ความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสภายใต้กฎหมายครอบครัวของประเทศไทยกับหลักกฎหมายของคณะกรรมาธิการกฎหมายครอบครัวยุโรป

ผู้แต่ง

  • วิมพัทธ์ ราชประดิษฐ์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส, ระบบทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส, สัญญาสำหรับกำหนดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส, คณะกรรมาธิการกฎหมายครอบครัวยุโรป

บทคัดย่อ

โดยทั่วไป ความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสย่อมเป็นไปตามระบบทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสภายใต้กฎหมายครอบครัว แต่คู่สมรสอาจทำสัญญาเพื่อกำหนดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างกันได้ ความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสจึงมีบ่อเกิดจากกฎหมายและสัญญา กฎหมายครอบครัวแต่ละประเทศได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยคำนึงถึงระบบกฎหมายและปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งส่งผลให้เกิดความแตกต่างของหลักเกณฑ์ดังกล่าว คณะกรรมาธิการกฎหมายครอบครัวยุโรปจึงจัดทำหลักกฎหมายครอบครัวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสเพื่อแสดงให้เห็นถึงจุดร่วมกันและแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการกำหนดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส เมื่อพิจารณาจากกระบวนการร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทย บรรพ 5 จะพบว่าระบบทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสของประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากหลายประเทศในยุโรป หลักกฎหมายครอบครัวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสของคณะกรรมาธิการกฎหมายครอบครัวยุโรป (the Commission on European Family Law) จึงเป็นหลักกฎหมายที่มีความเหมาะสมเพื่อเปรียบเทียบและใช้เป็นแนวทางในการกำหนดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสของประเทศไทยในอนาคต

References

Anne Sanders, ‘PRIVATE AUTONOMY AND MARITAL PROPERTY AGREEMENTS’ (2010) 3 The International and Comparative Law Quarterly 571.

Barbara A Atwood, ‘MARITAL CONTRACTS AND THE MEANING OF MARRIAGE’ (2012) 1 ARIZONA LAW REVIEW 11.

C González Beilfuss, ‘Agreements in European Family Law – The Findings, Theoretical Assessments and Proposals of the Commission on European Family Law (CEFL)’ (2022) 2 DE GRUYTER 159.

DALLING SAMUEL JED, ‘Regulating Prenuptial Agreements: Balancing Autonomy and Protection’ (Thesis Master LL.M. Durham University 2013).

Frederik Swennen, ‘Private Ordering in Family Law: A Global Perspective’ In Frederik Swennen (ed.), Contractualisation of Family Law - Global Perspectives (Springer 2015).

Frédérique Ferrand, ‘The Community of Acquisitions Regime’ In Katharina Boele-Woelki, Nina Dethloff and Werner Gephart (ed.), FAMILY LAW AND CULTURE IN EUROPE (Intersentia 2014).

Giovanni Liberati Buccianti, ‘Private Autonomy and Family Public Policy in Italy’ (2022) 3 Bialystok Legal Studies 227.

Jens M Scherpe, ‘Introduction’ In Jens M Scherpe (ed) Marital Agreements and Private Autonomy in Comparative Perspective (Hart Publishing 2012).

Katharina Boele-Woelki, ‘GENERAL RIGHTS AND DUTIES IN THE CEFL PRINCIPLES ON PROPERTY RELATIONS BETWEEN SPOUSES’ In Katharina Boele-Woelki, Nina Dethloff and Werner Gephart (ed.), FAMILY LAW AND CULTURE IN EUROPE, (Intersentia 2014).

Laurence D Houlgate, Philosophy, Law and the Family (Springer 2017).

Pablo Quinza Redondo, ‘Spanish Matrimonial Property Regimes and CEFL Principles Regarding Property Relations between Spouses’ (2010) 2 European Journal of Law Reform 329.

ประสพสุข บุญเดช, คำอธิบายประมวบกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัว (พิมพ์ครั้งที่ 18, สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา 2553).

ไพโรจน์ กัมพูสิริ, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครอบครัว (พิมพ์ครั้งที่ 9, วิญญูชน 2560).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30