การฟ้องคดีอาญาโดยไม่สุจริตของราษฎร: ความชอบธรรมในการยกฟ้องและแนวทางการปรับใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161/1

ผู้แต่ง

  • ปิติ โพธิวิจิตร ศาลอุทธรณ์ภาค 1

คำสำคัญ:

การฟ้องคดีอาญาโดยไม่สุจริต, ความชอบธรรม, การตีความ

บทคัดย่อ

มีข้อถกเถียงกันอย่างกว้างขวางว่าบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161/1 วรรคหนึ่ง ที่ให้ศาลพิพากษายกฟ้องคดีที่ราษฎรใช้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องโดยไม่สุจริตแต่เป็นกรณีที่คดีมีมูลมีความชอบธรรมหรือไม่ และวรรคสอง การปฏิเสธไม่รับคดีที่โจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดในคดีก่อนก็อาจเป็นการเลือกปฏิบัติและไม่มีความชอบธรรม เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ การนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษจึงเป็นหน้าที่ของรัฐ รวมถึงถ้อยคำของบทบัญญัติดังกล่าวว่ามีความหมายเช่นใดแน่

จากการศึกษาพบว่า บทบัญญัติวรรคหนึ่งต้องการคุ้มครองกระบวนการยุติธรรมทางอาญามิให้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือของราษฎรคนหนึ่งคนใดเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือจากการนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษซึ่งเป็นวัตถุประสงค์เพียงประการเดียวของการดำเนินคดีอาญาที่เรียกว่าการฟ้องคดีโดยไม่สุจริต เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรการอื่นที่มีอยู่เดิมในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เช่น การยกฟ้องเพราะโจทก์มิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย หรือการยกฟ้องเพราะเหตุที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัด จะเห็นว่ามาตรการยกฟ้องเหล่านี้นำมาใช้ด้วยแม้ในคดีที่จำเลยเป็นผู้กระทำผิดจริง ทั้งการขจัดคดีที่ฟ้องโดยไม่สุจริตยังเป็นการคุ้มครองราษฎรคนอื่นไม่ให้ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาอย่างไม่สมเหตุสมผลด้วย บทบัญญัติวรรคหนึ่งจึงมีความชอบธรรม แต่บทบัญญัติวรรคสองมีลักษณะเป็นการตอบโต้ผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งหรือคำพิพากษาในคดีอื่นซึ่งเป็นเรื่องที่ควรต้องไปว่ากล่าวกันในคดีนั้น ๆ ทั้งการปฏิเสธไม่รับฟ้องคดีทุกประเภท ไม่ว่าคดีเดิมจะมีข้อหาเล็กน้อยเพียงใดน่าจะขัดหลักความได้สัดส่วน ขัดรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติวรรคสองจึงไม่มีความชอบธรรม ควรยกเลิกเสีย

สำหรับการตีความบทบัญญัติ ถ้อยคำตามวรรคหนึ่ง การฟ้องคดีโดยไม่สุจริตหมายถึงการฟ้องคดีที่โจทก์มีความมุ่งหมายอันไม่เหมาะสม กล่าวคือ ไม่ต้องการพิสูจน์ความผิดของจำเลยและให้จำเลยได้รับโทษ ความมุ่งหมายรองที่สืบเนื่องจากการที่จำเลยได้รับโทษ เช่น ความสะใจที่ผู้กระทำผิดต้องได้รับโทษ หรือการเยียวยาความเสียหายตามหลักการแก้แค้นทดแทนไม่ใช่ฟ้องคดีโดยไม่สุจริต รวมถึงวัตถุประสงค์ของการลงโทษข้ออื่น ได้แก่ เพื่อข่มขู่ไม่ให้จำเลยกระทำผิดอีก เพื่อตัดโอกาสการกระทำผิดของจำเลย หรือเพื่อให้จำเลยได้รับการแก้ไขฟื้นฟู ไม่ใช่ฟ้องโดยไม่สุจริตเช่นกัน ทั้งนี้ ในกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตและในขณะเดียวกันจำเลยไม่ได้กระทำผิดด้วย ศาลต้องพิพากษายกฟ้องในเนื้อหาแห่งคดีเพื่อให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4)

Author Biography

ปิติ โพธิวิจิตร, ศาลอุทธรณ์ภาค 1

ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1

References

คณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, บันทึกการประชุม ครั้งที่ 2-4, วันที่ 9, 13 และ 15 พฤศจิกายน 2561 ตามลำดับ.

จตุรงค์ เพิ่มรุ่งเรือง, ‘ปัญหาของจำเลยในชั้นไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญา’ (การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8, มปป).

ณรงค์ ใจหาญ, หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 14, บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด 2565).

ดวงธมล คำวิโส, ‘การไกล่เกลี่ยคดีอาญาความผิดต่อแผ่นดินในชั้นศาล: ศึกษาเฉพาะกรณีที่มีผู้เสียหาย’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 2556).

ธานิศ เกศวพิทักษ์, คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 3-4 (เล่ม 2, พิมพ์ครั้งที่ 15, บริษัทกรุงสยาม พับลิชชิ่ง จำกัด 2564).

ธานี สิงหนาท, คำอธิบายกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 3 วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น ภาค 4 อุทธรณ์และฎีกา : แก้ไขเพิ่มเติมตาม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 33 และ 34) พ.ศ. 2562 (บริษัท กรุงสยาม พับลิชชิ่ง จำกัด 2563).

ปิติ โพธิวิจิตร, ‘อิทธิพลของกฎหมายต่างประเทศต่อพัฒนาการของระบบการฟ้องคดีอาญาโดยผู้เสียหายของประเทศไทย’ (2563) 4 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 703.

วิจิตรา เลิศหิรัญกิจ, ‘ความผิดฐานเฝ้าติดตามและข่มขู่’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2550).

สหรัฐ กิติ ศุภการ, หลักและคำพิพากษา : กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (พิมพ์ครั้งที่ 13, บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน 2565).

สุรัชดา รีคี, เอควิตี้ : หลักแห่งความยุติธรรมในกฎหมายอังกฤษ (พิมพ์ครั้งที่ 2, บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด 2565).

‘Equity Jurisdiction to Enjoin Criminal Proceedings’ (1915) 24 The Yale Law Journal 327.

“A Digest of the Reported Cases Published during the Year 1863.” (9 Jurist, 1864) 147.

§ 16:241. Elements of malicious prosecution—Malice or improper purpose, 14D Mass. Prac., Summary of Basic Law § 16:241 (5th ed.).

C.J.S. Malicious Prosecution § 55.

Andrew LT Choo, Abuse of Process and Judicial Stays of Criminal Proceedings (Oxford University Press 2008).

Brian A Grossman, ‘Prosecuting Practices And The Administration of Criminal Justice in Canada’ (LL.M. Thesis, McGill University 1967).

Chuks Okpaluba, ‘Reasonable and Probable Cause in the Law of Malicious Prosecution: A Review of South Africa and Commonwealth Decisions’ (2013) 16 Potchefstroom Elec LJ 240.

David S Garland, et al. Editors. ‘Malicious Prosecution’ American and English Encyclopaedia of Law (Edward Thompson Co., no publication date).

Felix Golser, ‘The Concept of a Special Criminal Law as a Weapon Against “Enemies” of the Society’ (2016) 67 Studia Iuridica 65.

Francis M Burdick, The Law of Torts: A Concise Treatise on the Civil Liability at Common Law and Under Modern Statutes for Actionable Wrongs to Person and Property (Beard Books 1905).

George L Blum 1 Am Jur 2d Abuse of Process.

Günther Jakobs, ‘Kriminalisierung im Vorfeld einer Rechtsgutsverletzung’ (1985) 97 Zeitschrift für die gesamte Strafrechtswissenschaft 751.

Günther Jakobs, 'Bürgerstrafrecht und Feindstrafrecht' (2004) 3 Höchstrichterliche Rechtsprechung zum Strafrecht.

Herbert Stephen, The Law Relating to Actions for Malicious Prosecution (Blackstone Publishing Company 1889).

JF Clerk and others, Clerk & Lindsell on torts (Sweet & Maxwell 2000).

John G Fleming, The Law of Torts (8th edn, Law Book 1992) 620.

John Murphy, ‘Malice as an Ingredient of Tort Liability’ (2019) 78 The Cambridge Law Journal 355.

John Salmond, Salmond on jurisprudence (Sweet & Maxwell 1966).

Marc Franklin, Gilbert Law Summaries Torts (Harcourt Brace Legal & Professional 2017).

Neil Gold, ‘Abuse of Process : A Procedure Perspective’ (LL.M. Thesis York University 1975).

Restatement (Second) of Torts (1977).

Rosemary Pattenden, ‘Abuse of Process in Criminal Litigation’ (1989) 53 J CRIM L 341.

Stephen Lawrence, ‘Abuse of Judicial Process in Criminal Proceedings’ (Law Society of Fiji Conference 2015).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27