พัฒนาการกฎหมายไทยและกฎหมายสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเกี่ยวกับการเลือกศาลและการยอมรับคำพิพากษาศาลต่างประเทศ
คำสำคัญ:
พัฒนาการกฎหมายไทยและกฎหมายสปป.ลาว, การเลือกศาล, การยอมรับคำพิพากษาศาลต่างประเทศบทคัดย่อ
หลังจากที่ประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง (พ.ศ. 2477) มาตรา 7 ที่ยอมให้คู่ความเสนอคำฟ้องต่อศาลที่คู่ความตกลงกันและระบุไว้ในสัญญาได้ถูกยกเลิกไปเมื่อ พ.ศ. 2534 โดยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) ประเทศไทยได้ออกพระราชบัญญัติหลายฉบับในช่วงปี พ.ศ. 2534 ถึง พ.ศ. 2560 เกี่ยวกับการรับขนระหว่างประเทศและกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งจากมลพิษน้ำมัน จากการศึกษากฎหมายขนส่งระหว่างประเทศ 4 ฉบับที่ตราขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ได้แก่ พระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. 2548 พระราชบัญญัติการรับขนของทางถนนระหว่างประเทศ พ.ศ. 2556 พระราชบัญญัติการรับขนคนโดยสารทางถนนระหว่างประเทศ พ.ศ. 2557 และพระราชบัญญัติการรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ พ.ศ. 2558 (รวมทั้ง พระราชบัญญัติการรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560) พบว่ากฎหมายเหล่านี้มีที่มาจากอนุสัญญาและความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี ทำให้โจทก์มีสิทธิเลือกฟ้องคดีต่อศาลใดศาลหนึ่งที่กำหนดไว้ในกฎหมายและบางฉบับยอมรับข้อตกลงของคู่สัญญาในการเลือกศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาคดีทั้งข้อตกลงที่ทำขึ้นและระบุไว้ในเอกสารการขนส่งและข้อตกลงที่ทำขึ้นเพื่อเลือกศาลใด ๆ หลังจากเกิดสิทธิเรียกร้องขึ้นแล้ว ทำให้เกิดพัฒนาการของกฎหมายไทย ส่วนกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องมลพิษน้ำมัน 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติความรับผิดทางแพ่งต่อความเสียหายจากมลพิษน้ำมันอันเกิดจากเรือ พ.ศ. 2560 และ พระราชบัญญัติการเรียกเงินสมทบเข้ากองทุนระหว่างประเทศเพื่อชดใช้ความเสียหายจากมลพิษน้ำมันอันเกิดจากเรือ พ.ศ. 2560 แสดงให้เห็นพัฒนาการอีกก้าวหนึ่งที่ยอมรับคำพิพากษาศาลต่างประเทศ (แต่เฉพาะเรื่องความเสียหายจากมลพิษน้ำมัน) และชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของทฤษฎีทวินิยม (Dualism) แต่ประเทศไทยก็ยังไม่มีกฎหมายที่บัญญัติรายละเอียดการยอมรับคำพิพากษาศาลต่างประเทศ เอกสารที่ต้องใช้และกระบวนพิจารณาที่ใช้ได้เป็นการทั่วไป เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ซึ่งได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีเอกนิยม (Monism) ประเทศไทยและสปป.ลาว ร่วมกันลงนามกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (ASEAN Framework Agreement on Multimodal Transport) และความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Great Mekong Subregion Cross-Border Transport Agreement หรือ GMS) ภาคผนวก 5 และภาคผนวก 10 ว่าด้วยการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าซึ่งมีบทบัญญัติเรื่องการเลือกศาลและใช้บังคับในสปป.ลาว ในส่วนของกฎหมายเกี่ยวกับมลพิษน้ำมัน สปป.ลาวไม่มีกฎหมายในลักษณะเดียวกับกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องมลพิษน้ำมัน 2 ฉบับที่กล่าวถึงข้างต้น แต่สปป.ลาวมีกฎหมายการดำเนินคดีแพ่งฉบับใหม่ ค.ศ. 2012 ที่บัญญัติการยอมรับคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ เงื่อนไขการยอมรับ เอกสารที่ต้องใช้และกระบวนพิจารณา จึงมีปัญหาด้วยว่าประเทศไทยควรจะพัฒนากฎหมายเรื่องการยอมรับคำพิพากษาศาลต่างประเทศอย่างไร
References
เอกสารอ้างอิงภาษาไทย
กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม, ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคกลุ่มแม่น้ำโขง (Great Mekong Subregion Cross-Border Transport Agreement) (โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย 2556).
กรมเจ้าท่า สำนักกฎหมาย กลุ่มงานกฎหมายและความตกลงระหว่างประเทศ (26 ธันวาคม 2559) <https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/viewer.php> สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2567.
กลุ่มค้นคว้ากฎหมายดำเนินคดีแพ่ง องค์การความร่วมมือสากลประเทศญี่ปุ่น (JICA) ประจำสปป.ลาว, แผนภาพดำเนินคดีแพ่ง ศาลชั้นต้นและขั้นตอนการรื้อฟื้นคดีในสปป.ลาว (กฎหมายว่าด้วยการดำเนินคดีแพ่ง ฉบับปรับปรุง ปี 2012) (โรงพิมพ์เทบปันยา มีนาคม 2013).
จตุรนต์ ถิระวัฒน์, กฎหมายระหว่างประเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 4, วิญญูชน 2558).
ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนาพาณิช, คำอธิบายกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล (พิมพ์ครั้งที่ 5, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2561).
ประมวล จันทร์ชีวะ, การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) (พิมพ์ครั้งที่ 2, คณะกรรมการประกันภัยทางทะเลและโลจิสติกส์ สมาคมประกันวินาศภัย 2554).
ไผทชิต เอกจริยกร, คำอธิบายพระราชบัญญัติขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. 2548 (โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2550).
ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์กฎหมายไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ 4 แก้ไขเพิ่มเติม, รุ่งศิลป์การพิมพ์ 2556).
ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ 2554).
สำนักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรม ส่วนกฎหมายและความร่วมมือระหว่างประเทศ, ‘การยอมรับและ/หรือบังคับตามคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ ซึ่งคำพิพากษาของศาลต่างประเทศหนึ่งจะมีผลทางกฎหมายแค่ไหนประการใดในอีกประเทศหนึ่งมีแนวปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวอย่างไร’ <https://jla.coj.go.th/th/content/category/detail/id/8/cid/9697/iid/176118> สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2567.
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, ‘บันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติการรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ พ.ศ. ....’ <https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/viewer.php> สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2567.
สัมภาษณ์ ดร.เพ็ด แสงปันยา, Grandeur Law & Partner Co.,Ltd. (กรุงเวียงจันทน์ สปป. ลาว, 31 สิงหาคม 2567).
สัมภาษณ์ เล่งสัก บุนทะลาด, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว (กรุงเวียงจันทน์ สปป.ลาว, 7 กันยายน 2567).
เอกสารอ้างอิงภาษาต่างประเทศ
Eric Sullivan, The Marine Encyclopaedic Dictionary (4th ed, LLP London 1995).
ICAO, ‘Convention for the Unification of Certain Rules for International Carriage by Air (Montreal Convention)’ <https://www.icao.int/secretariat/legal/List%20of%20Parties/Mtl99_EN.pdf> สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2567.
Lao Airlines, ‘Fare Type & Rules’ <https://laoairlines.com/en/fare-type-rules/> สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2567.
Lao Official Gazette Ministry of Justice, ‘Welcome to the Lao PDR Official Gazette’ <https://laoofficialgazette.gov.la/> สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2567.
Peter Brodie, Commercial Shipping Handbook (London Informa).
Peter Brodie, Dictionary of Shipping Terms (5th edn, LLP London 2007).
Singapore Court, ‘Establishment of the SICC’ <https://www.judiciary.gov.sg/singapore-international-commercial-court/about-the-sicc/establishment-of-the-sicc> สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2567.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
License
Copyright (c) 2025 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ในแบบรูปเล่มและทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ