ร่างธรรมนูญการปกครองแผ่นดินของนายเรอเน กียอง

ผู้แต่ง

  • ปูนเทพ ศิรินุพงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

เรอเน กียอง, ประวัติกฎหมายรัฐธรรมนูญไทย, กฎหมายรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ

บทคัดย่อ

เรอเน กียอง หรือต่อมาภายหลังเปลี่ยนสัญชาติเป็นไทยใช้ชื่อว่าพิชาญ บุลยง เป็นผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งคนหนึ่งในกระบวนการจัดทำระบบกฎหมายไทยให้เป็นสมัยใหม่ ในฐานะที่ปรึกษาการร่างกฎหมาย เขามักจะทำการศึกษากฎหมายเปรียบเทียบ แล้วจึงจัดทำข้อเสนอเป็นรายงานหรือต้นแบบร่างกฎหมายขึ้นมาเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการใช้เป็นฐานข้อมูลหรือสารตั้งต้นสำหรับการพิจารณา หนึ่งในผลงานของเขาก็คือ “ข้อเสนอสำหรับธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรสยาม” ที่จัดทำขึ้นระหว่างที่ประเทศสยามกำลังร่าง “รัฐธรรมนูญถาวร” ฉบับแรก หลังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2475 ที่ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวไปพลางก่อน

ข้อเสนอนายกียองซึ่งจัดทำขึ้นมาในรูปแบบรัฐธรรมนูญเรียงมาตราเป็นรอยต่อสำคัญระหว่างกฎหมายสูงสุดของประเทศสองฉบับดังกล่าว จากการศึกษาวิเคราะห์พบว่ามีบทบัญญัติหรือหลักการใหม่หลายประการซึ่งสุดท้ายปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับถาวร การวิจัยข้อเสนอนี้ยังแสดงให้เห็นว่ามีกฎหมายรัฐธรรมนูญต่างประเทศหลายฉบับที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางกฎหมายรัฐธรรมนูญไทย แต่ยังไม่เป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวางหรือเคยได้รับการศึกษาเปรียบเทียบมาก่อน

References

--, พิชาญอนุสรณ์ (โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี 2506).

--, ส.วินิจฉัยกุล (ธนาคารแห่งประเทศไทยพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนายเสริม วินิจฉัย กุล 2528).

ชาญชัย แสวงศักดิ์, กฎหมายรัฐธรรมนูญ: แนวคิดและประสบการณ์ของต่างประเทศ (วิญญูชน 2552).

ชาญชัย แสวงศักดิ์, อิทธิพลของฝรั่งเศสในการปฏิรูปกฎหมายไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2, วิญญูชน 2558).

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ประวัติการเมืองไทยสยาม พ.ศ. 2475-2500 (พิมพ์ครั้งที่ 5, มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 2551).

ณัฐพล ใจจริง, ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ: ความเคลื่อนไหวของขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม (พ.ศ. 2475-2500) (ฟ้าเดียวกัน 2556).

เดือน บุนนาค และไพโรจน์ ชัยนาม, คำอธิบายกฎหมายรัฐธรรมนูญ (รวมทั้งกฎหมายเลือกตั้งด้วย) ภาค 2 รัฐธรรมนูญสยาม (นิติสาส์น 2477).

ดำรงค์ อิ่มวิเศษ, ‘การร่างรัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2489 และการเมืองภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ’ (วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2530).

นันทวัฒน์ บรมานันท์, ‘ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย’ (Public Law Net เครือข่ายกฎหมายมหาชนไทย, 17 ธันวาคม 2547) <http://public-law.net/publaw/view.aspx?id=138> สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2566.

ประยูร ภมรมนตรี, ชีวิต 5 แผ่นดินของข้าพเจ้า (บพิธการพิมพ์ 2525).

พิชาญ บุญยง, ‘คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ’ (2490) 18 นิติสาส์น แผนกสามัญ 187-201.

เรอเน่ กียอง, การร่างประมวลกฎหมายในประเทศสยาม (สุรพล ไตรเวทย์ ถอดความและเรียบเรียง, วิญญูชน 2550).

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, ‘ลักษณะเฉพาะของความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารและรัฐสภาในระบบรัฐสภาของประเทศอังกฤษ’ (2527) 3 วารสารนิติศาสตร์ 124-144.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์, ‘รัฐธรรมนูญบิสมาร์ค’ (รายงานฉบับสมบูรณ์เสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมงานวิจัย คณะนิติศาสตร์ มธ. 2563) 38-39.

วาณี พนมยงค์-สายประดิษฐ์ (บรรณาธิการ), แนวความคิดประชาธิปไตยของปรีดี พนมยงค์ (มูลนิธิปรีดี พนมยงค์ 2535).

สภาผู้แทนราษฎร, รายงานการประชุม ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญ) (28 มิถุนายน 2475)

สภาผู้แทนราษฎร, รายงานการประชุม ครั้งที่ 27 (สมัยสามัญ) (23 กันยายน 2475).

สภาผู้แทนราษฎร, รายงานการประชุม ครั้งที่ 34 (สมัยสามัญ) (16 พฤศจิกายน 2475).

สภาผู้แทนราษฎร, รายงานการประชุม ครั้งที่ 36 (สมัยสามัญ) (25 พฤศจิกายน 2475).

สภาผู้แทนราษฎร, รายงานการประชุม ครั้งที่ 38 (สมัยสามัญ) (26 พฤศจิกายน 2475).

สภาผู้แทนราษฎร, รายงานการประชุม ครั้งที่ 4 (สมัยสามัญ) (19 กรกฎาคม 2488).

สภาผู้แทนราษฎร, รายงานการประชุม ครั้งที่ 35 (สมัยสามัญ) (7 พฤษภาคม 2489).

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, ‘กรณี ถวัติ ฤทธิเดช ฟ้อง พระปกเกล้า’ (somsak's work, 16 ตุลาคม 2549) <http://somsakwork.blogspot.com/2006/10/blog-post.html> สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2566.

สุนีย์ มัลลิกะมาลย์, ‘รัฐธรรมนูญญี่ปุ่น: จากอดีตสู่ปัจจุบัน’ (2555) 3 วารสารพัฒนบริหารศาสตร์ 303-330.

หลวงจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์, คำอธิบายธรรมนูญปกครองแผ่นดินสยามเปรียบเทียบกับประเทศต่าง ๆ (สยามบรรณกิจ 2475).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สคก.1.1/127 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 (16 ส.ค.-27 มี.ค. 2475)

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ม.สคก 1/269 ร่างกฎหมายและความเห็นทางกฎหมาย เล่ม 279 (เรื่องที่ 12 คณะรัฐมนตรีให้ที่ปรึกษาในการร่างกฎหมายพิจารณาทำความเห็นเรื่องกระทรวงกลาโหมขอให้ผู้ที่พ้นโทษทางการเมืองมีโอกาสรับราชการหรือประกอบอาชีพอื่น).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สคก. 2.1/1-2 เล่ม 63 แฟ้มที่ปรึกษาในการร่างกฎหมาย (กฎหมายทั่วไป) (ค.ศ. 1939).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สคก. 2.1/1-4 เล่ม 65 (1) แฟ้มที่ปรึกษาในการร่างกฎหมาย (กฎหมายทั่วไป) (ค.ศ. 1932).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, สบ. 3.8/69 Report on the Security Provisions in the Constitution and especially the question of two Assemblies.

อังคณา เกียรติศักดิ์นุกูล, ‘คดีอาชญากรสงครามในประเทศไทย พ.ศ. 2488-2489’ (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2533) 107-117.

Christian de Saint-Hubert, ‘Rolin-jaequemyns (Chao Phya Aphay Raja) and the Belgian legal advisors in Siam at the turn of the century’ (1965) 53 The Journal of the Siam Society 180-190.

Erwin J. Haeberle, ‘Human Rights and Sexual Rights: The Legacy of René Guyon’ (1983) 2 Medicine and Law 159-172.

Eugenie Mérieau, ‘The 1932 Compromise Constitution: Matrix of Thailand’s Permanent Constitutional Instability’ in Kevin YL Tan and Bui Ngoc Son (ed) Constitutional Foundings in Southeast Asia (Hart 2019) 297-318.

Henry C Lockwood, Constitutional History of France (Rand, McNally & Company 1890).

Michel Fromont, ‘Der französische Verfassungsrat’ in Christian Starck and Albrecht Weber (ed) Verfassungsgerichtsbarkeit in Westeuropa. Teilband I. (Nomos 2007) 309-341.

Poonthep Sirinupong, Same Same But Different: Grundgesetzimport und Verfassungsmutation in Thailand (Nomos 2022).

Rainer Wahl, ‘Der Vorrang der Verfassung’ (1981) 20 Der Staat 485-519.

René Guyon, La constitution australienne de 1900 (Thèse pour le Doctorat, Faculté de droit de l'Université de Paris 1902).

Tamara Loos, Subject Siam: Family, Law, and Colonial Modernity in Thailand (Cornell University Press 2006).

Tamara Loos, ‘Respectability’s edge: Transnational sex radical René Guyon’ (2020) 23 Sexualities 146-169.

Walter Bagehot, The English Constitution (Oxford University Press 2001).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28