[Retracted Article] การพัฒนาเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความขอแรงที่ศาลตั้งให้จำเลยในคดีอาญา

ผู้แต่ง

  • อุทิศ สุภาพ ศาลอุทธรณ์

คำสำคัญ:

การปฏิบัติหน้าที่ของทนายความขอแรง, ทนายความขอแรง

บทคัดย่อ

บทความนี้ถูกถอดถอนเนื่องจากตีพิมพ์บทความซ้ำซ้อน

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในกระบวนการจัดหาทนายความขอแรงให้แก่จำเลยในคดีอาญา ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความขอแรง และศึกษาหาแนวทางแก้ไขในกระบวนจัดหาและการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความขอแรงให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานใช้รูปแบบการวิจัยแบ่งเป็น 2 แบบ โดยอาศัยผลการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลักและนำผลการวิจัยเชิงปริมาณมาเสริมซึ่งมีขั้นตอนการวิจัย ประกอบด้วย (1) การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิจัยจากการวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้เกี่ยวข้อง และ (2) การวิจัยเชิงปริมาณ โดยการสำรวจความคิดเห็นผลที่ได้จากการวิจัยเชิงคุณภาพของกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยผู้พิพากษา พนักงานอัยการ ทนายความทั่วไป ทนายความขอแรง นักวิชาการด้านกฎหมาย และจำเลยที่มีทนายความขอแรงในคดีอาญา ซึ่งสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความขอแรงที่ศาลตั้งให้จำเลยในคดีอาญาใน 5 ด้าน ได้แก่ (1) การพัฒนากฎหมาย (2) การพัฒนาด้านคุณภาพของทนายความขอแรง (3) การพัฒนาด้านการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความขอแรง (4) การพัฒนาด้านการจ่ายค่าตอบแทนทนายความขอแรง และ (5) การพัฒนาด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณของทนายความขอแรง

ผลการวิจัยพบว่า ในด้านการพัฒนากฎหมายควรต้องปรับปรุงเนื้อหาของกฎหมายให้เหมาะสมโดยกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติและการคัดเลือกรวมทั้งการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความขอแรงและจริยธรรมจรรยาบรรณให้เป็นไปตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกา โดยเพิ่มในบทบัญญัติมาตรา 165/1 และมาตรา 173 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา การพัฒนาด้านคุณภาพของทนายความขอแรง ต้องมีกระบวนการคัดเลือกที่เป็นระบบ และควรมีการพัฒนาทนายความขอแรง โดยให้ความรู้และประสบการณ์ เช่น มีการฝึกอบรมสัมมนาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือกำหนดหลักสูตรการอบรมทนายความขอแรง เป็นต้น และควรแบ่งกลุ่มทนายความขอแรงตามความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านโดยจัดให้ทนายความขอแรงทำคดีให้เหมาะสมกับความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ การพัฒนาด้านการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความขอแรงควรให้ทนายความขอแรงมีการเตรียมคดีให้จริงจังและมีประสิทธิภาพมากขึ้น การปฏิบัติหน้าที่ของทนายความขอแรงควรจะต้องมีการคานดุลตรวจสอบทั้งในแนวดิ่งโดยการตรวจสอบภายในองค์กร และ การคานดุลตรวจสอบในแนวนอนโดยการตรวจสอบจากองค์กรหรือหน่วยงานภายนอก และมีการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความขอแรงในช่วงก่อนการพิจารณาคดี ระหว่างการพิจารณาคดี และหลังจากมีคำพิพากษาแล้วการพัฒนาด้านค่าตอบแทนทนายความขอแรงควรจะต้องมีการเพิ่มค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ และควรจะต้องเพิ่มค่าตอบแทนที่ไม่เป็นตัวเงินเพื่อจูงใจอีกด้วย เช่น การให้ประกาศนียบัตรยกย่องให้เป็นทนายความดีเด่น การพิจารณาให้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เป็นต้น ส่วนการพัฒนาด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณของทนายความขอแรงควรมีระเบียบปฏิบัติหน้าที่ของทนายความขอแรงโดยเฉพาะ เพื่อเป็นกรอบในการทำหน้าที่ของทนายความขอแรง ทำให้ทนายความขอแรงทำหน้าที่ที่มีความชัดเจนและอยู่ในระเบียบวินัยมากขึ้น

ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความขอแรงในด้านต่าง ๆ นั้นควรจะต้องมีกฎหมายกำหนดอำนาจหน้าที่ของสภาทนายความและสำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อให้เป็นหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบและประสานงานร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำหน้าที่ของทนายขอแรงอย่างต่อเนื่องตลอดไป

References

Abraham H Maslow, Motivation and Personality (1954).

กรองทิพย์ คำยะรัตน์, ‘สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือในทางคดีอาญาจากทนายความ ศึกษากรณี: ปัญหาระบบทนายความขอแรงและการใช้ระบบ Public Defender’ (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม 2558).

จิตติ ติงศภัทิย์, หลักวิชาชีพนักกฎหมาย (พิมพ์ครั้งที่ 13, สิงหาคม 2563).

ชวิศา แสงมณี, ‘ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดหาทนายความขอแรงให้จำเลยในคดีอาญาโดยรัฐ’ (สารนิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2561).

ณรงค์ศักดิ์ สุขวิบูลย์, ‘รูปแบบการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทนายความขอแรงของสภาทนายความไทย’ (มกราคม-เมษายน 2560) 1 วารสารกระบวนการยุติธรรม 67.

ณิชาภัทร โฉมทอง, ‘ปัญหาการตรวจสอบถ่วงดุลคําสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ’ (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 2561).

ไตรขวัญ ศรไชย, ‘ปัญหาในการจัดตั้งทนายความขอแรงในคดีอาญา’ (สารนิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2561).

ถวัลย์ รุยาพร, ‘บทบาทสภาทนายความในการปฏิรูปประเทศด้านความยุติธรรม’ (2562) 2 จดหมายข่าวสภาทนายความ 1.

เที่ยงธรรม แก้วรักษ์, ‘การพัฒนาระบบการจัดหาทนายความที่มีประสิทธิภาพให้แก่ผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญา’ (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2549).

ธรรมนิตย์ สุมันตกุล, ‘การปรับปรุงกฎหมาย’ (2546) 2 วารสารกฎหมายปกครอง 82.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ, การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 17, เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ 2560).

พลากร อนุพันธ์, ‘ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับศีลธรรมจริยธรรม ศาสนา และจารีตประเพณี’ (พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559) 3 วารสารธรรมทรรศน์ 277.

พุฒิพร เจียรประวัติ, ‘คำสั่งไม่ฟ้องถ่วงดุลได้ด้วยใคร’ (2560) 39 วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย 1.

ศุภณัฐ สิทธิบุศย์, ‘ปัญหาการจัดตั้งทนายความขอแรงในคดีอาญา’ (สารนิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2561).

เสงี่ยม บุษบาบาน, ‘การประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์’ (2564) 1 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต 1.

สันติพงษ์ กุมารสิงห์, ‘กฎหมายต้นแบบว่าด้วยทนายความสาธารณะเพื่อการคุ้มครองสิทธิการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมในคดีอาญา’ (วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม 2563).

สันติสุข ทิพย์สุข, ‘จิตสํานึกใหม่ของคนทํางานในกระบวนการยุติธรรม’ (2555) 68(1) บทบัณฑิตย์ 87.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28