ปัญหาการบังคับใช้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 : ศึกษากรณีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเด็ก

ผู้แต่ง

  • ฉัตรฑริกา นภาธนาพงศ์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
  • อัชราภรณ์ อริยสุนทร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

คำสำคัญ:

เด็ก, ข้อมูลส่วนบุคคลเด็ก, การบังคับใช้กฎหมาย, แนวปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

บทคัดย่อ

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 นับเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญต่อการป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลและส่งผลให้สังคมได้ตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการรักษาข้อมูลส่วนบุคคล อีกทั้งทุกภาคส่วนของประเทศทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต่างมีบทบาทในการผลักดันให้กฎหมายนั้นสามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ “เด็ก” ซึ่งเป็นบุคคลที่มีฐานะเป็นประธานแห่งสิทธิ แต่ยังคงเป็นบุคคลที่ยังไม่มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจที่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดสินใจในการทำนิติกรรมใดๆ ในการดำเนินใช้ชีวิตประจำวันที่จะต้องมีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิทธิในทางทรัพย์สินหรือสิทธิด้านต่างๆ ของตน บทความนี้จะเป็นการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศจำนวน ได้แก่ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และประเทศไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กโดยเฉพาะ รวมทั้งกำหนดขอบเขตของการขอความยินยอมที่ขยายไปถึงผู้ใช้อำนาจปกครองที่มิใช่เพียงบิดาหรือมารดา ทั้งนี้การศึกษาดังกล่าวจะนำมาสู่การวิเคราะห์ความจำเป็นในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเด็ก ขอบเขตการขอความยินยอมในการดำเนินกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล และแนวทางการจัดทำแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กภายใต้กฏหมายฉบับดังกล่าว เพื่อจัดทำข้อเสนอทั้งในมิติของกฎหมายและเชิงนโยบายมาเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายต่อไป

References

ภาษาไทย

กัณฑิมา ช่างทำ และคณาธิป ทองรวีวงศ์, ‘การคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของเด็กในกรณีเครือข่ายสังคมอินสตาแกรม: ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยกับกฎหมายสหรัฐอเมริกา’ (2561) 21 วารสารเซนต์จอห์น 230.

กิตติศักดิ์ ปรกติ, หลักกฎหมายบุคคล (พิมพ์ครั้งที่ 12, วิญญูชน 2562).

จิ๊ด เศรษฐบุตร, หลักกฎหมายแพ่งลักษณะนิติกรรมและสัญญา (ดาราพร ถิระวัฒน์ ผู้แก้ไขเพิ่มเติม, พิมพ์ครั้งที่ 7, โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2556).

ฉัตร คำแสง, วรดร เลิศรัตน์ และ เจณิตตา จันทวงษา, เด็กและครอบครัวไทยในสามวิกฤต : รายงานสถานการณ์เด็กและครอบครัวประจำปี 2022 (ศูนย์ความรู้นโยบายเด็กและครอบครัว 2022) <https://101pub.org/wp-content/uploads/2022/09/01_-%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%9B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99-1.pdf> สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2566.

ดลญา แสงดาว, 'ความสามารถในการให้ความยินยอมของผู้เยาว์ในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล' (2566) <https://www.law.chula.ac.th/wp-content/uploads/2023/01/บทความวิจัย-เรื่อง-ความสามารถในการให้ความ.pdf> สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2566.

มนมาศ สุมโนทยาน, 'นิติกรรมที่สมแก่ฐานานุรูปแห่งตนแห่งตนและจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควรของผู้เยาว์' (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2559).

มาตาลักษณ์ เสรเมธากุล, 'การคุ้มครองสิทธิเด็กภายใต้หลักประโยชน์สูงสุดของเด็กในกฎหมายไทย' (2562) 48(4) วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 621.

รินทร์ลภัส ขาวสิทธิวงษ์, ‘การคุ้มครองเด็กภายใต้หลักประโยชน์สูงสุดของเด็ก : ศึกษากรณีการแยกเด็กออกจากครอบครัว’ (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2559).

ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายเอกชนโรมัน (พิมพ์ครั้งที่ 1, วิญญูชน 2559).

สมลักษณ์ ขนอม, ‘การคุ้มครองเด็กในประเทศไทย: ศึกษาเฉพาะกรณีเด็กถูกทารุณในครอบครัว’ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2537).

สำนักคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี, รายงานการดำเนินงานของประเทศไทยตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (ฉบับที่1) เสนอต่อคณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ (โรงพิมพ์การศาสนา 2541).

สำนักงานสถิติแห่งชาติ, ‘การสำรวจการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน ปี พ.ศ. 2563’ <http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99ICT/%E0%B9%80%E0% %99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99/2563/Pocketbook63.pdf> สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2566.

เสนีย์ ปราโมช, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและหนี้ เล่ม 1 (ภาค 1 – 2) (มุนินทร์ พงศาปาน ผู้แก้ไขเพิ่มเติม, พิมพ์ครั้งที่ 4, วิญญูชน 2562).

ภาษาต่างประเทศ

Cynthia O’Donoghue, Nadia Avraham, ‘Dutch Court Holds That a Grandmother Is in Breach of the GDPR for Failing to Remove Photos of Her Grandchildren from Social Media Platforms' <https://www.technologylawdispatch.com/2020/05/privacy-data-protection/dutch-court-holds-that-a-grandmother-is-in-breach-of-the-gdpr-for-failing-to-remove-photos-of-her-grandchildren-from-social-media-platforms/> สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565.

David G Owen, 'A Punitive Damage Overview: Functions, Problems and Reform' (1994) 39 Vilanova Law Review 364.

Data Protection Commission, ‘The Fundamentals for a Child-Oriented Approach to Data Processing’ <https://www.dataprotection.ie/sites/default/files/uploads/2021-12/Fundamentals%20for%20a%20Child-Oriented%20Approach%20to%20Data%20Processing_FINAL_EN.pdf> สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2565.

Federal Trade Commission, ‘Business Center: Privacy and Security’ <https://www.ftc.gov/tips-advice/business-center/privacy-and-security> สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2564.

Federal Trade Commission, ‘Children's Online Privacy Protection Rule (‘COPPA’)’ <https://www.ftc.gov/legal-library/browse/rules/childrens-online-privacy-protection-rule-coppa.> สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2566.

Federal Trade Commission, ‘Complying with Coppa: Frequently Asked Questions.’ <https://www.ftc.gov/business-guidance/resources/complying-coppa-frequently-asked-questions.> สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2565.

Federal Trade Commission, ‘How to Comply with the Children’s Online Privacy Protection Rule’ <http://www.ftc.gov/bcp/conline/pubs/buspubs/coppa.htm> สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30