แนวทางการพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการสืบเสาะข้อเท็จจริง ในคดีอาญาที่เด็กและเยาวชนกระทำความผิด

ผู้แต่ง

  • ปพนธีร์ ธีระพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนากฎหมาย, การสืบเสาะข้อเท็จจริง, คดีอาญาที่เด็กและเยาวชนกระทำความผิด

บทคัดย่อ

การสืบเสาะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวเด็กหรือเยาวชนผู้กระทำความผิดในคดีอาญาภายใต้พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 เกิดขึ้นได้ทั้งในชั้นก่อนการพิจารณาและชั้นพิจารณาของศาล โดยกฎหมายกำหนดให้ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนเป็นผู้มีหน้าที่ดำเนินการจัดทำรายงานการสืบเสาะแล้วส่งให้กับพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาล แล้วแต่กรณี การจัดทำรายงานการสืบเสาะจึงมีความสำคัญต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนเนื่องจากจะช่วยทำให้บุคคลที่มีหน้าที่ตามกฎหมาย รู้จักและมีข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับตัวผู้กระทำความผิด อันจะนำไปสู่การเลือกใช้เครื่องมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายและให้โอกาสกับผู้กระทำความผิดได้กลับเข้าสู่สังคมปกติต่อไป อย่างไรก็ตามบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องของราชอาณาจักรไทยยังมีปัญหาสำคัญบางประการ ได้แก่ การกำหนดให้ดุลยพินิจในการงดการสืบเสาะทั้งฉบับ การกำหนดให้ดุลยพินิจในการงดการสืบเสาะบางประเด็น และการกำหนดตัวผู้มีอำนาจสั่งงดการสืบเสาะ ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนต่อไป

ด้วยเหตุนี้เพื่อเป็นการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสืบเสาะข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่เด็กและเยาวชนกระทำความผิดของราชอาณาจักรไทย การวิจัยได้เสนอแนะให้แก้ไขบทบัญญัติมาตรา 82(1) แห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 โดยตัดข้อความที่ให้ดุลยพินิจผู้อำนวยการสถานพินิจเพื่องดการสืบเสาะข้อเท็จจริงในคดีอาญาออก พร้อมกับเสนอแนะให้มีการแก้ไขระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการสืบเสาะและพินิจข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเด็กหรือเยาวชน พ.ศ. 2554 ข้อ 4 วรรคสอง โดยกำหนดให้ทำการสืบเสาะข้อเท็จจริงและทำรายงานในข้อเท็จจริงสำคัญทั้ง 4 ข้อ อันได้แก่ ข้อเท็จจริงด้านสภาพร่างกาย ข้อเท็จจริงด้านสังคมหรือสิ่งแวดล้อม ข้อเท็จจริงด้านสติปัญญา นิสัย บุคลิกภาพ และข้อเท็จจริงด้านสภาพจิต โดยไม่เปิดโอกาสให้บุคคลที่มีหน้าที่สืบเสาะมีการใช้ดุลยพินิจในการงดการสืบเสาะข้อเท็จจริงในประเด็นใดประเด็นหนึ่งหรือหลายประเด็นได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่ไม่อาจดำเนินการสืบเสาะได้อย่างแท้จริง

References

หนังสือภาษาไทย

คณิต ณ นคร, กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (พิมพ์ครั้งที่ 9, วิญญูชน 2561).

บุญเพราะ แสงเทียน, คำบรรยายเกี่ยวกับการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน (โรงพิมพ์พิมพ์อักษร 2540).

ปพนธีร์ ธีระพันธ์, แนวคิดที่ปรากฏอยู่ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนในประเทศไทย (นิติธรรม 2561).

ประธาน วัฒนวาณิชย์, กฎหมายเกี่ยวกับความผิดของเด็กและกระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน (ประกายพรึก 2530).

ประเทือง ธนิยผล, กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (พิมพ์ครั้งที่ 4, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2561).

สกานต์ ตามไท และนัทธี จิตสว่าง, ปัญหาเด็กและเยาวชนที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีทางศาลและการฝึกอาชีพ (คาฟแมนเพรส 2528).

เสริน ปุณณะหิตานนท์, การกระทำผิดในสังคม สังคมวิทยาอาชญากรรมและพฤติกรรมเบี่ยงเบน (เดอะบิสซิเนสเพรส 2523).

สำนักงานคดีเยาวชนและครอบครัว, คู่มือการดำเนินคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2563 (บริษัท แอ๊คคิวเรทเพรส 2564).

หยุด แสงอุทัย, คำอธิบายกฎหมายศาลเด็ก (สำนักงานประชานิติ 2494).

หนังสือภาษาต่างประเทศ

Cliff Roberson, Juvenile Justice: Theory and Practice (CRC Press 2010).

Ellen Marrus, and Irene Merker Rosenberg, Children and Juvenile Justice (2nd edn, Carolina Academic Press 2012).

Karen M Hess, Christine Hess Orthmann, and John Paul Wright, Juvenile Justice (6th edn, Wadsworth Cengage Learning 2013).

Preston Elrod, and R Scott Ryder, Juvenile Justice: A Social, Historical, and Legal Perspective (5th edn, Jones & Barlett Learning 2021).

The African Child Policy Forum, In The Best Interests of the Child: Harmonising Laws on Children in West and Central Africa (African Child Policy Forum 2011).

บทความ

ปพนธีร์ ธีระพันธ์ และพฤทฐิภร ศุภพล, ‘แนวทางการพัฒนามาตรการบริการชุมชนในคดีอาญาที่เด็กและเยาวชนเป็นผู้กระทำความผิด’ (2566) 52(4) วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 1002.

วัชรินทร์ ปัจเจกวิญญูสกุล, ‘มาตรฐานการปฏิบัติต่อเด็กที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก’ (2537) 41(5) ดุลพาห 18.

วิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ

จิราวัฒน์ แช่มชัยพร, ‘การคุ้มครองสิทธิเด็กโดยกลักผลประโยชน์สูงสุดของเด็กตามมาตรา 3(1) แห่งอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ.1989’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2551).

วัชราภรณ์ พิมพ์จุฬา, ‘ปัญหาบุคลากรและการดำเนินคดีเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดของศาลเยาวชนและครอบครัว’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2547).

สุวนา อิ่มสุดจิตร์, ‘ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่และเยาวชนเกี่ยวกับการบริการทางการศึกษาในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง’ (วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2529).

สัมภาษณ์

สัมภาษณ์ ผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว, (19 และ 24 มิถุนายน 2567 และ 26 กรกฎาคม 2567).

สัมภาษณ์ด้วยตนเองและทางระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ผู้อำนวยการสถานพินิจ, (7, 21 และ 23 พฤษภาคม 2567).

สัมภาษณ์ด้วยตนเองและทางระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ พนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัว, (23, 28 พฤษภาคม 2567 และ 15 กรกฎาคม 2567).

แอพพลิเคชั่นไลน์จากที่ปรึกษาในศาลเยาวชนและครอบครัวถึงปพนธีร์ ธีระพันธ์ (14 พฤษภาคม 2567 และ 15 มิถุนายน 2567)

อื่น ๆ

ภาษาไทย

ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน, ‘ทฤษฎีการลงโทษ’ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ม.ป.ป.) <http://www.stou.ac.th/Schools/Slw/upload/41716_6.pdf> สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2560.

ภาษาต่างประเทศ

‘About the youth justice system’ (Youth Law Australia) <https://yla.org.au/qld/topics/courts-police-and-the-law/the-youth-justice-system/overview-of-the-youth-justice-system/> สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2566.

Ben Chester Cheong, ‘Judiciary and Law Enforcement in Singapore Inc’ (2022) Singapore Policy Journal <https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=4144756> สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2567.

‘Circular No. 2020/03 The Sentencing Act 2020’ (Ministry of Justice.) <https://assets.publishing.service.gov.uk/media/5fbe32c1d3bf7f5736c1a195/sentencing-act-2020-circular-nov-2020.pdf> สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2567.

Joshep W Roger, ‘Predisposition Report: Maintaining the Promise of Individualized Juvenile Justice’ (U.S. Department of Justice 1990) <https://www.ojp.gov/pdffiles1/Digitization/124921NCJRS.pdf> สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2567.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27