การทำให้สัญญาผู้บริโภคสิ้นผลผูกพันเพราะเหตุกำหนดราคาแบบรายบุคคล : ศึกษาเปรียบเทียบหลักกฎหมายของประเทศไทยและประเทศเนเธอร์แลนด์

ผู้แต่ง

  • เฉลิมวุฒิ ศรีพรหม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การกำหนดราคาแบบรายบุคคล, การคุ้มครองผู้บริโภค, ระยะเวลาไตร่ตรอง, หน้าที่ให้ข้อมูลก่อนสัญญา

บทคัดย่อ

ในการจำหน่ายสินค้าหรือบริการในตลาด ผู้ประกอบธุรกิจบางรายอาจมุ่งเพิ่มยอดรายรับด้วยการใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ในการกำหนดราคาที่เสนอแก่ผู้บริโภคแต่ละรายซึ่งขึ้นอยู่กับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภครายนั้น วิธีการเช่นนี้เรียกว่า “การกำหนดราคาแบบรายบุคคล” ซึ่งทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติทางด้านราคาในระดับหนึ่งอันนำมาสู่การโต้แย้งว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมสำหรับผู้บริโภคที่ถูกเลือกปฏิบัติ ด้วยเหตุนี้ คำถามหลักคือระบบกฎหมายแพ่งเปิดช่องให้ผู้บริโภคที่ถูกเลือกปฏิบัติทางด้านราคาทำอย่างไรให้สัญญาที่ทำกับผู้ประกอบธุรกิจสิ้นผลผูกพัน เพื่อตอบคำถามดังกล่าว บทความนี้จึงจะนำเสนอผลการศึกษาเชิงกฎหมายเปรียบเทียบระหว่างหลักกฎหมายของประเทศไทยและหลักกฎหมายของประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการสกัดและวิเคราะห์รูปแบบในการแก้ปัญหาทางกฎหมายซึ่งนำมาสู่การเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมกับระบบกฎหมายไทยเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค

จากการศึกษาพบว่าผู้บริโภคที่ถูกเลือกปฏิบัติอาจทำให้สัญญาสิ้นผลผูกพันภายใต้ระบบกฎหมายแพ่งได้สองวิธีที่แตกต่างกัน ประการแรก ผู้บริโภคอาจใช้สิทธิที่มีตามข้อสัญญาหรือตามบทบัญญัติของกฎหมายในการเลิกสัญญาในช่วงของระยะเวลาไตร่ตรอง ทั้งนี้ เนื่องจากกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของทั้งระบบกฎหมายไทยและระบบกฎหมายเนเธอร์แลนด์ได้กำหนดสิทธิเลิกสัญญาดังกล่าวไว้ อย่างไรก็ดี ระยะเวลาไตร่ตรองในระบบกฎหมายไทยมีเพียง 7 วันจึงสั้นกว่าในระบบกฎหมายเนเธอร์แลนด์ซึ่งกำหนดไว้ 14 วัน ฉะนั้น จึงเสนอให้แก้ไขกฎหมายเพื่อขยายระยะเวลาดังกล่าวให้ผู้บริโภคในประเทศไทยมีเวลาในการพิจารณาเลิกสัญญาได้นานขึ้น ประการที่สอง ผู้บริโภคอาจใช้สิทธิในการบอกล้างสัญญาที่ตกเป็นโมฆียะ โดยในระบบกฎหมายไทย ผู้บริโภคอาจกล่าวอ้างว่าสัญญาตกเป็นโมฆียะเพราะเหตุความสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ส่วนในระบบกฎหมายเนเธอร์แลนด์ ผู้บริโภคอาจกล่าวอ้างว่าสัญญาตกเป็นโมฆียะเพราะเหตุการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งเนเธอร์แลนด์ แต่เพื่อเพิ่มความคุ้มครองผู้บริโภคในการใช้สิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมในบริบทของกฎหมายในประเทศไทย จึงเสนอเพิ่มความคุ้มครองผู้บริโภคในการใช้สิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมโดยให้กฎหมายว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกำหนดหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจในการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคก่อนหรือขณะทำสัญญาว่ามีการใช้วิธีกำหนดราคาแบบรายบุคคลจากข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภค การฝ่าฝืนหน้าที่เช่นว่านั้นควรมีผลทำให้สัญญาตกเป็นโมฆียะและผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบอาจบอกล้างสัญญาในภายหลังได้

References

Arthur S Hartkamp, Contract Law in the Netherlands (2nd edn, Kluwer Law International 2015).

Christiana Markou, ‘Chapter 7: Directive 2011/83/EU on Consumer Rights’ in Arno R Lodder and Andrew D Murray (Eds), EU Regulation of E-Commerce: A Commentary (Edward Elgar Publishing 2017).

Department for Business, Energy & Industrial Strategy, ‘Modernising Consumer Markets’ (2018) <https://assets.publishing.service.gov.uk/government/uploads/system/uploads/attachment_data/file/699937/modernising-consumer-markets-green-paper.pdf> สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2566.

Fei L Weisstein, Kent B Monroe and Monika Kukar-Kinney, ‘‘Effects of price framing on consumers’ perceptions of online dynamic pricing practices’ (2013) 41 Journal of the Academy of Marketing Science 501.

Feng Wang, ‘China’s Regulatory Framework for Dynamic and Personalized Pricing in the Digital Economy’ (2022) 10(1) International Journal of Science Studies 1.

Gary Armstrong, Philip Kotler, and Marc Oliver Opresnik, Marketing: An Introduction (5th edn (Global edition), Pearson 2023).

Hans Nieuwenhuis and Jaap Hijma, Modern Codified Contract Law: The Dutch Example (no publisher 2014).

Hein Kötz, European Contract Law (2nd edn, Oxford University Press 2017).

Host Eidenmüller and Gerhard Wagner, Law by Algorithm (Mohr Siebeck 2021).

Jaakko Husa, A New Introduction to Comparative Law (Hart Publishing 2015).

Jan M Smits, ‘What Is Legal Doctrine?: On The Aims and Methods of Legal-Dogmatic Research’ in Rob van Gestel, Hans-W Micklitz, and Edward L Rubin (eds), Rethinking Legal Scholarship: A Transatlantic Dialogue (Cambridge University Press 2017).

Jean-Pierre I van der Rest and others, ‘A note on the future of personalized pricing: cause for concern’ (2020) 19(2) Journal of Revenue and Pricing Management 113.

Jeffrey Moriarty, ‘Why online personalized pricing is unfair’ (2021) 23 Ethics and Information Technology 495.

Jerod Coker and Jean-Manuel Izaret, ‘Progressive Pricing: The Ethical Case for Price Personalization’ (2021) 173 Journal of Business Ethics 387.

Joasia Luzak and Vanessa Mak, ‘Implementation of the Consumer Rights Directive’ (2014) 3(2) Zeitschrift für Europäisches Unternehmens- und Verbraucherrecht 127.

Katalin J Cseres, ‘Enforcing the Unfair Commercial Practices Directive: The enforcement model of the Netherlands’ in Tihamér Tóth (Ed), Unfair Commercial Practices: The long road to harmonized law enforcement (PÁZMÁNY PRESS 2014).

Leonieke Tigelaar, ‘How to Sanction a Breach of Information Duties of the Consumer Rights Directive?’ (2019) 27(1) European Review of Private Law 27.

Marco B M Loos, ‘Consumer Sales in the Netherlands after the Implementation of the Consumer Rights Directive’ in Giovanni De Cristo Faro and Alberto De Franceschi (Eds), Consumer Sales in Europe: After the Implementation of the Consumer Rights Directive (Intersentia 2016).

Marco Botta and Klaus Wiedemann, ‘To discriminate or not to discriminate? Personalised pricing in online markets as exploitative abuse of dominance’ (2020) 50 European Journal of Law and Economics 381.

Marco Loos, ‘Rights of Withdrawal’ in Geraint Howells and Reiner Schulze (Eds), Modernising and Harmonising Consumer Contract Law (European Law Publishers 2009).

Marnix van den Bergh, ‘Confusing legal terms for contract termination in Dutch and English’ (Höcker Advocaten, 21 September 2015) <https://www.hocker.nl/en/confusing-legal-terms-for-contract-termination-dutch-and-english/> สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2566.

Marvin A Eisenberg, ‘Mistake in Contract Law’ (2003) 91(6) California Law Review 1573.

Matthias Haentjens, ‘Chapter 18: The Netherlands’ in Aurelia Colombi Ciacchi (eds), Regulating Unfair Banking Practices in Europe: The Case of Personal Suretyships (Oxford University Press 2010).

OECD, ‘Personlised Pricing in the Digital Era’ (20 November 2018) <https://one.oecd.org/document/DAF/COMP(2018)13/en/pdf> สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2566.

Pamaria Rekaiti and Roger Van den Bergh, ‘Cooling-Off Periods in the Consumer Laws of the EC Member States: A Comparative Law and Economics Approach’ (2000) 23 Journal of Consumer Policy 371.

Timothy J Richard, Jura Liaukonyte and Nadia A Streletskaya, ‘Personalized pricing and price fairness’ (2016) 44 International Journal of Industrial Organization 138.

Tycho de Graaf, ‘Consequences of Nullifying an Agreement on Account of Personalised Pricing’ (2019) 8(5) Journal of European Consumer and Market Law 184.

Willem J Witteveen, ‘Inhabiting legality’ in Sanne Taekema, Annie de Roo and Carinne Elion-Valter, Understanding Dutch Law (3rd edn, Eleven International Publishing 2020).

กิตติศักดิ์ ปรกติ, หลักสุจริตและเหตุเหนือความคาดหมายในการชำระหนี้ (สำนักพิมพ์วิญญูชน 2554).

คณิต ณ นคร, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (สำนักพิมพ์วิญญูชน 2559).

จิ๊ด เศรษฐบุตร, หลักกฎหมายแพ่งลักษณะนิติกรรมและสัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 7, โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2556).

เฉลิมวุฒิ ศรีพรหม, ‘หน้าที่เปิดเผยข้อมูลก่อนสัญญาในสัญญาแฟรนไชส์’ (การประชุมวิชาการระดับชาติ “ธรรมศาสตร์-นิติพัฒน์” ครั้งที่ 2, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2560).

เฉลิมวุฒิ ศรีพรหม, ‘หลักการตีความสัญญา’ (2559) 72(2) บทบัณฑิตย์ 54.

ชาญณรงค์ ปราณีจิตต์, คำอธิบายพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 (มปป).

ธีรวัฒน์ จันทรสมบูรณ์, ขายตรงและตลาดแบบตรง: หลักกฎหมายและสาระสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 3, สำนักพิมพ์นิติธรรม 2564).

ทับทิม วงศ์ประยูร พรทิพย์ คำพอ และอภินันท์ จันตะนี, สังคมกับเศรษฐกิจ (บูชาคุณ 2552).

ทิพยรัตน์ มุขยวงศา, ‘ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง: ศึกษาเฉพาะกรณีตลาดแบบตรง’ (สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2547).

นนทวัชร์ นวตระกูลพิสุทธิ์, กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 2, โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2563).

ประกอบ หุตะสิงห์, กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและสัญญา (สำนักพิมพ์นิติบรรณการ 2518).

ประสาท พงษ์สุวรรณ์, ‘ผลของโมฆียกรรมที่ถูกบอกล้าง’ (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2529) .

ไพโรจน์ วายุภาพ, คำอธิบายกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 4, บริษัท กรุงสยาม พับลิชชิ่ง จำกัด 2563).

มุนินทร์ พงศาปาน, ระบบกฎหมายซีวิลลอว์: จากกฎหมายสิบสองโต๊ะสู่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (พิมพ์ครั้งที่ 4, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2564).

วิทวัส รุ่งเรืองผล, ตำราหลักการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 10, โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2563).

ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์, คำอธิบายนิติกรรม-สัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 25, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2565).

ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์, หลักความสำคัญผิด (สำนักพิมพ์วิญญูชน 2549).

ศักดิ์ สนองชาติ, คำอธิบายนิติกรรมและสัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 11, สำนักพิมพ์นิติบรรณการ 2557).

ศิริทิพย์ แสงทอง, ‘การคุ้มครองผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545’ (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2549).

เสนีย์ ปราโมช, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและหนี้ เล่ม 1 (ภาค 1-2) (ปรับปรุงแก้ไขโดย มุนินทร์ พงศาปาน, พิมพ์ครั้งที่ 4, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2561).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28