การทำให้รัฐประหารหมดไปด้วยมาตรการทางกฎหมายและการเปลี่ยนบรรทัดฐานของศาลไทย

ผู้แต่ง

  • ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

รัฐประหาร, รัฐธรรมนูญที่ไม่ได้บัญญัติ, รัฐธรรมนูญจารีต, บรรทัดฐานของศาลฎีกา, สัญญาประชาคม

บทคัดย่อ

“การยึดอำนาจเป็นสิ่งที่ทำได้ ถ้าทำสำเร็จ” เป็นกติกาที่ประเทศไทยใช้มาตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น เป็น “รัฐธรรมนูญจารีต” หรือรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้บัญญัติ (uncodified constitution) ของประเทศไทย ซึ่งต้องสิ้นสภาพบังคับไปเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรหรือรัฐธรรมนูญบัญญัติ (codified constitution) ทว่าแม้ประเทศไทยจะได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรในปี พ.ศ. 2475 แล้ว รัฐธรรมนูญจารีตที่กำหนดว่า การยึดอำนาจเป็นสิ่งที่ทำได้ ถ้าทำสำเร็จ กลับยังคงมีสถานะบังคับใช้ในประเทศไทยมาจนปัจจุบัน ทำให้มีรัฐประหารถึง 13 ครั้ง และมีรัฐธรรมนูญมากถึง 20 ฉบับ และการทำรัฐประหารจะไม่หมดไปจากประเทศไทยตราบใดที่รัฐธรรมนูญจารีตฉบับนี้ยังใช้บังคับอยู่

เพื่อยกเลิกรัฐธรรมนูญจารีตฉบับนี้ สิ่งที่ต้องเปลี่ยนคือบรรทัดฐานของศาลฎีกาที่ได้ตัดสินไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 ว่าการรัฐประหารสามารถ “ทำได้” หาก “ทำสำเร็จ” แต่ลำพังเพียงเรียกร้องให้ศาลเปลี่ยนบรรทัดฐาน มิใช่แนวทางที่จะได้ผล เนื่องจากคณะรัฐประหารได้พัฒนาวิธีการรับรองการยึดอำนาจให้ชอบด้วยกฎหมายมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงจำเป็นต้องแยกแยะสถานะความชอบด้วยกฎหมายของประกาศและคำสั่งคณะรัฐประหารคณะต่าง ๆ เสียก่อน ซึ่งสรุปได้ว่า มีเฉพาะการทำรัฐประหารครั้งล่าสุดคือ รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 เท่านั้น ที่รัฐธรรมนูญที่รับรองยังใช้บังคับอยู่ และโดยที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 279 รับรองเพียงประกาศ คำสั่ง และการกระทำของ คสช. หาได้รับรองการทำรัฐประหารก่อนหน้านี้ไม่ รัฐประหารก่อนหน้านี้จึงไม่มีรัฐธรรมนูญรองรับอีกต่อไป ดังนั้น หากมีคดีในศาลที่ใช้ประกาศหรือคำสั่งคณะรัฐประหารก่อนหน้า คสช. บังคับแก่คดี ศาลย่อมสามารถวินิจฉัยให้ประกาศและคำสั่งคณะรัฐประหารเหล่านั้นสิ้นสภาพบังคับได้ทันที ซึ่งจะเปลี่ยนบรรทัดฐานของศาล
ที่จะไม่ยอมรับการทำรัฐประหารอีกต่อไป โดยต้องทำ ก่อน รัฐประหารครั้งต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้มีรัฐประหารอีก สำหรับประกาศและคำสั่งของ คสช. นั้น ต้องถือว่ารัฐธรรมนูญรับรองในทาง รูปแบบ ว่าเป็นกฎหมาย แต่มิได้เป็นการรับรองโดยอัตโนมัติว่า เนื้อหา ชอบด้วยรัฐธรรมนูญด้วย ดังนั้น ประกาศและคำสั่งของ คสช. ก็อาจมีเนื้อหาที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือขัดต่อกฎหมายที่อยู่ในอำนาจ
ฝ่ายตุลาการที่จะวินิจฉัยได้

พร้อมกันนี้ยังต้องมีมาตรการอื่น ๆ ไปพร้อมกันด้วยคือ ยกเลิกมาตรา 279 และการทำให้ประกาศและคำสั่งของคณะรัฐประหารทั้งหมดที่ยังใช้บังคับอยู่หมดไปจากระบบกฎหมายของประเทศไทย นอกจากนี้ยังต้องมีบทบัญญัติป้องกันการรัฐประหารที่ได้ผลอย่างแท้จริง รวมถึงควรต้องสร้างรัฐธรรมนูญจารีตฉบับใหม่ไปพร้อมกันด้วยว่า การทำรัฐประหารและการรับรองการรัฐประหารเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ในประเทศไทยอีกต่อไป โดยใช้กระบวนการ “สัญญาประชาคม” ของฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การทำรัฐประหารจึงจะหมดไปจากประเทศไทยได้

References

หนังสือ

ภาษาไทย:

ปรีดี เกษมทรัพย์, เอกสารประกอบคำสอนวิชานิติปรัชญา (สำพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยรามคำแหง 2526).

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ประวัติการเมืองไทย 2457-2500 (พิมพ์ครั้งที่ 3, สำนักพิมพ์มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ 2544).

ณรงค์ สินสวัสดิ์, พฤติกรรมการแย่งอำนาจในสังคมไทย (สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2529).

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, กฎหมายมหาชน เล่ม 2: การแบ่งแยกกฎหมายมหาชน-เอกชนและพัฒนาการกฎหมายมหาชนในประเทศไทย (เล่ม 2, พิมพ์ครั้งที่ 3 สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2547).

สมเกียรติ วันทะนะ, โลกที่คิดว่าคุ้นเคย: ความคิดทางการเมืองไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 1893-2310 (สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2561).

เสน่ห์ จามริก, การเมืองไทยกับพัฒนาการรัฐธรรมนูญ (พิมพ์ครั้งที่ 3, มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 2549).

อรทัย แสนบุตร, การรัฐประหารในประเทศไทย (สำนักพิมพ์แห่งสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 2559).

ภาษาต่างประเทศ:

J C Johar, New Comparative Government, (Raised and Enlarged Edition, Lotus Press 2007).

Tom Ginsburg and Tamir Moustafa, Rule by Law: The Politics of Courts in Authoritarian Regimes (Cambridge University Press 2012).

Yoram Rabin and Matan A Gutman, Max Planck Encyclopedia of Comparative Constitutional Law (Oxford University Press 2022).

วารสาร

ภาษาไทย:

กล้า สมุทวณิช, ‘อำนาจตุลาการในการตรวจสอบการใช้อำนาจคณะรัฐประหารที่อยู่ในรูปของบทบัญญัติแห่งกฎหมาย’ (2564) 68(2) ดุลพาห 18.

ตวงรัตน์ เลาหัตถพงษ์ภูริ, ‘การกบฏ ปฏิวัติ และรัฐประหารตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ถึงปัจจุบัน’ (2537) 2(4) วารสารสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 1.

ธานี สุขเกษม, ‘รูปแบบและพฤติกรรมของการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองสมัยอยุธยา พ.ศ. 1893-2310’ (2562) (11)1 วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา 7.

ปูนเทพ ศิรินุพงศ์, ‘“สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญในกฎหมายรัฐธรรมนูญไทย” การกลายพันธุ์ของความคิดทางรัฐธรรมนูญที่นำเข้าจากต่างประเทศ?’ (2561) 47(1) วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 81.

สราทิส ไพเราะ, ‘ผลคำวินิจฉัยของศาลต่อการทำปฏิวัติรัฐประหาร’ (2561) 1 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย อัสสัมชัญ 228.

รายงานผลวิจัย

ภูริ ฟูวงศ์เจริญ, ‘การเมืองการปกครองไทย: พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ (พ.ศ. 2475-2540)’ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2561).

คำพิพากษา

คำพิพากษาศาลไทย:

คำพิพากษาฎีกาที่ 45/2496.

คำพิพากษาศาลต่างประเทศ:

คำพิพากษาศาลสูงเยอรมนี RGZ 99, S. 285 ff.

คำพิพากษาศาลสูงเยอรมนี RGZ 100. S. 25 ff.

คำแถลงกาณ์

คำแถลงการณ์ของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน.

คำแถลงการณ์ ฉบับที่ 1, จากหนังสือ “ข่าวโฆษณาการ” ของการโฆษณาการประจำเดือนพฤศจิกายน 2490.

คำแถลงการณ์ ฉบับที่ 2 “ต้องนำเอารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2475 ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานไว้นั้น กลับมาใช้ใหม่

คำแถลงการณ์ ฉบับที่ 3 “จำเป็นต้องนำเอารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับลงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475” กลับมาใช้.

คำสั่ง

คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 3 สั่ง ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2519.

คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 6 สั่ง ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2519.

คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 25 สั่ง ณ วันที่ 17 ตุลาคม 2519.

คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 35 สั่ง ณ วันที่ 21 ตุลาคม 2519.

คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 สั่ง ณ วันที่ 21 ตุลาคม 2519.

ประกาศ

ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับที่ 3 วันที่ 19 กันยายน 2549.

ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 2 ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2514.

ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 3 ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2514.

ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 5 ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2514.

ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8 ประกาศ ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2514.

ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 9 ประกาศ ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2514.

ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ประกาศ ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534.

ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 7 ประกาศ ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534.

ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ประกาศ ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534.

ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 20 ประกาศ ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534.

สื่ออิเล็กทรอนิกส์

ชำนาญ จันทร์เรือง, ‘เอาผิดคณะรัฐประหาร?’ (Public Law Net, 8 กรกฎาคม 2561) <http://www.public-law.net/publaw/view.aspx?id=2035> สืบค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2566.

อื่น ๆ

กีรติ กาญจนรินทร์, ‘ผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง’ ความเห็นในการวินิจฉัยคดี (อม. 28) ใน คดีหมายเลขดำที่ อม. 2/2552 คดีหมายเลขแดงที่ อม. 9/2552, 28 กันยายน 2552.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30