หลักเกณฑ์การพิจารณาเหตุอันมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลาง

ผู้แต่ง

  • ปภาณภณ ปภังกรภูรินท์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

หลักความเป็นกลาง, เหตุอันมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลาง, กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักกฎหมายเกี่ยวกับหลักความเป็นกลางในฐานะหลักกฎหมายทั่วไป ในกรณีเหตุอันมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลางในระบบกฎหมายไทย ระบบกฎหมายอังกฤษ ระบบกฎหมายฝรั่งเศส ระบบกฎหมายเยอรมัน โดยทำการสังเคราะห์การตีความและการวินิจฉัยเหตุอันมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลางตามคำพิพากษาของศาล ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา และความเห็นของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเสนอหลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณาเหตุอันมีสภาพร้ายแรง อันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองของเจ้าหน้าที่และกรรมการในคณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลาง

ผลการศึกษาพบลักษณะของเหตุอันมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลางใน 7 ลักษณะ ได้แก่ 1) กรณีเจ้าหน้าที่เป็นผู้ที่มีทัศนะเป็นปฏิปักษ์กับเรื่องที่จะทำการพิจารณาหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง 2) กรณีเจ้าหน้าที่กำลังมีหรือเคยมีคดีพิพาทหรือข้อขัดแย้งกับคู่กรณี 3) กรณีเจ้าหน้าที่เคยแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณชนในเรื่องที่จะทำการพิจารณา 4) กรณีเจ้าหน้าที่ซึ่งมีส่วนร่วมพิจารณาทางปกครองในหลายขั้นตอน 5) กรณีเจ้าหน้าที่เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำที่เป็นข้อเท็จจริงที่ใช้ในการพิจารณาทางปกครองนั้น 6) กรณีเจ้าหน้าที่รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากคู่กรณี และ 7) กรณีเจ้าหน้าที่มีความขัดแย้งกันในอำนาจหน้าที่หรือขัดแย้งกันในบทบาทหน้าที่ ดังนั้น เพื่อความชัดเจนในการปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจึงควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 โดยกำหนดบทนิยามคำว่า “เหตุอันมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลาง” เป็นความในวรรคสี่ ของมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 โดยให้หมายความรวมถึงลักษณะของเหตุอันมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลางทั้ง 7 ลักษณะข้างต้น รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติมาตราดังกล่าวให้สามารถตราพระราชกฤษฎีกาตามข้อเสนอของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาเหตุอันมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองทั้ง 7 ลักษณะสำหรับเป็นแนวทางที่เป็นรูปธรรมในการปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง และในบทบัญญัติดังกล่าวควรให้อำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกาตามข้อเสนอของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเพื่อกำหนดลักษณะของเหตุอันมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลางเพิ่มเติมจาก 7 ลักษณะดังกล่าวได้ด้วย  ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาหลักกฎหมายว่าด้วยความไม่เป็นกลางทางอัตตะวิสัยอย่างต่อเนื่อง และสอดคล้องกับบริบททางสังคมวิทยากฎหมายของประเทศไทย

References

กมลชัย รัตนสกาววงศ์, สาระสำคัญของพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 (วิญญูชน 2544).

กมลชัย รัตนสกาววศ์, หลักกฎหมายปกครองเยอรมัน (ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2544).

กมลชัย รัตนสกาววงศ์, 'หลักกฎหมายวิธีสบัญญัติในชั้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองของกลุ่มประเทศ Common Law' (2528) 15(4) วารสารนิติศาสตร์ 10.

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน (วิญญูชน 2555).

จักรพันธ์ เชี่ยวพานิช, 'ผลของคำสั่งทางปกครองที่ไม่ได้ปฏิบัติตามหลักความไม่มีส่วนได้เสีย' (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2550).

ชาญชัย แสวงศักดิ์, คำอธิบายกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 13 วิญญูชน 2563).

บรรเจิต สิงคเนติ, กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองของเยอรมัน (คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มปป).

บุญอนันต์ วรรณพาณิชย์, หลักกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (สวัสดิการสำนักงานศาลปกครอง 2545).

ประนัย วณิชชานนท์, หลักการปฏิบัติราชการที่ดีเกี่ยวกับวินัยจากคำพิพากษาศาลปกครอง (ธนาเพรส 2565).

วณิชชา โสภาพล, 'หลักความเป็นกลางกับกรณีกระบวนพิจารณาเรื่องทางปกครองที่มีหลายขั้นตอน' (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2562).

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, 'เจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจทำการพิจารณาทางปกครอง' (การประชุมวิชาการเรื่องพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539, 10-12 ตุลาคม 2540).

วรนารี สิงห์โต, ข้อสังเกตเกี่ยวกับหลักความเป็นกลางของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง: วิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายไทยและกฎหมายเยอรมัน (สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 2560).

ศุภวัฒน์ สิงห์สุวงษ์, ปัญหาความเป็นกลางของเจ้าหน้าที่ซึ่งมีส่วนร่วมพิจารณาทางปกครองในหลายขั้นตอน (สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 2560).

สมพร ฟุ้งสกุล, 'ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับหลักความเป็นกลางในการพิจารณาทางปกครองของเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง' (2560) 40 วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30