสยาม พับลิชชิ่ง 2562).

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 เล่ม 2 (พิมพ์ครั้งที่ 11, โรงพิมพ์กรุงสยาม พับลิชชิ่ง 2562).

คณพล จันทน์หอม, หลักพื้นฐานกฎหมายอาญา เล่ม 1 (สำนักพิมพ์วิญญูชน 2563).

คณิต ณ นคร, กฎหมายอาญาภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 4, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2554).

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ และรณกรณ์ บุญมี, คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 22, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2564).

บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักกฎหมายมหาชน หลักนิติธรรม/นิติรัฐ ในฐานะ “เกณฑ์” จำกัดอำนาจรัฐ (พิมพ์ครั้งที่ 2, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2561).

ปกป้อง ศรีสนิท, กฎหมายอาญาชั้นสูง (สำนักพิมพ์วิญญูชน 2559).

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, ‘สิทธิมนุษยชนกับสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ’ ใน รัฐธรรมนูญ 60: 60 ปี สมคิด เลิศไพฑูรย์ รวมบทความทางวิชาการ เนื่องในโอกาสครบ 60 ปี ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ (โรงพิมพ์เดือนตุลา 2562).

วิวรรธน์ ดำรงค์กุลนันท์, คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 2, สำนักพิมพ์นิติธรรม 2563).

หยุด แสงอุทัย, กฎหมายอาญา ภาค 1 (ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ แก้ไขเพิ่มเติม, พิมพ์ครั้งที่ 21, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2556).

อุททิศ แสนโกศิก, กฎหมายอาญา ภาค 1 (ศูนย์บริการเอกสารและวิชาการ กองวิชาการ กรมอัยการ 2525).

หนังสือภาษาต่างประเทศ

Andrew Ashworth and Lucia Zedner, Preventive Justice (Oxford University Press 2014).

Steven D Levitt and Thomas J Miles, ‘Empirical Study of Criminal Punishment’ in A Mitchell Polinsky and Steven Shavell (eds) Handbook of Law and Economics, Volume 1 (Elsevier 2007).

Wayne R LaFave and Austin Wakeman Scott, Criminal Law (2nd edn, West Publishing Company 1986).

บทความภาษาไทย

ดิศรณ์ ลิขิตวิทยาวุฒิ, ‘ความผิดที่เป็นการเริ่มต้น: ศึกษากรณีการรับอาสากระทำความผิด’ (2562) 4 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 654.

รณกรณ์ บุญมี, ‘ไม่มีความผิด โดยไม่มีกฎหมาย: สำรวจการปรับใช้ในกฎหมายระบบกฎหมาย Anglo-American’ (2561) 1 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 1.

บทความภาษาต่างประเทศ

Alfonso Donoso, ‘Justifying Liberal Retributive Justice: Punishment, Criminalization, and Holistic Retributivism’ (2015) 132 Kriterion 495.

Andrew Cornford, ‘Preventive Criminalization’ (2015) 1 New Criminal Law Review 1.

RA Duff and SE Marshall, ‘‘Abstract Endangerment’, Two Harm Principles, and Two Routes to Criminalisation’ (2015) 2 Bergen Journal of Criminal Law and Criminal Justice 132.

Victor Tadros, ‘The Architecture of Criminalization’ (2009) 1 Criminal Justice Ethics 74.

วิทยานิพนธ์

ดาริกา ศรีพงษ์พันธุ์กุล, ‘แนวคิดใหม่ในการลงโทษผู้ใช้ให้เด็กกระทำผิดทางอาญา’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2559).

รณกรณ์ บุญมี, ‘ความผิดที่เป็นการเริ่มต้น: ศึกษาแนวความคิดของกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2551).

งานวิจัย

ปกป้อง จันวิทย์, ‘การวิเคราะห์กฎหมายด้วยหลักเศรษฐศาสตร์: แนวคิดและวรรณกรรมปริทัศน์’ (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 2554).

วิวรรธน์ ดำรงค์กุลนันท์, ‘ขอบเขตของการกระทำชำเรา การกระทำอนาจาร และการคุกคามทางเพศ’ (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 2560).

อื่น ๆ

ศาลรัฐธรรมนูญ, ‘คำวินิจฉัยที่ 4/2559’ <https://www.constitutionalcourt.or.th/occ_web/download/article/file_import/center4_59.pdf> สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564.

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, ‘เอกสารประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ. ... (การบังคับโทษปรับ การรอการกำหนดโทษและรอการลงโทษ และแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับโทษของผู้ใช้และผู้ถูกใช้)’ (บรรจุระเบียบวาระการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 57/2558, 24 กันยายน พ.ศ. 2558, อ.พ. 70/2558).

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, ‘บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาประกอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ. ... (การบังคับโทษปรับ การรอการกำหนดโทษและรอการลงโทษ และแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับโทษของผู้ใช้และผู้ถูกใช้)’ (เรื่องเสร็จที่ 1383/2558).

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, ‘พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554’ <https://www.orst.go.th> สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-29