การตีความตามกฎหมายพิกัดอัตราศุลกากรของประเทศไทย: การจำแนกพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ในการนำเข้าสินค้าตามหลักเกณฑ์ข้อ 2 (ก)
คำสำคัญ:
การจำแนกพิกัดศุลกากร, หลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร, พิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์บทคัดย่อ
การจำแนกพิกัดศุลกากรถือเป็นหัวใจสำคัญของการจัดเก็บอากร เนื่องจากประเภทพิกัดศุลกากรทำให้ทราบถึงอัตราอากร โดยมีพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 เป็นกฎหมายที่กำหนดอัตราอากรโดยจำแนกตามพิกัดศุลกากรของของแต่ละประเภท และกำหนดหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรเอาไว้โดยเฉพาะตามระบบฮาร์โมไนซ์ (Harmonized System: HS) ขององค์การศุลกากรโลก ซึ่งประเทศไทยมีพันธกรณีที่ต้องอนุวัติการระบบดังกล่าวในฐานะที่เข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยระบบฮาร์โมไนซ์เพื่อการจำแนกประเภทและการกำหนดรหัสสินค้า (The International Convention on the Harmonized Commodity Description and Coding System: HS Convention) อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยพบว่าประเทศไทยยังคงมีปัญหาในด้านการตีความและการปรับใช้หลักเกณฑ์การตีความข้อ 2 (ก) ในการจำแนกพิกัดศุลกากรในทางปฏิบัติอยู่สามประการ กล่าวคือ (1) ปัญหาลำดับการใช้หลักเกณฑ์การตีความเพื่อจำแนกพิกัดศุลกากร ซึ่งประเทศไทยไม่มีแนวทางที่เป็นบรรทัดฐานแน่นอนในการปรับใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าว (2) ปัญหาการตีความลักษณะอันเป็น “สาระสำคัญของของที่ครบสมบูรณ์หรือสำเร็จแล้ว” ตามหลักเกณฑ์ข้อ 2 (ก) ที่ขาดคำนิยามและคำอธิบายที่ชัดเจน ทำให้เกิดความขัดแย้งในการตีความระหว่างหน่วยงานจัดเก็บและผู้เสียภาษี และ (3) การไม่มีหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติที่เป็นบรรทัดฐานของศาลไทยในการรับฟังคำวินิจฉัยของคณะกรรมการระบบฮาร์โมไนซ์หรือความเห็นขององค์การศุลกากรโลกเพื่อใช้อ้างอิงประกอบการตีความในการจำแนกพิกัดศุลกากร งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ประเด็นปัญหาข้างต้น เพื่อนำไปสู่การนำเสนอข้อเสนอแนะในการพัฒนาและแก้ไขปรับปรุงการปรับใช้กฎหมาย รวมถึงกำหนดแนวทางปฏิบัติในการบริหารจัดเก็บภาษีของกรมศุลกากร เพื่อให้มีความชัดเจน แน่นอน โปร่งใส และมีมาตรฐาน สอดคล้องตามหลักการจัดเก็บภาษีอากรที่ดีและแนวทางปฏิบัติสากล
References
ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม, คำสอนวิชากฎหมายภาษีอากร (พิมพ์ครั้งที่ 12, สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา 2561).
ธานินทร์ กรัยวิเชียร และวิชา มหาคุณ, การตีความกฎหมาย (พิมพ์ครั้งที่ 3 สำนักพิมพ์ ชวนพิมพ์ 2523).
The International Convention on the Harmonized Commodity Description and Coding System.
U.S. Customs and Border Protection, ‘What Every Member of the Trade Community Should Know About: Tariff Classification’ (May 2004).
The International Convention on the Harmonized Commodity Description and Coding System (HS Convention).
‘WCO recommendations related to the Harmonized System Convention’ (World Customs Organization) <http://www.wcoomd.org/-/media/wco/public/global/pdf/about-us/legal-instruments/recommendations/hs/recommendationshsgeneral_en.pdf?la=e.> accessed 22 December 2022.
สรญา ตั้งจิตวิริยานนท์, ‘เอกสารประกอบการบรรยายของสำนักงานส่งเสริมการลงทุน เรื่อง พิกัดอัตราศุลกากร’ <https://www.boi.go.th/upload/content/02.%20พิกัดอัตราศุลกากร%20TH-CN_59358.pdf> สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2565.
U.S. Customs and Border Protection, What Every Member of the Trade Community Should Know About: Vehicles, Parts and Accessories Under the HTSUS (2009). In general, articles are “parts” if they cannot be used on their own but must be combined with other articles to form goods capable of fulfilling an intended function; “accessories” are articles that are not needed to enable the goods with which they are used to fulfill their intended function.
Artur Nowak-Far, “Linking Signifie´ with Signifiant: The Court of Justice of European Union as a Product-Defining Authority” International Journal Semiot Law p. 685 (July 2017).
Skidmore and Swift & Co., 323 U.S. 134 (1944).
United States v. Mead, 533 U.S. 218 (2001).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
Copyright (c) 2023 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ